11 ก.ค. 2019 เวลา 13:12 • ประวัติศาสตร์
โคลัมบัส คือ วีรบุรุษหรือฆ่าตกร ? ตอนที่ 4 (End) : แท้จริงแล้วชาวไวกิ้ง เป็นคนพบดินแดนอเมริกาก่อนโคลัมบัส สำหรับชื่ออเมริกา มาจากชื่อคน อเมริโก เวสปูซี่ ...
2
สรุปได้ว่าคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ไม่ใช่ชาวยุโรปที่พบทวีปอเมริกา ชาวยุโรปคนแรกที่พบเป็นชาวนอร์ส (ไวกิ้ง) ชื่อไบอาร์นี เฮอริอุล์ฟสัน เขาพบตอนเหนือของอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 985 (พ.ศ. 1528)
การพบเห็นแผ่นดิน ใหม่เกิดจากการที่เขาแล่นเรือใบจากไอซ์แลนด์ไปกรีนแลนด์และเรือของเขา ถูกลมพัดออกนอกเส้นทาง อีกคนที่พบตอนเหนือของทวีปอเมริกาหลังจาก คนแรก 15 ปี ก็เป็นชาวนอร์สชื่อ เลอีฟ อีริคสัน (Leif Ericson) โดยเขา พบส่วนที่เรียกว่านิวฟาวด์แลนด์
เขาตั้งชุมชนเล็ก ๆ อยู่ที่นั้นประมาณ 12 ปี แล้วต้องจากไปเพราะถูกชาวพื้นเมืองขับไล่ การพบแผ่นดินใหม่ของบุคคล ทั้งสองถูกลดทอนความน่าเชื่อถือโดยผู้ที่ยกย่องโคลัมบัส แต่ในที่สุดก็มีการ ค้นพบหลักฐานการตั้งชุมชนของชาวนอร์สที่ตอนเหนือของนิวฟาวด์แลนด์ ในปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503)
อเมริโก เวสปูซี
ชาวยุโรปอีกคนที่ในยุคของเขาถูกยกย่องว่าเป็นคนแรกที่เหยียบ “โลกใหม่” ได้แก่ อเมริโก เวสปูซี (Americo Vespucci) อเมริกาถูกตั้งชื่อ ตามชื่อของเขาทั้งๆ ที่น่าจะมาจากชื่อของเลอีฟ อีริคสัน ผู้พบทวีปใหม่ เป็นคนที่สอง ในภาษาสแกนดิเนเวีย amt แปลว่า land of หรือแผ่นดินของ เมื่อรวมกับชื่อ Eric จะเป็น Amteric หรือแผ่นดินของอีริค
1
สําหรับมนุษย์กลุ่มแรกที่พบทวีปอเมริกานั้น หนังสือประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) ยังสอนว่าชาวพื้นเมืองของทวีปนี้เป็นชาวเอเชีย ที่เดินทางจากไซบีเรียข้ามช่องแคบแบริ่ง ซึ่งเคยเชื่อมต่อกับตอนเหนือของ อเมริกาในยุคน้ำแข็งเมื่อประมาณ 13,000 ปีก่อน เมื่อไปถึงพวกเขากระจาย กินอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ และมีการดํารงชีวิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ช่องแคบแบริ่ง ที่เชื่อมระหว่างยุโรปกับอเมริกา
แต่อย่างใด แต่ข้อเท็จจริงก็คือชาวพื้นเมืองได้อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกา มานานกว่าที่สอนกันในชั้นเรียนมากและมีจํานวนรวมกันถึง 50-200 ล้านคน ในปี ค.ศ. 1492
เมื่อ ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) นักสํารวจได้ขุดค้นพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศชิลีและพบหลักฐาน ที่แสดงว่ามนุษย์อาศัยอยู่ในบริเวณ นั้นมานานก่อนที่ช่องแคบแบริ่งจะเชื่อมต่อระหว่างอเมริกาและยุโรป ชาวพื้นเมืองกลุ่มแรกต้องไปถึงบริเวณที่ขุดค้นอย่างน้อย 20,000 ปีมาแล้ว และสิ่งของที่ขุดได้อาจมีอายุนานถึง 30,000 ปี ยิ่งกว่านั้น หลักฐานใหม่ๆ ยังชี้ว่าอาจมีนักสํารวจเดินทางไปถึงอเมริกาเมื่อ 70,000 ปีก่อนคริสตกาล จากหลายส่วนของโลกเช่นจากอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น แอฟริกา ฯลฯ
ร่องรอยอารยธรรม อาณาจักรมายา ในเม็กซิโก
ข้อเท็จจริงอีกประการคือก่อนที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสจะเดินทาง ไปถึงทะเลแคริเบียน ทวีปอเมริกามีอาณาจักรมายาอันยิ่งใหญ่และเจริญทางวิทยาการตั้งอยู่ โดยมีพื้นที่ครอบคลุมถึงสามประเทศคือเม็กซิโก กัวเตมาลา และฮอนดูรัส ความรุ่งเรืองกินเวลานานถึงประมาณ 2,000 ปี (500 ปีก่อน คริสตกาล – ค.ศ. 1502)
ซึ่งเป็นยุคที่ยุโรปยากจนล้าหลังและตกอยู่ใน “ยุคมืด” (Dark Age) ในยุคที่รุ่งเรืองสูงสุด อาณาจักรมายามีความหนาแน่นของ ประชากรต่อหนึ่งตารางเมตรเท่า ๆ กับนครลอสแองเจลิสใน ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543)
สิ่งก่อสร้างมีทั้งปิระมิด วิหารและปราสาทราชวังที่สร้างด้วย ศิลา และมีเครือข่ายถนนที่ปูด้วยศิลายาวถึงประมาณ 40,000 ไมล์หรือ กว่า 60,000 กิโลเมตร (ยาวกว่าถนนในอาณาจักรโรมัน) ปิระมิดที่สร้างมีความสูงเป็นที่ 3 ของโลกรองจากในอียิปต์ อารยธรรมมายาขยายไปถึง อเมริกาเหนือโดยมีการสร้างปิระมิดบนฝั่งแม่น้ํามิสซิสซิปปี้ แต่ปิระมิด
ทั้งหมดในอเมริกาเหนือถูกทําลายและขุดค้นเอาของมีค่าไปหมดโดย นักบวชและคนที่พระเจ้าเลือกจากยุโรป อนึ่ง ในอเมริกาเหนือมีชาวพื้นเมือง อาศัยอยู่ 8-10 ล้านคน โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกที่ชาวยุโรปขึ้นบกก็มีชาวพื้นเมือง 5 เผ่า อาศัยและทําการเกษตรอยู่ตั้งแต่แม่น้ำฮัดสันจนถึงแม่น้ำมิสซิสซิบปี
ซึ่งไม่ได้ว่างเปล่าไร้ผู้คนดังที่หนังสือประวัติศาสตร์อเมริกาหลายเล่มเอ่ยอ้างแต่อย่างใด หนังสือเหล่านั้นเขียนเพื่อสร้างความชอบธรรมในการยึดครองแผ่นดินอเมริกาที่อุดมสมบูรณ์ที่พวดเขาเรียกว่า “The New Frontier”
Books Reference
1. Charles C.Mann, “1491: New Revelation of the Americas Before Columbus", Vintage Books, New York, 2011, ชาร์ลส์ฯเป็นนักข่าวของนิตยสารแอตแลนติกและนิตยสาร Science
2. Dr. David C.Korten, “The Great Turning : From Empire To Earth Commnity”, Kumarian Press, Inc. และ Berrett - Khoehler Publishers, Inc. USA, 2006 ดร.เดวิดฯ เป็นอดีตศาสตราจารย์ ด้านบริหารธุรกิจของ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
3. Dr. Howard Zinn, “The People's History of the United
States”, Harper Collins Publishers, New York, 2005 ดร.โฮเวิอร์ดฯ เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณของมหาวิทยาลัย บอสตัน
โฆษณา