18 ก.ค. 2019 เวลา 06:30 • บันเทิง
หนังสือเล่มโปรด-เพลงที่ชอบ-หนังที่ชม ในปี 2018 ของบารัค โอบามา
​อดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐอเมริกา ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้นำระดับโลกที่ให้ความสนใจในเรื่องของงานศิลปะร่วมสมัยมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ, เพลง หรือว่าภาพยนตร์ และได้เลือกรายชื่อหนังสือ, เพลง และภาพยนตร์ที่ชื่นชอบของตัวเอง แล้วเผยแพร่ต่อสาธารณชนในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เป็นประจำ
​“ในปี 2018 ผมยังคงสานต่อธรรมเนียมปฏิบัติที่ตัวเองชื่นชอบ และแบ่งปันรายชื่อผลงานต่างๆ" โอบามา เขียนไว้ในเฟซบุค "มันทำให้ผมมีช่วงเวลาที่หยุดแล้วสะท้อนให้เห็นถึงปีที่ผ่านไปด้วยหนังสือ, ภาพยนตร์ และเพลง ที่ผมพบว่า กระตุ้นความคิด, สร้างแรงบันดาลใจ หรือชอบ มันทำให้ผมมีโอกาสที่จะสร้างความโดดเด่นให้กับนักเขียน, ศิลปิน และนักเล่าเรื่อง ที่บางคนอาจเป็นชื่อสามัญประจำบ้าน บางคนอาจเป็นชื่อที่ไม่มีใครเคยได้ยินมาก่อน" โดยโอบามาเริ่มเผยรายชื่องานโปรดของตัวเองตั้งแต่ยังเป็นประธานาธิบดี ในปี 2015
​ครั้งแรกประเดิมด้วยรายชื่อเพลง ซึ่งมีผลงานของ the Isley Brothers และ Coldplay แล้วปีต่อมาก็เพิ่มรายชื่อหนังสือ โดยมีงานที่ได้รับคำชื่นชมของ ทา-เนฮิซี โคอาเตส ที่ว่าด้วยชาติพันธุ์และอเมริกาเรื่อง Between the World and Me ในปี 2016 โอบามาแนะนำ The Underground Railroad งานรางวัลพูลิตเซอร์ของโคลสัน ไวท์เฮด แล้วก็ The Girl on the Train ของพอลลา ฮอว์กินส์ และ H Is for Hawk ของเฮเลน แม็คโดนัลด์
​ปี 2018 โอบามาอ่านหนังสืออัตชีวประวัติหลายเล่ม อาทิ Frederick Douglass: Prophet of Freedom ที่ศึกษาเฟรเดริก ดักลาส ทนายนักต่อต้านการค้าทาส, ปัญญาชน ของเดวิด ดับเบิล ไบลกท์, หนังสือชีวิตนักเทนนิส อาร์เธอร์ แอช Arthur Ashe: A Life ของเรย์มอนด์ อาร์เซนอลท์, หนังสือบันทึกความทรงจำขายดีของภรรยา - มิเชลล์ โอบามา Becoming หรือการตรวจสอบชีวิตมนุษย์ในอนาคตที่อยู่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ระดับสุดยอดว่าจะเป็นยังไง ใน Life 3.0: Being Human in the Age of Artificial Intelligence แล้วก็มีนวนิยาย อย่าง Florida ของ ลอเรน กรอฟฟ์
หนังสือ Arthur Ashe: A Life
​นอกจากนี้ยังมีรายชื่อหนังสือหน้าร้อนของโอบามา ที่เผยออกมาเมื่อต้นปี 2018 รวมไว้ด้วย
​“นี่คือการรำลึกความทรงจำถึงหนังสือที่ผมอ่านในปีนี้ และปรากฏอยู่ในรายชื่อเมื่อต้นปี”: Becoming - มิเชลล์ โอบามา (เล่นโปรดของผมเลยละ), An American Marriage - ทายารี โจนส์, Americanah - ชิมาแมนดา เอ็นโกซี อดิชี, The Broken Ladder: How Inequality Affects the Way We Think, Live, and Die - คีธ เพย์น, Educated - ทารา เวสท์โอเวอร์, Factfulness - ฮานส์ รอสลิง, Futureface: A Family Mystery, an Epic Quest, and the Secret to Belonging - อเล็กซ์ วากเนอร์, A Grain of Wheat - เอ็นกูกี วา ธิอองโก, A House for Mr Biswas - วี.เอส. ไนพอล, How Democracies Die - สตีเวน เลวิทสกี และแดเนียล ซีแบล็ตต์, In the Shadow of Statues: A White Southerner Confronts History - มิทช์ แลนเดรีย, Long Walk to Freedom - เนลสัน แมนเดลา, The New Geography of Jobs - เอ็นริโค มอเร็ตติ, The Return - ฮิสแฮม มาตาร์, Things Fall Apart - ชินัว อาเชเบ, Warlight - ไมเคิล ออนแด็ตเจ, Why Liberalism Failed - แพทริค เดนีน และ The World As It Is - เบน โรห์ดส์
หนังสือ Long Walk to Freedom
​“นี่คือรายชื่อหนังสือโปรดของผมในปี 2018”: American Prison - เชน บาวเออร์, Arthur Ashe: A Life - เรย์มอนด์ อาร์เซนอลต์, Asymmetry - ลิซา ฮัลลิเดย์, Feel Free - ซาดี สมิธ, Florida - ลอเรน กรอฟฟ์, Frederick Douglass: Prophet of Freedom - เดวิด ดับเบิลยู ไบลกท์, Immigrant, Montana - อมิตาวา คูมาร์, The Largesse of the Sea Maiden - เดนิส จอห์นสัน, Life 3.0: Being Human in the Age of Artificial Intelligence - แม็กซ์ เท็กมาร์ค, There There - ทอมมี ออเรนจ์, Washington Black - เอไซ เอดูกวอน
หนังสือ Life 3.0: Being Human in the Age of Artificial
​สำหรับภาพยนตร์ที่โอบามาเลือกในปีนี้ ไม่สามารถบอกว่าไร้รสนิยมได้เลย เมื่อมีทั้งหนังโปรดตามเทศกาลภาพยนตร์ หนังล่ารางวัล หนังอินดี ซึ่งเผยให้เห็นว่าเขาก็เป็นคอหนังภาษาต่างประเทศแบบอ่อนๆ เมื่อเลือกหนังปาล์มทองคำของ โครีเอดะ ฮิโรคาซึ - Shoplifters, Burning และ Roma หนังขาว-ดำของอัลฟองโซ คัวรองที่ไม่รู้ว่าดูจากมือถือหรือในโรง :D, หนังสารคดี Won’t You Be My Neighbor?, Minding the Gap, หนังของแบร์รี เจนกินส์ ที่สร้างจากนิยายของเจมส์ บอลด์วิน If Beale Street Could Talk, หนังซูเปอร์ฮีโรของมาร์เวล Black Panther, งานที่ถูกมองข้าม Support the Girls ของแอนดรูว์ บูจาลสกี, ส่วนหนังอย่าง Leave No Trace, Blindspotting, Eighth Grade กับอีกหลายๆ เรื่อง ก็แสดงให้เห็นว่าโอบามาน่าจะชื่นชอบการอยู่ในเทศกาลหนังซันแดนซ์ ส่วนการเลือกหนังไซ-ไฟของอเล็กซ์ การ์แลนด์ Annihilationก็เผยถึงการเป็นคอหนังตัวยงของโอบามา
​“สำหรับหนังที่ผมชื่นชอบในปี 2018”: Annihilation, Black Panther, BlacKkKlansman, Blindspotting, Burning, The Death of Stalin, Eighth Grade, If Beale Street Could Talk, Leave No Trace, Minding the Gap, The Rider, Roma, Shoplifters, Support the Girls, Won’t You Be My Neighbor
​ส่วนเพลงที่เป็นยุคของป็อป, แร็ป และอาร์แอนด์บี โอบามาเลือกผลงานของ เจ โคล และบรรดาแร็ปเปอร์จากชิคาโก ถิ่นฐานที่เขาเติบโตมา อาทิ แชนซ์ เดอะ แร็ปเปอร์ และบีเจ เดอะ ชิคาโก คิด, ส่วนนักร้องชาวไอริช โฮซิเออร์ ก็มีพื้นที่ในลิสต์ เช่นเดียวกับศิลปินอินดีที่ใครๆ ก็รัก คอร์ตนีย์ บาร์เน็ตต์ และเคิร์ต ไวล์ โอบามายังแสดงความชื่นชมต่อแนนซี วิลสัน ว่าเป็น "หนึ่งในนักร้องเพลงแจ๊ซซ์ยอดเยี่ยมตลอดกาล" อีกด้วย
​“และท้ายที่สุด เพลงโปรดของผมในปี 2018: “Apes••t” โดย The Carters, “Bad Bad News” โดย ลีออน บริดเจส, “Could’ve Been” โดย เอช.อี.อาร์. (ร่วมด้วย ไบรสัน ทิลเลอร์), “Disco Yes” โดย ทอม มิสช์ (ร่วมด้วย ป็อปปี อจูฑะ), “Ekombe” โดย Jupiter & Okwess, “Every Time I Hear That Song” โดย แบรนดี คาร์ไลล์, “Girl Goin’ Nowhere” โดย แอชลีย์ แม็คไบรด์
“Historia De Un Amor” โดย โทนินา (ร่วมด้วย ฆาเวียร์ ลิมอน และทาลี รูบินสไตน์), “I Like It” โดย คาร์ดี บี (ร่วมด้วยแบด บันนี และเจ บัลวิน), “Kevin’s Heart” โดย เจ. โคล, “King For A Day” โดย แอนเดอร์สัน อีสต์, “Love Lies” โดย Khalid & Normani, “Make Me Feel” โดย จาเนลล์ โมเน, “Mary Don’t You Weep (Piano & A Microphone 1983 Version)” โดย ปรินซ์, “My Own Thing” โดย แชนซ์ เดอะ แร็ปเปอร์ (ร่วมด้วย โจอีย์ เพิร์พ), “Need a Little Time” โดย คอร์ตนีย์ บาร์เน็ตต์, “Nina Cried Power” โดย โฮซิเออร์ (ร่วมด้วย มาวิส สเตเปิลส์)
“Nterini” โดย ฟาตูมาตา ดิอาวารา, “One Trick Ponies” โดย เคิร์ต ไวล์, “Turnin’ Me Up” โดย บีเจ เดอะ ชิคาโก คิด, “Wait by the River” โดย ลอร์ด ฮูรอน, “Wow Freestyle” โดย เจย์ ร็อค (ร่วมด้วย เคนดริก ลามาร์) และขอแสดงความยกย่องหนึ่งในนักร้องเพลงแจ๊ซซ์ยอดเยี่ยมตลอดกาล ที่เสียชีวิตในปีนี้ ด้วยอัลบัมคลาสสิก The Great American Songbook โดย แนนซี วิลสัน
โดย นพปฎล พลศิลป์ คอลัมน์ หรรษาวันจันทร์ - Happy Monday หนังสือพิมพ์ไทยโพสท์ วันที่ 7 มกราคม 2562
อ่านแล้วชอบ อย่าลืมกดติดตาม และยังมีเรื่องราวมากมายให้อ่านได้ที่ www.sadaos.com และทำความรู้จักกันได้มากกว่านี้ด้วยการกดไลค์เพจ www.facebook.com/Sadaos
จริงไหมที่เราเลิกฟังเพลงใหม่ตอนอายุ 30 ? หาคำตอบได้ที่นี่ >> https://www.blockdit.com/articles/5cd119c7c7c1f8130f5030c5
โฆษณา