บริษัทซื้อ-ขายหลักทรัพย์ ( โบรคเกอร์ )เจ๊งได้อย่างไร เมื่อเกิดภาวะฟองสบู่แตก - หรือภาวะตลาดหมี ?
.
ตอนแรกไม่เข้าใจว่าทำไมโบรคมันถึงเจ๊งได้เวลาวิกฤติตลาดทุน เพราะมันไม่เสียอะไรอยู่แล้วนิ การเทรดแต่ละครั้งของนักลงทุน ไม่ว่านักลงทุนจะได้กำไรหรือขาดทุน โบรคก็ไม่เจ๊ง
.
แต่สิ่งที่อันตรายของโบรคก็คือ DW หรือจริงๆ คือ Leverage สิ่งนี้เองทำให้บริษัทซื้อขายหลักทรัพย์ เจ๊งได้ในช่วงข้ามคืน
.
การที่นักลงทุนมีเงิน 100 บาท และเสียค่าคอม 0.17% หมายความว่า ทุกการซื้อ-ขายของนักลงทุน โบรคจะได้เงิน 0.34 บาท ต่อ 100 บาท แต่เงินแค่นี้โบรคเกอร์อาจไม่พอใจ
.
Leverage นั้นคือการให้กู้ซื้อหุ้นนั้นๆ โดยอาศัยว่าโบรคเกอร์เชื่อ ในตัวหุ้นนั้นๆ หรือ ตัวนักลงทุนคนนั้นๆ " มักมอบให้แก่นักลงทุนรายใหญ่ เช่น สถาบันการเงิน หรือกองทุน
.
เช่น
กรณีที่ 1 หุ้น A ราคา 10 บาท เดิมนักลงทุน ก. ที่มีเงิน 100 บาท สามารถซื้อหุ้น A ได้ 10 หุ้น แต่โบรคเกอร์เชื่อในตัวนักลงทุน จึงบอกว่า คุณ ก. ครับ จากผลงานของพอร์ตคุณที่เราติดตามมานาน เราอาจให้ คุณมีสิทธิซื้อได้มากกว่าเงินในพอร์ตคุณ 10 เท่า หมายความว่า นักลงทุน ก. สามารถซื้อ หุ้นได้ 100 หุ้น หรือ 1,000 บาท และแทนที่โบรคเกอร์จะได้เงิน 0.34 บาท โบรคเกอร์ก็จะได้ค่าคอม 3.4บาท +ดอกเบี้ยต่อปี
.
ส่วน DW นั้นคืออัตราทดของหุ้นตัวนั้นๆ มักให้กับนักลงทุนรายย่อย และ มหาสาธารณะชน
.
หมายความว่า บริษัทซื้อขายหลักทรัพย์นั้น เชื่อในตัวหุ้นนั้นๆ พอที่จะออก warrant มาให้ เช่น เดิมที หุ้น B ราคา 10 บาท นักลงทุน ข. มีเงิน 100 บาท ก็จะซื้อหุ้นได้ 10 หุ้น และโบรคเกอร์จะได้ค่าคอม 0.34 บาท เช่นเดิมเมื่อ ซื้อ และ ขาย แต่เมื่อ โบรคเกอร์ "เชื่อ" ว่าหุ้น B นั้นยังไงก็ไม่ลง โบรคเกอร์จะออก DW มาว่า DW-หุ้น B จาก ราคา 10 บาท ใช้อัตราทด 10 เหลือ ราคา 1 บาทต่อหุ้น ทีนี้ นักลงทุน ข. จะซื้อหุ้นได้ 100 หุ้นโดย โบรคเกอร์สามารถได้ค่าธรรมเนียม 0.34 บาทเท่าเดิม แต่หวังว่าจะมีนาย ค. นาย.ง ... นาย ซ. คนละ 100 หุ้น 10คนรวมเป็น 1,000 บาท และโบรคเกอร์จะได้ 3.4 บาท + ดอกเบี้ย เช่นกัน
...