8 ก.ค. 2019 เวลา 11:21 • การศึกษา
สรุป 10 ข้อควรรู้!! ก่อนถอนฟันผู้ป่วยที่ได้รับยา antithrombotic
2
1. การหยุดยา antithrombotic ไม่ว่าจะเป็นยา antiplatelet และ/หรือยา anticoagulant ในผู้ป่วยที่รับประทานยาอย่างต่อเนื่องก่อนการถอนฟันมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ thromboembolism
1
2. ภาวะ thromboembolism ที่เกิดขึ้นจากการหยุดยา antithrombotic ถึงแม้จะพบได้น้อยแต่ก็อาจจะมีผลที่ร้ายแรงต่อผู้ป่วยโดยทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้
1
3. อัตราการเกิดภาวะ postoperative bleeding จากการถอนฟันพบได้น้อยในผู้ป่วยที่รับประทานยา antithrombotic อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสามารถควบคุมได้โดยการถอนฟันร่วมกับการทำ local hemostasis ในผู้ป่วยทุกรายและยังไม่พบว่ามีผู้ป่วยที่เกิดความพิการอย่างถาวรหรือเสียชีวิตจากภาวะ thromboembolism ภายหลังการถอนฟัน
1
4. ผู้ป่วยที่รับประทาน warfarin มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะ postoperative bleeding ได้มากกว่าผู้วยที่รับประทานยา antiplatelet เพียงอย่างเดียว ซึ่งภาวะ postoperative bleeding ที่เกิดขึ้นไม่มีความสัมพันธ์กับค่า INR
5.ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย warfarin แนะนำให้รักษาระดับของค่า INR อยู่ระหว่าง 2.0-3.0 ทั้งนี้เพราะ ค่า INR ที่ 2.5(พิสัย 2.0-3.0) สามารถลดทั้งความเสี่ยงของการเกิดภาวะ postoperative bleeding และ thromboembolism
6. ผู้วยที่มีค่า INR มากกว่า 4.0 สามารถได้รับการถอนฟันและทำการห้ามเลือดเฉพาะที่ได้อย่างปลอดภัย แต่ควรทำเฉพาะในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เพราะค่า INR ที่มากกว่า 4.0 อาจจะทำให้มีเลือดออกในอวัยวะอื่นๆของผู้ป่วยได้ เช่น เลือดออกในสมอง เลือดออกในกระเพาะอาหาร ดังนั้นจึง สมควรส่งผู้ป่วยไปปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาเพื่อปรับ warfarin ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อนการถอนฟัน
3
7. การถอนฟันในผู้ป่วยที่รับประทานยา antithrombotic อย่างต่อเนื่องควรทำด้วยความนุ่มนวล (atraumatic technique) และควรทำร่วมกับการทำ local hemostasis เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ postoperative bleeding สำหรับการฉีดยาชาเฉพาะที่แบบ nerve block ไม่ได้เป็นข้อห้ามในผู้ป่วยที่รับประทานยา antithrombotic
8. การทำ local hemostasis ควรคำนึงถึงประสิทธิภาพในการห้ามเลือด ค่าใช้จ่าย และเป็นวิธีทาการห้ามเลือดที่มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้ง่ายโดยทันตแพทย์ทั่วไป สารห้ามเลือดเฉพาะที่(local hemostatic dressing) ที่ใช้ในทางทันตกรรมมีหลายชนิด ซึ่งสารห้ามเลือดที่แนะนาให้ใช้คือ absorbable gelatin sponge; Gelfoam โดยใส่ Gelfoam ลงไปในแผลถอนฟันและเย็บขอบเหงือกด้วย Multiple silk suture เพื่อป้องกัน Gelfoam หลุดออกมาและลดการขยับเขยื้อนของขอบแผลถอนฟันซึ่งเป็นการห้ามเลือดภายหลังการถอนฟันหลังจากนั้นให้ผู้ป่วยกัดผ้าก๊อซบริเวณแผลถอนฟันนาน 1 ชั่วโมงเพื่อเป็นการป้องกันภาวะ postoperative bleeding ที่อาจจะเกิดขึ้น
1
9. ส่วนใหญ่แล้วภาวะ postoperative bleeding จะเกิดขึ้นภายใน 2 วันหลังการถอนฟัน มีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเลือดออกซ้ำ(re-bleeding) ดังนั้นการให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติตนภายหลังการถอนฟันเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเน้นให้ผู้ป่วยที่รับประทานยา antithrombotic เข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากมีเลือดออกผิดปกติโดยที่ไม่สามารถห้ามเลือดได้ด้วยตนเอง แนะนำให้ผู้ป่วยกลับมาพบทันตแพทย์เพื่อทำการห้ามเลือดเฉพาะที่อีกครั้ง
10. โดยสรุปแล้วผู้ป่วยที่รับประทานยา antithrombotic ไม่จำเป็นต้องหยุดยา antithrombotic ก่อนการถอนฟัน ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ thromboembolism สำหรับภาวะ postoperative bleeding จากการถอนฟันที่อาจจะเกิดขึ้น สามารถควบคุมได้โดยทำการถอนฟันร่วมกับการทำ local hemostasis ทั้งในผู้ป่วยที่รับประทานยา antiplatelet และ/หรือยา anticoagulant
Reference : ทพ.นิวัฒน์ พันธ์ไพศาล. (2558). บทความการถอนฟันในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการเกิดลิ่มเลือด(Dental Extraction in Patients on Oral Antithrombotic Drugs)
#ความรู้ย่อยง่ายสไตล์DENTNotes
โฆษณา