24 ก.ค. 2019 เวลา 05:37
ตราประจำ จังหวัด ตอน 1
กรุงเทพมหานคร
ตราของกรุงเทพมหานคร เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ทรงสายฟ้า ตรานี้กรมศิลปากรออกแบบโดยอาศัยภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นต้นแบบ เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 ฉบับที่ 60 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (สมัยเมื่อยังเป็นจังหวัดพระนครนั้นใช้ตราพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นตราประจำจังหวัด)
1
ตราพระอินทร์ทรงช้าง เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร อาจเป็นเพราะว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองเทวดาของพระอินทร์ดังปรากฎตามชื่อเมืองซึ่งรัชกาลที่ 1 ได้พระราชทานว่า *กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ และรัชกาลที่ 4 ทรงแก้สร้อยชื่อเมืองเป็น *กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ก็คือ โกสิ สนธิกับ อินทร์ ซึ่งหมายถึง พระอินทร์เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร อาจเป็นเพราะว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองเทวดาของพระอินทร์ดังปรากฎตามชื่อเมืองซึ่งรัชกาลที่ 1 ได้พระราชทานว่า *กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ และรัชกาลที่ 4 ทรงแก้สร้อยชื่อเมืองเป็น*กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ก็คือ โกสิ สนธิกับ อินทร์ ซึ่งหมายถึง พระอินทร์
1
สาเหตุที่ยกกรุงเทพฯ เป็นเมืองพระอินทร์ สันนิษฐานว่า เพราะคำว่า *รัตนโกสินทร์ คือแก้วของพระอินทร์ อันได้แก่พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ซึ่งมีสีเขียวเหมือนสีกายของพระอินทร์ เมืองของพระแก้วมรกตจึงเป็นเมืองของพระอินทร์
รูปพระอินทร์ ที่เป็นตรากรุงเทพมหานครนั้น ถือวชิราวุธหรืออาวุธที่เป็นสายฟ้า เป็นอาวุธประจำพระองค์ ทั้งนี้เพราะพระอินทร์มีหน้าที่ขับไล่ประหารอสูร หรือฤาษีที่ทำความมืดมัวแก่โลก กล่าวคือ เมื่อฤาษีบำเพ็ญตบะจนโลกมืดมัว ฝนไม่ตกตามฤดูกาล พระอินทร์จะทรงใช้สายฟ้า หรือใช้นางอัปสรไปยั่วยวนทำลายตละฤาษี ฝนก็จะตก ท้องฟ้าแจ่มใส เกิดแสงสว่างและความชุ่มชื้นดังเดิม ดังนั้นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณบนก้อนเมฆ จึงมีความหมายในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ปวงประชา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา