8 ก.ค. 2019 เวลา 13:07 • สุขภาพ
1️⃣ #รากสามสิบ
รากสามสิบ (ถ่ายจากกล้องของ นายอู๋ เพื่อนนายนิว)
#รากสามสิบ
ชื่อสามัญ Shatavari
ชื่อวิทยาศาสตร์ Asparagus racemosus Willd.
จัดอยู่ในวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง (ASPARAGACEAE)
และอยู่ในวงศ์ย่อย ASPARAGOIDEAE
** ลักษณะเป็น "เถา"
** แต่ชื่อขึ้นต้นว่า "ราก"
** มันต้องมีเหตุผลใช่ไหม?
"รากสามสิบ" เป็นไม้เถาขนาดเล็ก
เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถาเรียวเล็กกลม สีเขียว
ใบเป็นฝอยเล็กๆ คล้ายหางกระรอก สีเขียวดก
ดอกเล็กๆ เป็นช่อ สีขาวอมม่วง
มีรากเป็นเส้นกลมยาวโตกว่าเถามาก เป็นกระจุก
เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
**-- สรรพคุณ --**
ราก : รสเย็นหวานชุ่ม บำรุงทารกในครรภ์
บำรุงตับ ปอด แก้ตับปอดพิการ บำรุงกำลัง แก้กษัย แก้ขัดเบา บำรุงครรภ์รักษา ขับปัสสาวะ
"รากสามสิบ" ถูกเรียกหลายชื่อมากๆ
ชื่อท้องถิ่นอื่น เช่น สามร้อยราก(กาญจนบุรี), ผักหนาม(นครราชสีมา),
ผักชีช้าง(หนองคาย), จ๋วงเครือ(ภาคเหนือ), เตอสีเบาะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
พอควายเมะ(กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ชีช้าง, ผักชีช้าง, จั่นดิน, ม้าสามต๋อน,
สามสิบ, ว่านรากสามสิบ, ว่านสามสิบ, ว่านสามร้อยราก, สามร้อยผัว
สาวร้อยผัว, ศตาวรี เป็นต้น
แต่ที่ถูกเรียกว่า รากสามสิบ เพราะ จำนวนรากและขนาดของรากกลมใหญ่กว่าตัวเถาเสียอีก
หรือแม้กระทั่ง ที่เรียกว่า สาวร้อยผัว
เพราะเปรียบเทียบกับจำนวนรากที่เยอะ
อีกทั้งยังมีสรรพคุณที่เหมาะกับสตรี
แม้มีร้อยผัว เมื่อกินตัวยานี้ ก็ยังสุขภาพดี
**เรียบเรียงโดย**
✍🏻 นายนิว และ นายอู๋ ✍🏻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา