21 ก.ค. 2019 เวลา 09:33 • ธุรกิจ
4O แนวคิดการตลาดแสนเรียบง่าย แต่มัดใจลูกค้ายุคดิจิทัล การทำธุรกิจยุคนี้หากจับทางถูกเราจะเหมือนติดจรวดสร้างธุรกิจเติบโตได้รวดเร็ว ในทางกลับกันหากปรับตัวช้า ไม่กล้าตัดสินใจ เราจะถูกธุรกิจใหม่แซงหน้าแบบไม่ทิ้งฝุ่น แล้วเราจะปรับเปลี่ยบธุรกิจเพื่อรับมือกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร?
วันนี้มีคำตอบที่คนทำธุรกิจยุคดิจิทัลพลาดไม่ได้ ในคลาสเรียน Mini MBA ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ประธานหลักสูตร Master in Branding and Marketing ภาษาอังกฤษ และอาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาด้านแบรนด์ที่มีชื่อเสียง ได้เล่าแนวคิด 4O ที่พลิกมุมมองธุรกิจ
1. Original Model
นักธุรกิจยุค 5.0 มักตกหลุมพลาง Technology แบบไม่รู้ตัวค่ะ เราหลงคิดกันไปว่าเทคโนโลยีคือยาขนานเอกของการทำธุรกิจในยุคนี้ ถ้าเราสังเกตบริษัทสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จระดับโลก พวกเขาไม่ได้ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำเลิศ เขาเริ่มจากมองหาปัญหาขนาดใหญ่ของลูกค้า ที่ยังไม่มีคู่แข่งคนไหนแก้ไขได้เลย พวกเขาเลยคิด Solution แก้ปัญหาและหา Original Model หรือวิธีการหาเงินจากการแก้ปัญหาดังกล่าว
ยกตัวอย่าง Airbnb เป็นสตาร์อัพที่ประสบความสำเร็จที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีอะไรล้ำเลิศเลยค่ะ แต่ Airbnb สร้าง Original Model ของตัวเอง คือเป็น Platform กลางที่จับคู่ระหว่างคนที่มีห้องว่างกับคนที่มองหาที่พักแบบ Local ราคาไม่แพง สิ่งที่ Airbnb ทำกลายเป็น Original Model ที่ Disrupt อุตสาหกรรมโรงแรม
นอกจากนั้นใน Podcast ของ Mission To The Moon ได้มีการพูดถึงท่าไม้ตายในการทำธุรกิจยุคปัจจุบันยิ่ง Model ธุรกิจคมเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสอยู่รอดและประสบความสำเร็จ โดยตัวอย่างโมเดลธุรกิจที่คนนิยม คือ 1. Selling Own Assets 2. Subscription 3. Renting 4. Advetising 5. Commision Fee เป็นต้น
2. Onlife
หมดยุคแบ่งการตลาดแบบ Online กับ Offline เราชอบผูก Digital กับ Online ค่ะ จนคิดว่า 2 คำนี้เป็นแพ๊คคู่กัน แต่จริงๆ แล้ว Digital ไปไกลกว่า Online การนิยามคำว่า Digital เป็นสิ่งที่ท้าทายมากๆ
ผู้บริหาร AirAsia เคยเอ่ยปากพูดว่า Online Marketing is something I don’t know. We don’t Know and You don’t know. เพราะแต่ละ Generation ก็นิยามคำว่า Online แตกต่างกันไป
สำหรับ Gen พวกเรา MP3 เป็นสิ่งที่เฉิ่มเชย แต่คุณพ่อคุณแม่ยุค BabyBoomer มองว่า MP3 เป็นของเล่น Digital มาแรงในยุคนี้ กลายเป็นที่มาให้ TV Direct ขาย MP3 ธรรมะตอบโจทย์คนกลุ่มนี้สร้างยอดขายนับร้อยล้านบาท เห็นมั้ยค่ะว่าต่าง Gen ต่างนิยาม สำหรับ GenY มักฝังตัวอยู่ใน Facebook หรือ IG ในขณะที่ GenZ ฝั่งตัวใน Twitter หรือ Tiktok และมองว่าคนที่เล่น Facebook เชยสุดๆ
นักธุรกิจในยุคนี้เลยหยุดแบ่งเส้นระหว่าง Online และ Offline แต่ใช้กลยุทธ์ Onlife เข้าไปนั่งในใจลูกค้าและตอบโจทย์ในทุกจังหวะความต้องการ เริ่มจากเข้าใจว่าลูกค้าคิดอะไร? ใช้ชีวิตยังไง? ช่วงเวลาไหนลูกค้าทำอะไรอยู่? ยกตัวอย่าง Amazon เจ้าพ่อแห่งโลกออนไลน์ ยังหันมาเปิดร้านแบบ Offline เลยค่ะ เพราะว่า Amazon เข้าใจพฤติกรรมลูกค้าหลักกลุ่มพนักงานประจำว่าช่วงเช้าเป็นเวลาแสนวุ่นวายช่วงเช้าไม่มีใครซื้อของออนไลน์โดยเฉพาะ อาหาร แน่ๆ Amazon เลยเปิดร้านย่านธุรกิจให้พนักงาน Grab and Go ซื้อของกิน เครื่องดื่ม หรือของอื่นๆ ในร้านก่อนเข้าออฟฟิศ คอนเซ็ปของร้านชูสะดวก รวดเร็วเป็นจุดขาย เพียงแค่หยิบสินค้าก็เดินออกจากร้านตัวปลิวได้เลย เพราะ Amazon จะตัดค่าสินค้าผ่าน Account Amazon ทันที
3. Open Source
สร้าง Ecosystem แทบตายสุดท้ายแพ้ธุรกิจใจๆแบบ Open Source หลายคนมองว่าจุดแข็งของ Apple คือ Ecosystem ที่สร้างความจงรักภัคดีกับสาวก แต่ในมุมมองผู้บริหาร Samsung กลับมองว่า Apple ไม่ใช่คู่แข่งที่น่ากลัวเลย เพราะ Apple Ecosystem เปรียบเสมือเหมือนคุกที่กักขังสาวก ซึ่งธรรมชาติของมนุษย์เราชอบอิสระ มนุษย์อยู่ในคุกได้ไม่นาน และวันใดที่เขาเบื่อคุกที่ชื่อว่า Eco System ของ Apple แล้ว เขาจะมาหา Samsung และไม่กลับไปอยู่ในคุกเดิมอีก
ข้อคิดที่สำคัญจากเคสดังกล่าวคือ ธุรกิจยุคนี้ต้องเปิดใจและใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ของคนที่เกี่ยวข้องเยอะๆ เปลี่ยนใจจากคู่แข่งให้เป็นคู่ค้าให้ได้ เราจะเห็นการ Collaborate ของแบรนด์ต่างๆ หลายๆ แบรนด์อย่าเช่น AIA กับ Fitness First หรือ LV กับ Suprem เป็นต้น
4. Original
Brand ยุคนี้ไม่ต้องสร้าง Story แต่ต้อง Organic คนสมัยนี้ชอบแบรนด์จริงใจ เพราะถ้าสร้างเรื่องราวแบบปลอมๆ ไม่มีอยู่จริง สุดท้ายเตรียมตัวโดนนักสืบยุคดิจิทัลคอยขุด คอยจับผิด และหากแบรนด์ทำพลาดสิ่งที่ควรทำคือยืดอกและยอมรับผิด ลองเปรียบเทียบกรณีศึกษาของ ป๊อบ ปองกูล กับ แมท ภีรณีย์ ที่มีปัญหาในเรื่องเดียวกันแต่กลับได้รับกระแสแอนตี้แตกต่างกัน เพราะ ป๊อบ ยืดอกรับแบบแมนๆ แต่แมท ชบ่ายเบี่ยงในช่วงแรกทำให้ชาวเนตไม่พอใจและขุดคุ้ยเรื่องราวไม่จบ ดังนั้นถ้าแบรนด์ของเราเล่าเรื่องจริงได้น่าสนใจ แบรนด์จะมีคนปกป้องและคอยเถียงแทนพวกเราเอง
ช่วงนี้มีกระแส #แม่ฉันต้องได้กินอาหารทะเล ใครจะคิดว่าบังที่อายุ 29 จะสร้างธุรกิจ 100 ล้านจากเงิน 700 บาท ข้อคิดที่บังฮาซันขายอาหารทะเลจังหวัดสตูลผ่านช่องทาง FB Live บอกทุกคนคือ เขาไม่ได้สร้างเรื่องราว แต่เขาเล่าเรื่องราวของอาหารทะเลให้น่าสนใจตังหาก เพราะทุกเรื่องราวที่เขาเล่าคือเรื่องจริง ดังนั้นเมื่อมีคนไปสืบและพบว่าสิ่งที่เขาพูดเป็นเรื่องจริง ที่มาของปลาเขามาจากชาวประมงจริงๆ นั่นยิ่งช่วยสร้างความน่าเชื่อถือระหว่างเขากับลูกค้า
https://www.msn.com/th-th/news/national/บังฮาซัน-โพสต์-ประสบการณ์-สรรพากรแวะมาเยี่ยมบ้าน/ar-AABhaNb
ใครมีแนวคิดทำธุรกิจในยุคดิจิทัลที่น่าสนใจมาแชร์กันได้นะคะ หรือใครอยากรู้เรื่องอะไรพิมพ์มาบอกกันได้น๊า แอดมินจะไปหาข้อมูลมาเล่าให้ฟังค่ะ จะได้เรียนรู้ไปด้วยกันเนอะ ^^
โฆษณา