Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอขอเล่า
•
ติดตาม
9 ก.ค. 2019 เวลา 09:20 • สุขภาพ
ภาวะเเพ้อย่างรุนเเรงเเต่ใช้ยาลดกรดในกระเพาะรักษา !!! เรื่องจริงหรือเเค่เข้าใจผิด??
https://www.mydr.com.au/health-and-videos/video-anaphylaxis
เมื่อช่วง ประมาณสัปดาห์ก่อนมีประเด็นดราม่าในโลกออนไลน์ เป็นผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเเพ้อย่างรุนเเรงเเละได้รับ ซองยากลับบ้านหลายตัวเเละมีตัวนึงเขียนว่า ranitidine ใช้สำหรับลดกรดในกระเพาะ ซึ่งผู้ป่วยได้นำซองยานั้นโพส ลงโซเชียลมีเดียเเละมีคนคอมเม้นต่อว่า รพ กันอย่างมากมายว่า รพ หรือเเพทย์ จ่ายยาผิด ซึ่งต่อมา ทางรพ ก็ได้ออกเเถลงการณ์ถึงประเด็นนี้
เเล้วภาวะเเพ้อย่างรุนเเรงคืออะไร???
ภาวะเเพ้อย่างรุนเเรงหรือ anaphylaxis คือภาวะที่เกิดจากปฎิกริยาภูมิเเพ้อย่างเฉียบพลันรุนเเรงเเละมีผลต่อการล้มเหลวของ อวัยวะสำคัญได้ ซึ่งอันตรายได้ถึงชีวิต
ซึ่งสิ่งกระตุ้นให้เกิดภาวะเเพ้อย่างรุนเเรงมีจำนวนมากมาย เเต่ที่พบบ่อย คือ อาหาร ยา เเละเเมลงกัดต่อย
อาการที่พบได้ใน ภาวะเเพ้อย่างรุนเเรงคือ
- ผิวหนัง ผื่นเเดงคัน บวมบริเวณเยื่อบุ เช่นปาก หนังตา มีผื่นเหมือนผื่นลมพิษ
- ทางเดินอาหาร มีคัดจมูก จาม เเน่นหน้าอกหายใจเเละมีเสียง วี้ด
- ระบบไหลเวียนโลหิต ใจสั่น หน้ามืด วัดความดันเเละพบว่า ความดันโลหิตต่ำ
- ระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียนท้องเสีย เป็นต้น
ซึ่งอาการจะเป็นเเบบเฉียบพลันหลังได้รับสิ่งกระตุ้นเเละมักจะมีอาการหลายระบบของร่างกายพร้อมกัน ถ้ามีอาการคล้ายๆที่เขียนไปข้างต้นให้รีบไป โรงพยาบาลทันที!!!
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Anaphylaxis
เเล้ว ยาลดกรดจะช่วยรักษา ถาวะเเพ้อย่างรุนเเรงได้จริงเหรอ ????
การที่รักษาภาวะเเพ้อย่างรุนเเรงต้องใช้ยาหลายตัวประกอบกันหนึ่งในนั้น คือ ยา ranitidine ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ลดกรดในกระเพาะได้( ไม่ใช่ยาลดกรดชื่อ omeprazoleนะครับคนละตัวยากัน)
ซึ่ง ยา ranitidine เป็น ยา H2- antihistamine หรือยาจะไปจับกับ receptor histamine H2 ซึ่งมีในกระเพาะเเละลดการหลั่งกรดในกระเพาะได้ เเต่ receptor histamine H2 ยังมีในหลอดเลือดอีกด้วยซึ่งการ จับของตัวยา ranitidine กับ receptor histamine H2ในภาวะเเพ้อย่างรุนเเรงมีการศึกษามากมายพบว่าสามารถช่วยรักษาภาวะนี้ได้จริง!!!!
จาก กรณีนี้ผมคิดว่าอาจจะมีการสื่อสารที่อาจจะไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยไม่เข้าใจในตัวยาที่รับประทานอยู่จริง เเต่อย่างไรก็ตามการที่สงสัยในการรักษาหรือตัวยาที่รับประทานอยู่ก็ควรปรึกษา เเพทย์ หรือเภสัชโดยตรง การนำไปโพสลงสื่อโซเชียล นอกจากจะไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนในประเด็นที่สงสัยเเล้ว บางทีการคอมเม้นว่ากล่าวผู้ปฎิบัติงาน อย่างเอามันส์โดยปราศจาก ความรู้เเละหลักฐานก็เป็นการบั่นทอนกำลังใจเเก่ผู้ปฎิบัติงานอย่างมาก
รวมถึงบางประเด็นอาจจะผิดกฎหมาย พรบ คอมอีกด้วย !!!
ผมก็หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะเล่นสื่อโซเชียลกันอย่างมีสติเเละสร้างสรรค์ เพื่อช่วยกันสร้างสังคมสื่อออนไลน์ที่ดีต่อไปนะครับ
https://hilight.kapook.com/view/63685
ที่มา
http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20170912085154.pdf
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Anaphylaxis
1 บันทึก
14
8
2
1
14
8
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย