ด้านซ้ายเป็นภาพเอกซเรย์เต้านมด้วยแมมโมแกรมของผู้หญิงคนหนึ่ง เป็นเครื่องที่ใช้ในการตรวจภาพรังสีเต้านมโดยเฉพาะ ซึ่งช่วยทำให้มองเห็นรายละเอียดภายในเนื้อเต้านมชัดเจนขึ้น แต่ร่องรอยเล็กๆที่ได้เห็นจากภาพ หมอบอกไม่ได้ว่าเป็นอะไร
.
ส่วนด้านขวาเป็นภาพจำลองล่วงหน้า 5 ปีที่สร้างโดย AI แบบ Deep Learning ทำให้เห็นภาพแมมโมแกรมที่ชัดเจนว่าจะพัฒนากลายเป็นมะเร็งเต้านมในอนาคต
.
ทีมงานผู้ค้นพบมาจาก CSAIL หรือ MIT’s Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory โดยทำงานร่วมกับ MGH หรือ Massachusetts General Hospital ในประเทศสหรัฐอเมริกา
.
ทางโรงพยาบาลฝึก AI โดยการป้อนข้อมูลภาพเอกซเรย์เต้านมหรือแมมโมแกรมของคนไข้ 60,000 รายให้มันเรียนรู้รูปของแบบของภาพก่อนและหลังของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม
.
หลังจาก AI ได้รับการฝึกฝนแล้ว ถ้าเอาภาพแมมโมแกรมที่เพิ่งเอกซเรย์ในวันนี้ มันบอกได้ล่วงหน้าว่า อีก 5 ปีข้างหน้า ภาพเต้านมนั้นจะพัฒนาเปลี่ยนไปอย่างไร และบอกได้ว่าจะเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่
.
ที่จริงเทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองความเสี่ยงของผู้หญิงที่อาจเป็นมะเร็งเต้านมในอนาคต มีการทำมาตั้งแต่ปี 1989 แต่ผลลัพธ์ที่ได้ยังไม่ค่อยดี ในปัจจุบันมีอัตราส่วนความถูกต้องเพียง 18%
.
โครงการเอา AI มาช่วยคาดการณ์มะเร็งเต้านมในอนาคตนี้ ในปัจจุบันยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ทำได้ดีกว่าระบบเก่าที่หมอดูด้วยตาตัวเอง ยิ่งมีข้อมูลป้อนให้มันเรียนรู้มากขึ้น ความถูกต้องแม่นยำก็จะยิ่งมีเพิ่มขึ้น
.
ขณะนี้ทาง MGH จะเอาภาพแมมโมแกรมเป็นข้อมูลให้ Deep Learning ได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากคนไข้เพิ่มขึ้นอีก 90,000 ราย ซึ่งจะทำให้มันมีความถูกต้องแม่นยำเพิ่มขึ้นไปอีก แต่ในอเมริกา ข้อมูลเหล่านี้เป็นเรื่องส่วนตัวและเป็นอุปสรรคในการนำมาใช้อยู่บ้าง
.
มีคำแนะนำจากหมอว่า ผู้หญิงที่อายุ 45 ปีขึ้นไปควรเริ่มตรวจแมมโมแกรมได้แล้ว หมอบางรายแนะนำว่าผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ควรมีการตรวจมะเร็งเต้านมทุก 2 ปี
.
หาก AI มีข้อมูลให้มันเรียนรู้มากขึ้น มันจะคาดการณ์ได้ดีขึ้น เมื่อรู้ล่วงหน้าจะได้ป้องกันหรือรักษากันตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมให้เหลือน้อยลง และอาจไม่ต้องตรวจบ่อยนักด้วย
.
.