13 ก.ค. 2019 เวลา 13:27 • สุขภาพ
8️⃣ #ดอกพิกุล
🗣 เคยได้ยินไหม❓
🗣 ว่า "กลัวดอกพิกุล ร่วงออกจากปากรึ"⁉️
ℹ️ คนโบราณมักใช้สำนวน "ดอกพิกุลร่วง" ในการประชดประชันคนที่พูดน้อย ถามก็แล้วคุยด้วยแล้ว ก็ยังนิ่ง ถามคำ ตอบคำ บ้างก็ไม่พูดเลย 🤭
ℹ️ ที่มาของสำนวนนี้ ก็น่าจะมาจากนิทานจักรๆ วงศ์ๆ ที่นางเอกของเรื่องจะมีความพิเศษ ตรงที่เวลาพูดจะมีดอกพิกุลทองร่วงหล่นออกมาจากปาก จึงเกิดคำกล่าวแบบกระแซะ คนที่ไม่ยอมพูดคุยว่า "ที่ไม่พูดเพราะกลัวดอกพิกุลร่วงหรืออย่างไร" 🌼🌼🌼
✅ ก็คงอาจจะใช่ เพราะเวลาดอกพิกุลร่วงแล้ว เก็บแทบไม่หวาดไหว จะให้ตามเก็บทีละดอกก็คงไม่ได้ คงก้มเก็บจนหน้ามืดเสียก่อน 🥴
✅ #หมอยา ที่ต้องการใช้ดอกพิกุลมาทำยาจึงต้องใช้ตาข่ายมาปูรองไว้ที่พื้นเอาไว้ เพราะเมื่อดอกพิกุลร่วง ก็รวบเก็บได้อย่างสะดวกสบาย เอาไปตากแห้งแล้วไปปรุงยาได้มากมายหลากหลาย เช่น 💊 ยาหอมทิพโอสถ, 💊 ยาเขียวหอม, 💊ยาหอมนวโกฐ เป็นต้น
ตอนแรกเอาผ้ารองไว้ ฝนตก !!!! 🤣🤣
🌿 ชื่อ : #พิกุล #ต้นพิกุล #ดอกพิกุล
🌿 ชื่อพื้นเมืองท้องถิ่นอื่นๆ : แก้ว (เชียงใหม่)
ซางดง (ลำปาง) ตันหยง (นราธิวาส)
🌿 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi L.
🌿 ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE
🌿 ชื่อสามัญ : Spanish Cherry, Tanjong tree, Bullet wood
🌼 #พิกุล ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 ม. ทรงพุ่มกลมแน่นทึบ แตกกิ่งจำนวนมาก เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทามีรอยแตกตามยาวของลำต้น เนื้อไม้ด้านในเป็นไม้เนื้อแข็งสีอมเหลืองอ่อนๆ มีดอกเล็กๆ สีขาวปนเหลือง กลิ่นหอม มักปลูกเป็นไม้ประดับ หรือเกิดขึ้นตามป่าเบญจพรรณ
🌱 สรรพคุณ 🌱
ดอก : รสหอมสุขุม แก้ลม บำรุงโลหิต มักใช้เป็นตัวยาในยาหอม ยาลม
และยาบำรุงโลหิตสตรี
ใบ : รสเบื่อฝาด ฆ่าเชื้อกามโรค แก้หืด
เปลือกต้น : รสฝาด ฆ่าแมลงกินฟัน แก้เหงือกอักเสบ
กระพี้ : รสเมาเบื่อ แก้เกลื้อน
แก่น : รสขมเฝื่อน บำรุงโลหิต แก้ไข้
ราก : รสขมเฝื่อน แก้เสมหะ แก้ลม บำรุงโลหิต
เมล็ด : รสเฝื่อน ขับปัสสาวะ
*** Special Thanks ***
** ข้อมูลบางส่วน : Wikipedia
⭐️ เรียบเรียงโดย ⭐️
🍃 นายนิว ~ นายอู๋ 🍃

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา