✦การตัดหรือหักค่าจ้างของลูกจ้าง
นายจ้างเอกชน เมื่อกำหนดระเบียบ
ข้อบังคับฯ โดยการตัดหรือหักค่าจ้าง
ของลูกจ้างเพื่อการลงโทษทางวินัยแล้ว
✦สามารถทำได้ขอยืนยัน ลองทำดู
ถ้าแพ้คดี ให้ถือคำพิพากษาถึงที่สุด
มาเบิก มาเอาตังค์กับอาจารย์กฤษฎ์ได้ครับ
อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ : นักวิทย์ศิลป์
👉LINE@ : 🔹 https://goo.gl/LpxiYk
👉f Messenger : 🔹 http://m.me/AJK.sciArtist/
▫️
✦นายจ้างเอกชนกำหนดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน โดยการตัดหรือหักค่าจ้างของลูกจ้างเพื่อการลงโทษทางวินัย ได้ครับ หากไม่เข้าใจรากเหง้ากฎหมาย ไม่รู้ที่มาที่ไป อ่านใจศาลไม่ทะลุ ถือว่าไม่ได้รู้จริง บทวิเคราะห์เชื่อมโยงนี้จะทะลวงแก่นแกนของข้อกฎหมายให้ท่านได้รู้เบื้องหลังและความลึกซึ้งของจักรวาลกฎหมายแรงงาน โดยที่ไม่เคยมีใครตีแผ่มาก่อน ลึกและซึ้งชนิดคิดไม่ถึงในความซับซ้อนนั้น เข้าใจยากแต่หมั่นทำความเข้าใจต่อไป
❦แม้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14036/2555 จะมาจาก พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ก็ตาม แต่อย่าลืมนะครับว่าในจักรวาลกฎหมายแรงงาน ศาลฎีกาท่านฉลาดล้ำลึกที่จะพิพากษาไม่ให้ขัดกันในจักรวาลเดียวกัน ใช้ศาลเดียวกัน ถ้าสาระสำคัญมันไม่แตกต่าง แทบจะเหมือนๆ กัน จะตัดสินฅนละขั้วโลกได้ไง คิดซิ 🤔 ไม่งั้นยุ่งตายห่า❗️มันคือ กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนะครับ อ่านกันยาวๆ ค่อยๆ ทำความเข้าใจ จับประเด็น ตีให้แตก อยากให้อ่านให้ deep เพราะถามและทะเลาะกันเยอะ บนพื้นฐานหลากหลาย อาทิ ไม่เข้าใจ ไม่พยายามเข้าใจ หลงเชื่อถูกชักจูง ไม่กาลามสูตร อ่านแค่สามบรรทัด ขี้เกียจศึกษา ฯลฯ การจดจ่อสติ ไม่หัวสี่เหลี่ยมจะเปิดทุกมุมมองออกมาให้กระจ่างก็ต้องแลกมาด้วยเปิดใจ เปิดโลกทัศน์อย่า disrupts ตัวเอง
▪️ขนาดคำว่า ✦ค่าจ้าง ตามกฎหมายประกันสังคม แม้ว่าจะเขียนแตกต่างกับนิยามค่าจ้างตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ | กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ศาลท่านก็ไม่สนใจ ต่อให้สำนักงานประกันสังคมยึดมั่นถือมั่นจนเดี๋ยวนี้ว่าค่าจ้างในความคิดตนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ก็แพ้ทุกทีซิหน่า การยืนหยัดจุดยืนหวังให้ศาลฎีกาเปลี่ยนความคิดในการวางหลักพิพากษาย่อมเป็นไปไม่ได้เลยครับ และทุกคำแนะนำของอาจารย์คดีค่าจ้างก็ไม่เคยแพ้ครับ ขอให้มั่นใจในคำพูดที่ได้ให้คำปรึกษาออกไป
✦เพราะคุณอยู่ในจักรวาลเดียวกัน ไม่ได้ถูกธานอสดีดนิ้วให้จักรวาลอื่นเข้ามาแจมด้วยสักหน่อย (ต้องไปดู 🕷 Spider-Man 3 : Far from Home เอา ว่า Mysterio ผู้มาจาก Earth - 833 กับโลกของเหล่าอเวนเจอร์คือ Earth - 616 เป็นยังไง) ไม่งั้นกฎหมายแรงงาน (ที่ไม่ยอมทำเป็นประมวลกฎหมายจนทุกวันนี้) ในเรื่องเดียวกันก็คงพิกลพิการในการนำไปใช้งานซิครับ และจะบอกอะไรให้ ยิ่งส่วนขยายของกฎหมาย พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 เขียนออกมาเหมือนลอก พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 อย่างนี้จะแถออกไปว่า ใช้กับเอกชนไม่ได้นั้น ผมคอเป็นเอ็นครับ เป็นความเข้าใจที่ไม่เข้าใจรากแห่งกฎหมายเอามากๆ
✦จะขอเท้าความเล่าให้ฟัง ในเชิงตรรกะ วิธีคิด ความเป็นไปและจากประสบการณ์อ่านฎีกา อ่านกฎหมายและอ่านใจศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ว่ากันตามนี้ครับ ส่วนจะเชื่อหรือไม่ อาจารย์ไม่เคยบังคับครับ
(1) ถอยหลังกลับไปเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 คณะนายทหารนำโดย พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดี ร่วมด้วยพลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจาก พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นนายทหารที่อาวุโสสูงสุด จึงได้รับที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะ รสช.(คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ) แน่นอนครับทางสะดวก มีกฎหมายที่แก้ไขช่วงเวลานั้น โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เดิมรัฐวิสาหกิจอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เหมือนเอกชน แต่มันทำให้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจตัวโตเกินไป อำนาจต่อรองเยอะไป สะยายปีกและแข็งแรงขึ้นทุกวัน จึงต้องตัดตอน ลดทอนลงก่อนจะเกินควบคุม แน่นอนครับกฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทยสมัยก่อนหน้า พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 คือ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 เอกชนและรัฐวิสาหกิจเราใช้กฎหมายเดียวกันเป็นเอกภาพ แข็งแรง แยกไม่ขาด กระบวนการแรงงานจึงขับเคลื่อนไว รัฐบาลเกรงจะสร้างปัญหาแต่ทำอะไรไม่ได้ จวบจน รสช. เข้ามาจัดระบบระเบียบใหม่นี่แหละ เป็นจุดเปลี่ยนมาจนทุกวันนี้ กฎหมายอยากแก้ อยากเปลี่ยนไปทำตอนปฏิวัติมันง่ายและไว ไม่ต้องทะเลาะในสภาฯ
(2) ให้กลับไปอ่านหมายเหตุท้าย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ก่อนจะแยกรัฐวิสาหกิจออกจากเอกชน มีการเขียนว่า...โดยท่ีคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) พิจารณาแล้วเห็นว่าพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ยังมีวิธีการไม่เหมาะสมแก่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สมควรแก้ไขให้มีความเหมาะสมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องแก้ไขกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์เสียใหม่ (เหตุผลดื้อๆ อย่างนี้เลยครับ)
(3) step ถัดมา แน่นอนเมื่อล้มของเก่าก็ต้องหาที่ลงคือสร้างของใหม่ขึ้นมาตอนนั้น เรียกว่า “พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534” แต่ช้าก่อนมันก็ต้องมีกรรมวิธีในการผลิตกฎหมายใหม่อยู่ดี แต่ในยุคปฏิวัติรัฐประหารนั้นแสนจะทำได้ง่ายกว่าด้วยไม่มีฝ่ายค้านฝ่ายรัฐบาล ซึ่งเนติบริกรเค้าพร้อมรับใช้ เหมือนทุกยุคเลย แถมกรรมกรที่แน่ๆ อยากต่อต้านก็ไม่กล้าทำ กลัวตาย แต่มันต้องหาเหตุผลกันหน่อย ให้เนียนๆ แม้จะ...ก็ตาม
▪️พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2534 อยู่ในห้วงเวลาของ รสช. เลยครับ มีระบุไว้ในหมายเหตุเพื่อแยกรัฐวิสาหกิจออกมาให้ได้ว่า...เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับน้ี คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ได้จัดวางระบบความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับฝ่ายบริหารรัฐวิสาหกิจไว้เป็นการเฉพาะ แตกต่างไปจากที่กําหนดไว้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 สมควรแยกพนักงานรัฐวิสาหกิจออกจากพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาอยู่ในบังคับกฎหมาย ว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติน้ี” (ง่ายๆ ในเหตุผลดีเน๊าะ)
(4) และแล้ว พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ก็อุบัติขึ้น ณ วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2534 โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.สมัยนั้น) ระบุหมายเหตุอ้างถึงเหตุผล (เป็น Pattern) ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐวิสาหกิจเป็นกิจการของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออํานวยประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน และมีหลายรัฐวิสาหกิจที่ดําเนินกิจการสาธารณูปโภคและ สาธารณูปการแก่ประชาชน มีความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับรัฐ ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ แตกต่าง จากความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในกิจการของเอกชน สมควรมีกฎหมายกําหนดความสัมพันธ์ระหว่าง พนักงานวิสาหกิจกับรัฐ การจัดตั้งสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นข้อเสนอและข้อร้องทุกข์ องค์กรที่ทําหน้าที่พิจารณาและชี้ขาดข้อเสนอเป็นการเฉพาะแตกต่างไปจากกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ที่บังคับใช้ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในองค์กรของเอกชนจึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
(5) พอมี พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ขึ้นมา (ปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543) ก็เท่ากับว่านอกจากล้มพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 แล้ว กฎหมายได้ระบุให้มี "คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์" ประกอบด้วย 1.รัฐมนตรีเป็น ประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง 2.ปลัดกระทรวงมหาดไทย 3.อธิบดีกรมบัญชีกลาง 4.อธิบดีกรมแรงงาน เป็น กรรมการโดยตําแหน่ง และ 5.กรรมการอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากฝ่ายบริหารห้าคน 6.ผู้แทนพนักงานห้าคน และ 7.ผู้ทรงคุณวุฒิห้าคน และ 8.ให้หัวหน้าสํานักงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อให้มาทำหน้าที่หนึ่งในห้าคือ “กําหนดมาตรฐานของสิทธิประโยชน์” ซึ่งคือการคุ้มครองแรงงาน เท่ากับล้มกฎหมายคุ้มครองแรงงาน อย่าเอามาใช้นะ ต้องแยกออกไปด้วย เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ” ล้อๆ กับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานภาคเอกชนนั่นแหละ เพราะให้รัฐวิสาหกิจออกจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้ว ครั้งจะสร้างออกต่างหากก็จะเยอะ เลยเอามาให้ชุดนี้ทำคลอดมาตรฐานสิทธิประโยชน์เพื่อเป็นการคุ้มครองแรงงานภาครัฐวิสาหกิจไงล่ะครับ เล่นไม่ยาก เป็นการต่อจิ๊กซอว์ที่ฉลาดพอดู
(6) ประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ในข้อ 31 ปัจจุบัน เขียนว่า “ห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหัก เพื่อ...
▫️(1) ชําระภาษีเงินได้ตามจํานวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชําระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
▪️(2) ชําระค่าบํารุงสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจตามข้อบังคับของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ หรือเพื่อชําระเงินอื่นอันเป็น สวัสดิการที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจจัดให้เพื่อประโยชน์ของลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง
▫️(3) ชําระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง
▪️(4) เป็นเงินประกันความเสียหายหรือชดใช้ค่าเสียหายแก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทําโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
▫️(5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสมหรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ
การหักตาม (2) (3) (4) และ (5) ในแต่ละกรณี ห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบ และจะหัก รวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ทั้งน้ี เว้นแต่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือ จากลูกจ้าง”
🔸 ลอกมาเลยครับเกือบเหมือนเลย ต่างกันนิดเดียวที่อยากให้ต่าง แต่ก็หมายความเดียวกัน ลองอ่านดูข้อต่อไปเปรียบเทียบ เพราะประกาศ ณ วันท่ี 31 พฤษภาคม พ.ศ.2549 อัพเดตหลัง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ครับ ไม่อยากให้เหมือนแล้วมาลอกกันทำไม ถูกมั้ย?
(7) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เขียนว่า “มาตรา 76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ
▫️(1) ชําระภาษีเงินได้ตามจํานวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชําระเงินอื่นตามท่ีมีกฎหมายบัญญัติไว้
▪️(2) ชําระค่าบํารุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน
▫️(3) ชําระหน้ีสินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์
ออมทรัพย์หรือหน้ีที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง
▪️(4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจํากลูกจ้าง
▫️(5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเก่ียวกับกองทุนเงินสะสม
การหักตาม (2) (3) (4) และ (5) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบและจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา 70 เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง”
✦ฉะนั้นกลับไปอ่านวิเคราะห์ ตามลิ้งค์นี้ได้เลย (พิมพ์มาก|เขียนมาก เจ็บนิ้ว) อาจารย์ยังรับรองยืนยันเหมือนเดิม ไม่โยกคลอนแนวความคิด ผิดก็ว่าผิด ถูกก็ว่าถูก ตรงไปตรงมาครับ จนกว่าศาลฎีกาจะมีบรรทัดฐานใหม่ อย่ามองว่าต่างกันตรงที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือเอกชน เพราะมันจะทำให้การมองขาดวิสัยทัศน์ได้
➜ C̐ᖇiḉ🄺 ᔓᓮ👉🏻 bit.ly/2YsGMGn
.
✦เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดๆ แพร่กระจายในโลกแรงงานและโลกโซเชี่ยล อาจารย์กฤษฎ์ขอเพิ่มเติมย้ำยัน ดังนี้ครับ
(1) นายจ้างเอกชนกำหนดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน โดยการตัดหรือหักค่าจ้างของลูกจ้างเพื่อการลงโทษทางวินัย ได้แน่นอนครับ
(2) คำพิพากษาฎีกาที่ 14036/2555 อาจารย์ตรวจอ่านละเอียดแยกธาตุ แยก DNA รู้ครับว่าเป็นเรื่องรัฐวิสาหกิจ และแม้เป็นเรื่องที่ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจฟ้องนายจ้างรัฐวิสาหกิจซึ่งอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 และประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ก็ตาม ✦หากพิจารณากฎหมายแรงงานภาคเอกชนและภาครัฐวิสาหกิจ ตามที่อธิบายข้างต้นแล้ว มันก็ไม่ปรากฎให้นายจ้างตัดหรือหักค่าจ้างเพื่อการลงโทษทางวินัยได้เหมือนๆ กัน ซึ่งมันก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำไม่ได้นี่หว่า ถ้าเขียนไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานไว้ชัดเจนแล้ว มันก็ใช่ได้เลย เรื่องนี้เคยพูดจนเจ็บคอมาแล้ว
(3) จะไม่ถือว่าเป็นการหักค่าจ้างที่ขัดต่อมาตรา 76 แม้จะไม่เข้าข้อยกเว้นตาม (1)-(5) ของมาตรา 76 แต่ประการใดก็ตาม เพราะเจ้ามาตรา 76 เป็น “✦หนี้อันเกิดจากการปฏิบัติงานและข้อตกลง”
🔹แต่การที่ศาลฎีกาตัดสินออกมามันเป็น “✦หนี้อันเกิดจากการกระทำผิดวินัยในการทำงาน” เมื่อกฎหมายแรงงานทั้งภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจไม่เขียนห้าม (เด็ดขาด) ไว้ว่าทำไม่ได้ มันต้องตีความว่าทำได้ครับ แต่ต้องทำให้เป็นด้วย
(4) กรณีนายจ้างส่งสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ตามม.108 (เดิม) หากระบุในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้นายจ้างลงโทษทางวินัย โดยการหัก หรือลดค่าจ้าง พนักงานเจ้าหน้าที่ (พนักงานตรวจแรงงาน) ก็จะสั่งให้นายจ้างแก้ไขโดยให้ตัดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในส่วนนั้นออกไป ✦อันนี้แม้จะจริง แต่กับลูกค้าของอาจารย์กฤษฎ์ทุกองค์การ อาจารย์สั่งไว้เด็ดขาด ไม่ให้ยอม ถ้าบังคับกันก็ให้ไปฟ้องศาลแรงงานเพื่อตัดสิน และส่วนใหญ่พนักงานเจ้าหน้าที่จะยอมอาจารย์ เพราะมันสิทธินายจ้างเค้า เป็นเรื่องการตีความ ก็เข้าใจว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องตีความคุ้มครองลูกจ้าง แต่สังคมแรงงานมันต้องตีความแฟร์ๆ กับนายจ้างด้วยจึงจะถูก ยิ่งตอนนี้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ทำแล้วไม่ต้องส่งสำเนา ก็เขียนลงไปเลย แต่ทำให้ถูกกฎหมายนะ ไม่ใช่ทำตามชอบใจ นั่นเรียกว่าซี้ซั้ว
(5) เหตุที่ศาลฎีกาตัดสินออกมาแบบนี้ เพราะต้องการให้เป็นธรรม เมื่อกฎหมายไม่เขียนชี้ชัด กฎหมายรัฐวิสาหกิจก็ลอกของเอกชนมา ก็ต้องนำมาปรับกันได้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน จงเชื่อในวิธีอ่านใจศาลที่ไม่เคยพลาดมาก่อนของอาจารย์ครับ ฉะนั้นกรณีลูกจ้างทำผิดวินัยจึงเกิด “✦หนี้อันเกิดจากการกระทำผิดวินัยในการทำงาน” ไม่ใช่ “✦หนี้อันเกิดจากการปฏิบัติงานและข้อตกลง” ตาม มาตรา 76 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (ภาคเอกชน) และ ข้อ 31 ของ “ประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ” ซึ่งออกตาม พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 (ภาครัฐวิสาหกิจ)
✦ดังนั้นจึงทำได้ครับทั้งเอกชนและรัฐวิสาหกิจ สาระสำคัญหลักๆ เรื่องเดียวกัน ลอกกันมา ตกแต่งนิดหน่อยและอยู่ในจักรวาลเดียวกัน ศาลก็เดียวกัน ถ้าพิพากษามาแล้วอ้างอิงใช้กันไม่ได้ จะอธิบายว่ายังไง ความยุติธรรมย่อมสั่นคลอนแน่ๆ และมีฅนแอบแถได้ สังคมแรงงานจะสันติสุขได้ยังไง หากบรรทัดฐานหลักไปปักขี้เลย อาจารย์ขอนอนยันว่าทำได้แน่นอนครับ ✦ฟันธง.
.
👌🏻 อ่านแล้วถ้า...
✦ใช่ ก็กดจิ ✦ดี ก็กดรัก ✦น่านัก กดแชร์ ✦ชอบแน่ๆ ช่วยกดติดตาม
.
♾∞♾∞♾∞♾∞♾∞
👨🏻อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
🔻นักวิทย์ศิลป์
▪️ผู้เชี่ยวชาญ HRM HRD OD Strategic Management TQM ISO
▫️ผู้นำแห่งกฎหมายแรงงานแบบบูรณาการ อันดับหนึ่งในประเทศไทย
🔻ผู้ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน เชี่ยวชาญการบริหาร เข้าใจนายจ้างลูกจ้าง
▪️let's play license : AJK’s Integrated Kahoot! Gamification
▫️🅑🅛🅞🅖| http://AJK.bloggang.com
╔══════════════╗
“ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เป็นธรรม
ย้ำหลักสุจริต ไม่คิดเอาเปรียบ”
╚══════════════╝
✺Credit : 👨🏻อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
Credit : ꍏj.Kяιꌗz∂ ꀎ-✞ɧąıཞaṭⒸ
อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ นักวิทย์ศิลป์ S⃕c̫ίArϯίṧt
🕸ωωω.ƘRISZD.ꉓom
📥‪KDV@KRISZD.com‬ 📧
#สำนักงานอาจารย์กฤษฎ์ #อาจารย์กฤษฎ์ #AJK #AjKriszd #SciArtist #อาจารย์กฤษฎ์อุทัยรัตน์ #นักวิทย์ศิลป์ #กฎหมายแรงงานในประเทศไทย #ที่ปรึกษากฎหมายแรงงานอันดับหนึ่ง #ผ่าประเด็นบริหารฅน #LabourProtection #LabourRelation #คดีแรงงาน #ไม่เคยแพ้คดีแรงงาน #สัญญาจ้างแรงงาน #อันดับ1คดีแรงงาน #ระเบียบข้อบังคับและแนวปฏิบัติ #การตัดหรือหักค่าจ้างของลูกจ้างนายจ้างเอกชน #คำพิพากษาศาลฎีกา #แผนกคดีแรงงาน #เลิกจ้างไม่เป็นธรรม
Cr. 👨🏻‍🦱| อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ “ผ่าประเด็น บริหาร “ฅน” ชี้ถูกผิด “กฎหมายแรงงาน” |
.
โฆษณา