Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เกร็ดความรู้
•
ติดตาม
24 ก.ค. 2019 เวลา 15:20 • การศึกษา
สุดยอด ''การเคลื่อนที่แบบไจโร'' ที่คุณต้องตะลึง😱😱
การเคลื่อนที่แบบไจโร จะเกิดกับมวลทุกชนิดในโลกที่มีการหมุน การหมุนของมันค่อยข้างแปลกเป็นพิเศษ เหมือนกำลังท้าทายแรงโน้มถ่วงซึ่งเป็นไปตามกฎทางฟิสิกส์
จะยกตัวอย่างเพื่อให้กระจ่างมากยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้...
ขอบคุณภาพจาก http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/gyro/gyro.mpeg
จะสังเกตได้ว่า ล้อที่แขวนไว้อยู่บนเชือกนั้นเมื่อยังไม่ได้หมุนล้อ จะทำให้ล้อที่แขวนอยู่นั้นห้อยลงตามลักษณะที่ผูกเชือกไว้
เมื่อเขาเริ่มหมุนล้อ
youtube.com
การหมุนควงของล้อจักรยาน 1
การหมุนควงของล้อจักรยาน สนใจคลิก http://www.neutron.rmutphysics.com/teaching-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=8260&Itemid=3
จากวิดีโอ พอล้อหมุน ล้อจะสามารถตั้งขึ้นได้เหมือนกับอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก ที่เป็นเช่นนี้เพราะการเคลื่อนที่แบบไจโรนั้น จะเป็นไปตามกฎของนิวตัน คือ ''มวลจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ ถ้าไม่มีแรงภายนอกมากระทำ''
มีการนำเอาหลักการเคลื่อนที่แบบไรโจมาประยุกต์สร้างสิ่งต่างๆมากมาก เช่น
ดาวเทียมบางดวงใช้หลักของไจโร เพื่อใช้ในการปรับตำแหน่งของดาวเทียมในอวกาศ
สถานีอวกาศ Mir ของรัสเซีย ใช้ไจโรสโคปจำนวน 11 อัน เพื่อบังคับให้แผงโซลาร์เซลล์หันไปในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์ตลอดเวลา
เครื่องบินโดยสารทุกประเภทมีไจโรสโคป ไว้สำหรับทำเป็นเข็มทิศ และระบบนำร่องอัตโนมัติ
นำไปใช้ในรถไฟรางเดียวหรือเรือโดยอาศัยหลักการทรงตัวของมันทำให้รถไฟทรงตัวอยู่ได้และทำให้เรือไม่ถูกซัดล้มลงโดยคลื่นเนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนทิศทางได้ทัน
ใช้เป็นอุปกรณ์เพื่อบอกตำแหน่งในคอมพิวเตอร์เช่นการควบคุมเมาส์ในอากาศ ดังรูป เรียกว่า Gyromouse ซึ่งประกอบด้วย 3 เทคโนโลยี คือ Gyroscope ,การทำงานของเมาส์ (mouse ball mechanism) ,สัญญาณความถี่วิทยุ (radio frequency) ในการเลื่อนของ Gyroscope ภายในตัวเมาส์จะทำให้ทราบตำแหน่ง cursorได้ โดยหลักการทำงานของเมาส์ที่ใช้งานทั่วไป ส่วน radio เทคโนโลยีใช้สำหรับสร้าง Gyromouse แบบไร้สายช่วยควบคุมระยะได้ประมาณ40 ฟุต
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ ถ้าชอบฝากกดไลค์ กดติดตามด้วยค่ะ🙏🙏🙏
แหล่งข้อมูล :
http://bme231metrology.blogspot.com/2011/07/sensor-gyro-gyroscope.html?m=1
http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/gyro/gyroscopethai.htm
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%88%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%9B
6 บันทึก
34
6
6
34
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย