Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
World Time @ Story and History
•
ติดตาม
19 ก.ค. 2019 เวลา 03:16 • ประวัติศาสตร์
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 นายพล อองซาน
วีรบุรุษบิดาแห่งเอกราชพม่า
ผู้ปลดปล่อยพม่า จากประเทศอังกฤษ
บิดาของ นางอองซานซูจี ถูกลอบสังหารระหว่างการประชุมสภา
☀️หลังเซ็นสัญญากับสหราชอาณาจักรว่าจะมอบเอกราชในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) เมื่อนายพลอองซานยืนหยัดต่อสู้อย่างวีระอาจหาญนำเอกราชและอำนาจอธิปไตยจากประเทศอังกฤษ กลับสู่ผืนแผ่นดินแม่แล้ว พม่าก็ก้าวสู่การปกครองตัวเองด้วยระบอบประชาธิปไตย อีกภายในหนึ่งปี พร้อมกับสมาชิกสภาอีก 6 คน แต่อองซานยังไม่ทันเห็นเอกราชของพม่าในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948)
⚡️เหตุการ์ณเช้าวันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947)เป็นช่วงฤดูเข้าพรรษา เช้าวันนั้นท้องฟ้าฉ่ำด้วยเมฆ ที่หน้าบ้านของ อู ซอ นักการเมืองอาวุโสของพม่า และ ชายหนุ่มกลุ่มหนึ่งกำลังรวมตัวกันตั้งใจฟังคำชี้แจงเป็นครั้งสุดท้ายจาก อู ซอ
🔸การปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ จะเปลี่ยนอนาคตของประเทศพม่าตลอดไป 🔸ชั่วครู่หนึ่ง ชายกลุ่มนั้นได้รับคำสั่งได้แยกย้ายขึ้นไปนั่งบนรถบรรทุกทหารยี่ห้อ Fordson
คณะบรรณาธิการของ Oway Magazine มีอองซานนั่งอยู่ คนที่สองจากซ้าย(1936)
⚡️ไม่มีใครสนใจรถบรรทุกทหารที่วิ่งกันไปมาในเมืองย่างกุ้ง เพราะถือเป็นเรื่องปรกติเพราะว่าสงครามเพิ่งจะเลิกไม่นาน ครึ่งชั่วโมงต่อมารถคันนี้ไปจอดหน้าตึก 2 ชั้นสไตล์วิคตอเรียนก่อด้วยอิฐสีแดง
ชายฉกรรจ์ 3 คน โดดลงมาจากรถแล้วเดินสำรวจรอบๆ เพื่อให้แน่ใจว่า “เป้าหมาย” กำลังอยู่ในห้องประชุม หนึ่งในสามคนนั้นนามว่า คิน หม่อง ยิน โทรศัพท์กลับไปบอกเจ้านาย โดยใช้รหัสว่า “ได้รับแหวนลูกสูบแล้ว”
⚡️ทันทีที่ปลายทางได้รับแจ้งกับรถจี๊บอีกคันหนึ่งเพื่อมุ่งหน้าออกจากบ้าน อู ซอ ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 10 โมงเช้า ด้านหลังรถจี๊บมีผ้าใบคลุมหลังคามิดชิดซ่อน 6 เพชฌฆาตพร้อมด้วยปืนกลทอมมี่และปืนสเตนครบมือทั้งหมดแต่งกายชุดฝึกเขียวหมวกปีก
⚡️ในเวลานั้น ออง ซาน ในวัย 32 ปี เขาแต่งกายด้วยชุดประจำชาติ(นุ่งโสร่ง) ถึงแม้ว่าจะเป็นวันเสาร์คณะทำงานก็มาประชุมเพื่อเตรียมการเป็นเอกราชในอีก 6 เดือนข้างหน้า
⚡️บา ยุนท์ ไม่ได้พกอาวุธเดินเข้าไปสำรวจในอาคารเพื่อดูว่าใครบ้างจะชะตาขาด มองหา ตะขิ่น นุ(อู นุ) ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งน่าจะอยู่ในห้องแต่ไม่พบ หากแต่ “เป้าหมาย” อื่นๆ อยู่ครบ จึงเดินกลับเข้าไปที่รถบรรทุก แจ้งว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผน รถจี๊บเคลื่อนเข้ามาจอดหน้าตึก ถนนโล่งสะดวกไม่มีอะไรกีดขวาง
⚡️10.30 น. องค์ประชุมมาครบนั่งตามที่จัดเป็นรูปตัว U ออง ซาน นั่งหัวโต๊ะ การประชุมกำลังจะเริ่มขึ้น แต่ก็ถูกหยุดชั่วขณะ โดย อู ออน หม่อง รัฐมนตรีช่วยคมนาคมซึ่งเพิ่งเดินเข้ามาในห้องประชุมและรีบชี้แจงต่อที่ประชุมว่า รัฐมนตรีว่าการคมนาคมไปตรวจงานต่างจังหวัด จึงมาขอชี้แจงเรื่องด่วนก่อนและจะรีบเดินทางไปราชการ
สถานที่เคยเป็นที่ประชุมสภา
⚡️4 เพชฌฆาตพร้อมอาวุธครบมือรีบวิ่งขึ้นบันไดตรงสู่ห้องประชุม หม่องโซกระชากประตูให้เปิด ลุกสมุนอีก 3 คนกรูเข้าไปในห้องประชุม หม่องโซตะโกน “หยุดอย่าขยับ”
⚡️ออง ซาน เป็นคนเดียวที่ลุกขึ้นยืน หม่องโซสั่งยิงทันที ออง ซาน ล้มคว่ำลงไปจมกองเลือดด้วยกระสุน 13 นัดเจาะร่าง
สมุนที่เหลือสาดกระสุนจากปืนกลทอมมี่ ยานยี คุกเข่าลงสาดกระสุนใส่บรรดาผู้เข้าประชุมที่หมอบลงใต้โต๊ะ เสียงปืนกลคำรามลั่นประมาณ 30 วินาที 4 เพชฌฆาตจึงถอนตัว
อองซานในกรุงลอนดอน (มกราคม 2490)
⚡️10.40น. เลขาธิการและนายทหารคนสนิทของ ออง ซาน วิ่งมาถึงพื้นที่สังหาร สมาชิกสภาที่ประชุมที่อยู่ในห้องอื่นแตกตื่นวิ่งมาที่เกิดเหตุ กลิ่นดินปืนคลุ้งตลบอบอวนผสมกับกลิ่นคาวเลือด โต๊ะเก้าอี้ล้มคว่ำระเกะระกะ นายพลออง ซาน วัย 32 ปี วีรบุรุษของชาตินอนจมกองเลือดตายคาที่บนพื้นห้อง สมาชิกและคนอื่นๆ อีก 6 คนโดนปลิดชีพบนโต๊ะ บนเก้าอี้ และใต้โต๊ะ
⚡️แท้ที่จริงแล้ว นายพลออง ซาน คือ “เป้าหมาย” แต่เพียงผู้เดียว ในจำนวนนี้มีผู้รอดตายราวปาฏิหาริย์ 2 คน ที่นั่งริมประตูแล้วโดดออกไปได้ ระหว่างที่ 4 เพชฌฆาตถอนตัวออกจากอาคารยังสังหารยามประจำตึกอีก 1 คน พร้อมทั้งตะโกน “เราชนะแล้ว-เราชนะแล้ว” และรีบขึ้นรถจี๊บหนีออกจากที่เกิดเหตุ และบังเอิญมีนักข่าวประจำสภาคนหนึ่งวิ่งตามออกมาเห็นแผ่นป้ายทะเบียนรถ รถจี๊บวิ่งมุ่งหน้ากลับไปที่บ้าน อู ซอ ด้วยความเร็ว เกือบจะชนร้อยเอกข่าน เพื่อนบ้านของอู ซอ ร้อยเอกข่าน เห็นรถจี๊บคันนี้มีพิรุธผิดสังเกต รถเลี้ยวเข้าไปในบ้านของอู ซอ และเห็นกลุ่มคนบนรถจี๊บโดดลงมาคุยกับ อู ซอ ที่ยืนรออยู่
ภาพกรรมการสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยแรงกูน อองซาน (Aung San) นั่งแถวหน้า ที่สามจากซ้าย(1936).
⚡️อู ซอ สวมเสื้อเชิ้ตสีขาวกางเกงขาสั้นสีน้ำเงินกระโดดเข้ากอดเพชฌฆาตทุกคนอย่างมีความสุขพร้อมทั้งตะโกน “เราชนะแล้ว-เราชนะแล้ว” อาหารและเครื่องดื่มที่เตรียมไว้เพื่อฉลองความสำเร็จถูกยกมาบริการเต็มคราบกลั้วด้วยเสียงหัวเราะอย่างเมามัน อู ซอ ถามลูกน้องว่า “อู นุ ตายมั้ย?” บายุ้นท์ชี้แจงว่า อูนุ ไม่ได้มาร่วมประชุม และเล่ารายละเอียดเรื่องอื่นๆ ให้ อู ซอ เห็นภาพ อู ซอ พอใจมากเพราะว่าอูนุ ไม่ใช่ “เป้าหมายหลัก” ในการสังหารครั้งนี้
⚡️อู ซอ กระวนกระวายรอฟังเสียงโทรศัพท์จาก เซอร์ฮิวเบอร์ต แรนต์ ข้าหลวงอังกฤษผู้ปกครองพม่าทุกลมหายใจ เพราะเชื่อว่าเขาจะโทรศัพท์มาตามเพื่อให้ อู ซอ ไปเป็นแกนนำการจัดตั้งรัฐบาลแทนออง ซาน เพราะเมื่อสิ้น ออง ซาน แล้วไม่มีใครโดดเด่นเท่า อู ซอ ผู้มากด้วยประสบการณ์ทางการเมืองที่อายุเพียง 47 ปี แต่กว้างขวางในหมู่นักการเมือง สนิทสนมกับกองทัพ เป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ The sun เป็นหัวหน้าพรรคเมียวซิต (แปลว่ารักชาติ) แถมยังเคยเป็นนายกรัฐมนตรีของพม่าเมื่อในห้วงปี 1940-1942 ก่อนญี่ปุ่นบุก
⚡️โดยไม่คาดฝันว่าข้าหลวงใหญ่อังกฤษกลับเชิญ อู นุ มาพบแล้วขอให้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนทันที แล้วรีบจัดตั้งรัฐบาลเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ของประเทศพม่า
ออง ซานและครอบครัว ในตอนนั้นออง ซานมีลูก 3 คนคือ ด.ช.ออง ซานอู ด.ช.ออง ซานลิน และ ด.ญ.ออง ซานซูจี
⚡️อู ซอ พร้อมด้วยลูกสมุนมือปืนยังคงคอยโทรศัพท์ด้วยความร้อนรุ่มเคล้าด้วยความปลาบปลื้มที่ขจัดคู่แข่งทางการเมืองได้สำเร็จ บ่าย 3 โมงวันเดียวกันนั้น รถบรรทุกตำรวจจำนวนหนึ่งได้จู่โจมเข้าล้อมบ้านพักอู ซอ มือปืนทุกคนจับอาวุธเตรียมต่อสู้ แต่อู ซอ กลับใจเย็นหยิบวิสกี้เดินออกไปพบตำรวจด้วยท่าทางสงบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ตำรวจเข้าค้นบ้านพบปืนและกระสุนจำนวนมาก แต่มีใบอนุญาตถูกต้อง จึงยึดไปเป็นหลักฐาน ตำรวจคุมตัวอู ซอ และลูกสมุนไป คุกอินเส่ง ในบ้านตำรวจยังพบนามบัตร ตรายางที่ทำเตรียมไว้เรียบร้อย พร้อมใช้เขียนคำว่า “ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีอู ซอ”
⚡️อู ซอมีบุคลิกเป็นคนทะเยอทะยานมักใหญ่ใฝ่สูง ในช่วงที่เป็นนายกรัฐมนตรี (1940-1942) ใช้อำนาจเหมือนเผด็จการ เคยสั่งจับนักการเมืองเช่น อู นุ และบรรดากลุ่ม 30 สหายอีกหลายๆ คน รวมทั้งสั่งจับผู้ต้องสงสัยว่ามีความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น ในเวลาเดียวกันทำตัวเป็นลูกสมุนชั้นดีของข้าหลวงอังกฤษทุกคน อู ซอ เคยได้รับเชิญไปลอนดอนเพื่อพบกับเซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล และบรรดาผู้นำอังกฤษเพื่อแสดงบทบาทเจรจาปลดปล่อยพม่าให้เป็นเครือจักรภพอังกฤษ
⚡️เนื่องจากอูซอเป็นนักการเมืองฝ่ายขวาที่ฝักใฝ่ฝ่ายญี่ปุ่น แต่อังกฤษสืบความลับได้ก็เลยจับอูซอเนรเทศไปอยู่ในแอฟริกา ครั้งสงครามโลกสงบลงอูซอก็ได้รับการปลดปล่อยกลับมาพม่า กลุ่มนักการเมืองฝ่ายขวาหวังว่าอูซอจะกลับมามีบทบาททางการเมืองอีก แต่ก็ผิดหวังเพราะกลุ่มอูซอยังมีความขัดแย้งกับกลุ่มของนายพลอองซาน จนกระทั่งมีการลอบสังหารท่านนายพลอองซานในที่สุด
⚡️มีบันทึกว่าก่อนอู ซอ เดินทางไปเจรจากับอังกฤษนั้น เขาบวชเป็นพระแล้วไปสักการะขอพรจากพระเจดีย์ชเวดากอง แต่ด้วยความระห่ำ อู ซอ ขึ้นเครื่องบินรุ่น Tiger Moth แล้วไปบินวนเหนือเจดีย์ชเวดากองเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ชาวพม่าและพระสงฆ์ทั้งหลายลงความเห็นว่าเขาเป็นโรคจิต หลบลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด
อู ซอ ผู้มอบความตายให้ออง ซาน
อู ซอ ผู้มอบความตายให้ออง ซาน
⚡️กระบวนการสอบสวนฆาตกรรม ออง ซานดำเนินมาจนถึง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947)ศาลอ่านคำพิพากษากว่า 1 ชั่วโมงเป็นภาษาอังกฤษ อู ซอฟังเข้าใจส่วนลูกน้องอีก 8 คนไม่รู้เรื่อง ศาลตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ อู ซอ และมือปืนอีก 5 คนส่วนที่เหลืออีก 3 คน จำคุกคนละ 20 ปี
อู ซอ ได้รับการลงโทษโดยการแขวนคอ
⚡️ศพของออง ซาน ถูกนำมาวางให้ประชาชนเคารพเป็นเวลาประมาณ 9 เดือนใน Jubilee Hall บนถนนชเวดากอง แล้วจึงทำพิธีฝังอย่างสมเกียรติในสุสาน เมื่อ 11 เมษายน พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948)มีชาวพม่าร่วมพิธีศพกว่า 500,000 คน
⚡️นับว่าเป็นการปิดฉากชีวิตนิรันดร์กาลของวีรบุรุษผู้ก่อตั้งทัดมาดอ(กองทัพพม่า) และผู้ปลดปล่อยพม่าให้เป็นเอกราช
🔸ความสูญเสียครั้งนี้ได้พลิกโฉมหน้าความเป็นไปของประเทศพม่าที่เราเห็นอยู่เช่นทุกวันนี้
ศพของออง ซาน ถูกนำมาวางให้ประชาชนเคารพเป็นเวลาประมาณ 9 เดือนใน Jubilee Hall บนถนนชเวดากอง
ภาพสีของออง ซาน
https://www.britannica.com/biography/Aung-San
https://en.wikipedia.org/wiki/Aung_San
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%99
http://www.oxfordburmaalliance.org/independence--general-aung-san.html
สำนักพิมพ์ ยิปซี·วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 2016
ในหนังสือ Who killed Aung San โดย Kin Oung
ที่มา : นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 1 – 7 กุมภาพันธ์ 2551
https://prachatai.com/journal/2010/07/30385
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5528.30
1 บันทึก
11
1
1
1
11
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย