16 ก.ค. 2019 เวลา 13:59 • การศึกษา
Google ตอนที่ 3
การบริหารงานแบบผู้นำสามคน
เพจ บริน และ อีริค ชมิดท์
ปกติบริษัททั่วไปจะมีผู้นำอยู่หนึ่งคนในตำแหน่งสูงสุดคือ ซีอีโอ แต่ Google ไม่เป็นเช่นนั้น กลับบริหารงานโดยผู้นำสามคนคือ เพจ บริน และ อีริค ชมิดท์ จากบริษัท Novell (อีริคเคยวางแผนยุทธศาสตร์บริหารงานพัฒนาเทคโนโลยีในฐานะประธานและซีอีโอของ Novell มาก่อน
เพจและบรินได้สร้างคณะกรรมการบริษัทโดยแบ่งอำนาจเป็นสามส่วน ชมิดท์จะดูแลเรื่องการบริหารบริษัท ในขณะที่เพจและบรินดูแลเรื่องวิสัยทัศน์และเทคโนโลยี
อย่างไรก็ดี โครงสร้างแบบนี้กลับมีบทบาทที่สำคัญและเกิดผลดีในหลายโอกาส
คำถามคือ ทำไมระบบการบริหารงานแบบผู้นำสามคนของ Google ถึงประสบความสำเร็จในขณะที่ที่อื่นๆกลับล้มเหลว
จากการศึกษาของ Chatterjee และ Hambrick ในปี 2007 หัวข้อเรื่อง ‘’It’s All About Me’’ ได้สรุปว่า การหลงตัวเองเป็นเรื่องที่พบกันได้บ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ซีอีโอของบริษัทเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่หากมองถึงเหล่าผู้นำของ Google แล้ว เมื่อใครคนใดคนหนึ่งพยายามทำตัวเป็นเทวดา ก็จะถูกตรวจสอบและดึงลงมาโดยผู้นำอีกสองคน
เนื่องจากระบบการบริหารแบบผู้นำสามคนจะแบ่งปันความรับผิดชอบกัน เมื่อเหล่าผู้บริหารสามคนตัดสินใจใดๆ เราจะไม่สามารถชี้ชัดได้ทันทีว่าใครเป็นคนตัดสินใจแย่จริงๆ และความเป็นไปได้ที่ใครสักคนจะโดนกล่าวโทษเพียงคนเดียวก็จะลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
** แน่นอนว่าระบบการบริหารงานแบบผู้นำสามคนนั้น มีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงที่ผู้นำสองคนจะหันมาต่อต้านอีกหนึ่งคน แต่ถ้าระบบมันทำงานได้ดีจริงๆมันจะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าอย่างแท้จริง
ทำไมระบบการบริหารงานแบบผู้นำสามคนของ Google ถึงยังคงประสบความสำเร็จอยู่ล่ะ
ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ระบบการบริหารงานแบบผู้นำสามคนล้วนประสบความล้มเหลว เพราะถูกสร้างขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามแย่งชิงการสืบทอดอำนาจ ซึ่งแต่ละคนทะเยอทะยานที่จะเป็นหมายเลขหนึ่งให้ได้ เช่นเดียวกับบางบริษัทสมัยใหม่ ซึ่งเกิดจากการควบกิจการ ทำให้ประสบชะตากรรมเดียวกันนั้นเอง
แต่โครงสร้างการบริหารงานแบบผู้นำสามคนของ Google ประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากเหตุผลที่ไม่ธรรมดาสามอย่างได้แก่
1. ความเหมาะสมในการเป็นผู้นำ : ทั้งสามคนล้วนมีคุณสมบัติที่จะเป็นผู้นำสูงสุด โดยเพจและบรินเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท ในขณะที่ชมิดท์เคยบริหารบริษัทขนาดใหญ่มาก่อน
2. การยอมรับซึ่งกันและกัน : อีริค ชมิดท์ ไม่เคยพาดโอกาสที่จะพูดถึงความประทับใจที่มีต่อความเป็นอัจฉริยะของเพื่อนร่วมงานไว้ยาวทั้งสองคนนั้น
3. การแบ่งปันคุณค่าร่วมกัน : ผู้นำทั้งสามคนล้วนถูกแรงผลักดันจากการเรียนรู้ พวกเขาชื่นชมความยอดเยี่ยมของคณิตศาสตร์ เชื่อมั่นในเทคโนโลยี และมีความคิดร่วมกันเกี่ยวกับมุมมองทางการเงิน จึงไม่มีปัญหาที่จะพยายามทำเงินมากๆ แต่ก็ไม่ทำให้มันมาครอบงำชีวิตของพวกเขาด้วยเช่นกัน
4. ทัศนคติที่แตกต่างกัน : แต่ละคนล้วนมีทัศนคติที่แตกต่างกัน ชมิดท์เน้นเรื่องการบริหารจัดการ เพจให้ความสนใจกับโครงสร้างทางสังคมของบริษัท และบรินดูแลเกี่ยวกับประเด็นด้านจริยธรรม ชมิดท์จะเป็นคนที่พูดกับนักวิเคราะห์ทางการเงิน ในขณะที่บรินจะตอบคำถามเมื่อมีคนสงสัยเกี่ยวกับประเด็นการเข้าสู่ตลาดจีนของ Google
ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าระบบการทำงานแบบผู้นำสามคนของ Google นั้นประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง
ขอบคุณแหล่งที่มา จากหนังสือ the google way
โฆษณา