16 ก.ค. 2019 เวลา 23:54 • ธุรกิจ
ทำความเข้าใจเรื่องค่าเงินบาทแข็งตัว +มาตรการของแบงค์ชาติ
1
📍อัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate)
คือ ราคาของเงินสกุลหนึ่งเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง
แสดงถึงกำลังซื้อ (Purchasing Power) ของคนในแต่ละประเทศ ถ้าค่าเงินอ่อนตัวมูลค่าของเงินนั้นถูกลง กำลังซื้อก็ลดลง
2
📍ปัจจัยที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน
1
1.ภาวะเงินเฟ้อ
ยกตัวอย่างเช่น ณ จุดเริ่มต้น ราคาเงินบาทกับเงินดอลลาร์ควรมีค่าเท่ากัน คือ เงินบาท 1 บาท แลกเงินดอลลาร์ ได้ 1 เหรียญ อัตราแลกเปลี่ยนเป็น 1:1
แต่ต่อมาประเทศไทยเกิดภาวะเงินเฟ้อทำให้เงินบาทด้อยค่าลง จึงต้องใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกดอลลาร์ เงินเฟ้อยิ่งสูงและเฟ้อนานก็ยิ่งทำให้เงินด้อยค่าลงมาก
1
2.อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ถ้าดอกเบี้ยสูง เงินจะไหลเข้าประเทศมากขึ้นเพื่อมาซื้อพันธบัตรซึ่งมีผลตอบแทนคือดอกเบี้ย ทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น
3.ความต้องการซื้อขาย
เงินตราต่างประเทศไหลเข้าจากการค้าขาย การส่งออกสินค้า และจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศ
📍การดูเงินไหลเข้าออกในประเทศ
จะดูบัญชีชื่อ “ดุลการชำระเงิน” (Balance of Payments)
เปรียบง่ายๆเหมือนเป็นบัญชีรายรับรายจ่ายของประเทศแต่ละประเทศ
1
= ดุลบัญชีเดินสะพัด+ดุลบัญชีทุน+บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ
✅ดุลบัญชีเดินสะพัด
เป็นส่วนที่แสดงรายได้ของประเทศ ถ้าเปรียบประเทศเป็นบริษัท ดุลบัญชีเดินสะพัดคือรายการบัญชีที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีกำไรขาดทุนจากอะไร เช่น import/export ,การบริการและการท่องเที่ยว
✅ดุลบัญชีทุน
คือบัญชีแสดงการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน ทั้งการลงทุนโดยตรง และการลงทุนในหลักทรัพย์ (หุ้น ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์)
✅บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ
ใช้เป็นเงินทุนสำรองเพื่อชดเชยการขาดดุลการค้า และสำหรับการแลกเงินจำนวนมาก ประเทศที่มีทุนสำรองระหว่างประเทศมากเปรียบเหมือนคนที่มีเงินออมหรือสินทรัพย์จำนวนมาก ก็จะเป็นประเทศที่ได้รับความน่าเชื่อถือ และนอกจากนี้สามารถเอาเงินส่วนนี้ไปลงทุนได้
ล่าสุดเงินสำรองระหว่างประเทศของเราสูงถึงประมาณ250,000ล้านusd เป็นอันดับต้นๆของโลก
📍ค่าเงินแข็งเกิดจากอะไร
เกิดจากอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดความต้องการของเงินสกุลนั้นเพิ่มขึ้นเช่น
1.เกินดุลการค้ามากๆ(ส่งออกมากกว่านำเข้า)
2.fundflow จากต่างประเทศไหลเข้ามามากๆ (ต้องนำเงินมาแลกเป็นเงินบาทก่อน)
3.ความเชื่อมั่นว่าเงินสกุลนั้นดี ไม่ผันผวนก็จะแลกเงินนั้นเก็บไว้(safe haven)
4.ธนาคารกลางแทรกแซง
-เดือนกค62 ค่าเงินบาทอยู่ราวๆ 30.25-30.75บาทต่อ1usd
-ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นมากเกิดจากปัจจัยภายนอกคือ USD อ่อนค่าและปัจจัยภายในคือมีเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาในบ้านเราเป็นจำนวนมาก
2
📍ผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งตัว
ผู้ที่ได้รับผลเสียคือ
-ผู้ส่งออก: จะแข่งขันลำบากเนื่องจากเหมือนว่าสินค้ามีราคาแพงขึ้น เมื่อแลกกลับมาเป็นเงินบาทแลกได้น้อยลง
-ผู้ทำงานต่างประเทศแลกเงินกลับมาที่ประเทศไทย
-ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่รับเงินเป็นสกุลเงินต่างประเทศ
📍NRBA non resident baht account
-คือบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคล องค์กรรัฐบาลต่างประเทศ หรือบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย ที่มาเปิดบัญชีในประเทศไทย
-บัญชีนี้จะไม่มีดอกเบี้ยให้
-บัญชีนี้เมื่อแลกเป็นเงินบาทแล้ว สามารถแลกเป็นเงินตราต่างประเทศได้ทันที ไม่มีข้อจำกัด
-ขณะนี้ถูกลดวงเงินคงค้างที่เคยอนุมัติให้มีได้ 300 ล้านบาทเหลือเพียงแค่ 200 ล้านบาทต่อบัญชี
2
📍ทำไม BOT ต้องเพ่งเล็งไปที่ บัญชีผู้มีถิ่นฐานหรือถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (NRBA)
-คุณสมบัติที่สะดวกในการแลกเปลี่ยน เป็นช่องทางหาประโยชน์ด้วย
-ถ้ามีปริมาณมากๆทำให้เกิดความผันผวนของค่าเงินได้เลย
1
หลังออกมาตรการ ตลาดหุ้นก็โดนเบรค มีความผันผวนสูง แต่แบงค์ชาติคงต้องพยายามรักษาสเถียรภาพเงินบาทให้มากที่สุด นักลงทุนอย่างเราๆคงต้องติดตามต่อไป อยู่กับมูลค่าของกิจการและติดตามผลประกอบการของบริษัทต่อไป
1
โฆษณา