17 ก.ค. 2019 เวลา 01:09 • ธุรกิจ
Digital Music War ตอนที่ 4 : Digital Home
ต้องบอกว่า Microsoft นั้นเติบโตมากับผลิตภัณฑ์ที่เป็น Software ล้วน ๆ ไม่ว่าจะเป็น Windows หรือ Microsoft Office ที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักคอยผลิตเงินให้กับ Microsoft ในขณะนั้น แต่อย่างไรก็ดี Microsoft นั้นก็ตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าถึงผู้บริโภคด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
1
Digital Music War ตอนที่ 4 : Digital Home
ในขณะที่ iPod ได้ทำการออกวางตลาดกลายเป็นสินค้ายอดฮิตไปแล้วนั้น แต่ทางฝั่ง Microsoft ก็ดูเหมือนจะยังไม่ได้สนใจมากนัก เหล่าผู้บริหารต่างมองว่า การดาวน์โหลดเพลงแบบดิจิตอล ที่ Apple กำลังจะทำนั้น เป็นเรื่องเล็กน้อยในธุรกิจของบริษัทดนตรีที่มียอดขาย CD ต่อปี ราว ๆ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ในขณะนั้น
ซึ่งรูปแบบแนวคิดนั้น จะคล้ายคลึงกับ Apple แต่ Focus ไปที่ความบันเทิงในบ้านใน Concept ข อง ดิจิตอลโฮม โดยจะเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกันผ่าน Software ของ Microsoft และตอนนั้น Microsoft ได้เปิดตลาดเครื่องเกมส์อย่าง Xbox ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยในปี 1998 วิศวกร 3 คนจากทีม DirectX ของไมโครซอฟท์ ได้แก่ Kevin Bachus, Seamus Blackley, Ted Hase และผู้นำทีม DirectX ในเวลานั้นอย่าง Otto Berkes ร่วมทีมกันเพื่อทำการแกะแล็ปท็อปยี่ห้อ Dell เพื่อสร้างตัวต้นแบบของเกมคอนโซลที่มีพื้นฐานซอฟต์แวร์เป็นซอฟต์แวร์จากไมโครซอฟท์
โดยทีมนี้หวังว่าจะสามารถสร้างเกมคอนโซลที่สามารถมีอาร์ดแวร์มาตรฐานเทียบเท่ากับเกมคอนโซลตัวถัดไปจาก Sony อย่าง Playstation 2 ซึ่งพวกเขาได้ดึงนักพัฒนาบางส่วนไปจากการพัฒนาเกมบน Windows
Microsoft ต้องการสร้างเครื่องเกมส์ให้ได้มาตรฐานเดียวกับ Playstation 2 ของ Sony
โดยหลังจากทำการประกอบเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ทีมนี้ได้เข้าไปพบกับ Ed Fries ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายธุรกิจเกมของ Microsoft ณ เวลานั้น เพื่อนำเสนอ “DirectX Box” ตัวต้นแบบ ซึ่งเป็นเกมคอนโซลที่มีพื้นฐานมาจากเทคโนโลยี DirectX ซึ่งพัฒนาโดยกลุ่มของ Berkes โดยหลังจากได้เห็นผลิตภัณฑ์แล้ว Fries จึงได้ตัดสินใจสนับสนุนไอเดียของทีมที่จะสร้างเกมคอนโซลที่มีพื้นฐานมาจาก Microsoft DirectX
ระหว่างการพัฒนา ชื่อเดิมของเกมคอนโซลเครื่องนี้อย่าง DirectX Box ถูกย่อให้เหลือเพียง “Xbox” ทั้งนี้ฝ่ายการตลาดของ Microsoft ไม่ได้ชอบชื่อนี้และพยายามเสนอชื่ออื่นขึ้นมาทดแทน ระหว่างการทดสอบในวงจำกัด ชื่อ “Xbox” นั้นเป็นหนึ่งในรายการชื่อที่เป็นไปได้ที่จะแสดงให้เห็นว่าชื่อนี้จะไม่เป็นที่นิยมต่อผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตามภายหลังการทดสอบกลับพบว่าชื่อ “Xbox ” นั้นเป็นที่ต้องการมากกว่าชื่ออื่น ๆ ทำให้ชื่อ “Xbox”กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของผลิตภัณฑ์นี้
ในยุคที่เรียกได้ว่าเครื่องเล่นเกมส์ PlayStation ครองตลาดได้อย่างเหนียวแน่น Microsoft ก็ปล่อย Xbox ออกมาท้าชนกับทาง Sony ที่เป็นเจ้าตลาดในขณะนั้น โดยได้เปิดตัวเครื่อง Xbox อย่างเป็นทางการในปี 2002 ซึ่งถ้าเราเทียบด้านประสิทธิภาพนั้นถือว่ามีความใกล้เคียงกับ PS2 แต่เรื่องยอดขายนั้นกลับสู้เจ้าตลาดอย่าง Sony ไม่ได้เลย
บิลล์ เกตส์ เปิดตัว Microsoft Xbox รุ่นแรก ลุยสู่ธุรกิจบันเทิงแบบดิจิตอลเต็มตัว
Microsoft นั้นยอมขายเครื่องแบบขาดทุนด้วยซ้ำ แล้วมาเอากำไรจากค่าธรรมเนียมของผู้จำหน่ายเกมส์แทน ซึ่งคล้าย ๆ กับ Sony ที่การขายฮาร์ดแวร์ในธุรกิจเครื่องเล่นวีดีโอเกมนั้นจะขาดทุนอย่างแน่นอน เพราะกำไรมันอยู่ที่ Sofware ต่างหาก
มันเป็นการวางกลยุทธ์ของทั้ง เกตส์ และ บอลเมอร์ ที่มีการวางให้ Microsoft มีการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีของ PC ซึ่ง เป็นการมองที่ขาดมาก เพราะ โลกนี้มีผู้บริโภคมากกว่าธุรกิจที่ Microsoft กำลัง Focus อยู่ และตลาดของผู้บริโภคเป็นตลาดที่ใหญ่โตมหาศาลกว่าตลาดธุรกิจมาก และทำการนำร่องโดยยอมขาดทุนหลายพันล้านดอลลาร์ด้วย XBox
ทั้งเกตส์และ บอลเมอร์นั้น มองไปที่ตลาดที่เป็นการผสานการทำงานกัน ระหว่าง Hardware และ Software ที่อยู่รอบ ๆ บ้าน ซึ่ง Microsoft มองไปที่ใจกลางห้องนั่งเล่นของทุกบ้าน ต้องมี Service และ บริการของ Microsoft เป็นศูนย์กลาง คล้าย ๆ กับ แนวคิด ดิจิตอลฮับ ของ Apple นั่นเอง แต่ Microsoft นั้นจะโฟกัสไปที่ความบันเทิงภายในห้องนั่งเล่นมากกว่า ผ่านการนำร่องด้วย XBox
เมื่อเข้าสู่ยุคปี 2000 เราจะเห็นได้ว่า แนวคิดของ Microsoft และ Apple นั้นเริ่มเข้ามาคล้ายคลึงกันในเรื่องการปฏิวัติความบันเทิงแบบดิจิตอล โดย Apple นั้นเลือกดนตรี สร้าง iPod ขึ้นมาเพื่อเป็นสินค้า Consumer Product ส่วน Microsoft นั้นจะเน้นความบันเทิงภายในบ้านใน Concept ของ Digital Home และได้เลือกสร้างเครื่องเล่นวีดีโอเกมส์อย่าง Xbox ขึ้นมา แน่นอนว่ามันต้องมีการ Conflict เกิดขึ้นระหว่างสองยักษ์ใหญ่อย่างแน่นอน เพราะความคล้ายคลึงกันของวิสัยทัศน์ใหม่ในยุคหลังปี 2000 แล้วการปะทะกันจริง ๆ มันจะเกิดขึ้นตอนไหน เพราะต่างฝ่าย ต่างมองไปที่สินค้า Consumer Product เหมือน ๆ กัน โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม
อ่านตอนที่ 5 : Music Revolution
ช่องทางติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา