11 ก.ค. 2019 เวลา 13:16 • การศึกษา
STEM EDUCATION กับความต้องการของตลาดแรงงานไทย
STEM คือการบูรณาการการศึกษาใน 4 สหวิทยาการเข้าด้วยกัน โดยชื่อ STEM นั้นมาจากตัวย่อของ 4 สาขาวิชา ได้แก่ Science Technology Engineering Mathematics
pinterest
STEM ถูกพูดถึงครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านนโยบาย Educate to Innovate โดยประธานาธิบดีโอบามาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ STEM ที่จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับโลกในปัจจุบัน อีกทั้งตลาดแรงงานของโลกมีความต้องการแรงงานกลุ่มนี้อยู่มาก อเมกาจึงอยากเป็นผู้นำทางด้าน STEM ของโลก กระทรวงแรงงานของอเมริกาได้ระบุว่า ในปี 2018 ความต้องการแรงงานด้าน STEM ได้เพิ่มสูงขึ้นดังนี้ โดยมีความต้องการแรงงานด้าน IT เพิ่มขึ้น 71% , วิศวกรรม เพื่มขึ้น 16% , ฟิสิกส์ เพิ่มขึ้น 7% , และ คณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้น 2%
ในประเทศไทยการออกแบบหลักสูตรการศึกษาโดยปกติแล้วจะสอดแทรกระบบการเรียน STEM ไว้ในการเรียนการสอนแต่ละชั้นเรียนไว้อยู่แล้ว ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้เรียนในหลากหลายทักษะ เช่น ทักษะการแก้ปัญหา , พัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ การจัดการเรียนรู้STEM ไม่เน้นเพียงการท่องจำ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจ ให้เกิดการตั้งคำถาม การทดลอง จนสามารถนำสิ่งที่คิดค้นหรือค้นพบนั้นไปบูรณาการในชีวิตประจำวันได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ รับรู้ได้ว่าเหล่านี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของตน
pinterest
การบูรณาการวิชาเหล่านี้เข้าด้วยกันจะช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจระดับมหภาค ที่มีการขยับขยายและพัฒนาอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน หากประเทศไทยมีการสนับสนุน ออกแบบหลักสูตรที่บูรณาการการเรียนรู้ให้เฉพาะเจาะจง ตอบโจทย์ตลาดแรงงานและศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างลงตัว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจได้ก้าวกระโดด
ฉงนคิดว่าการศึกษาที่ออกแบบหลักสูตรเฉพาะเจาะจงสายอาชีพตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียนจะเพิ่มขีดความสามารถทางการเรียนรู้ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลที่เป็นรูปธรรมเด่นชัดทางด้านเศรษฐกิจ
แล้วคุณผู้อ่านล่ะคิดเห็นอย่างไรกับระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน ควรปรับปรุงในด้านใดบ้าง
โฆษณา