26 ก.ค. 2019 เวลา 14:07
ช่องว่างความคิด(ต่อ)
อยู่มาอีกวันเด็กก็มาคุยขอคำปรึกษาอีก หลังคุยจบ ฉันจึงถามเด็กว่า ฉันอยากคุยกับคุณพ่อหรือคุณแม่เราได้ไหม? เด็กบอกว่า จะไปถามให้ จนวันหนึ่งเด็กก็นำคุณแม่มาคุยกับฉัน
หน้าตาทั้งแม่และเด็กบ่งบอกความทุกข์ หน้าตาเศร้าหมอง เมื่อลองให้แม่ลูกคุยกัน พบว่าคุยกันไม่ได้ ต่างเถียงเอาแพ้ชนะกัน และแม่พยายามใช้อำนาจข่มลูกไว้ ทำให้เด็กไม่กล้าเถียงมาก แต่แสดงปฏิกิริยาว่า ไม่สบอารมณ์ สิ่งทีม่ฉันสังเกตพบ คือ
1.แม่ลูกทุกข์ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
2. ต่างฝ่ายไม่เปิดใจรับกัน
3.แม่ค่อนข้างใช้ความเป็นผู้ใหญ่ ใช้อำนาจข่มลูกในที ส่วนลูกก็ไม่ค่อยยอมรับการใช้อำนาจนัก แต่อยู่ในสภาพจำยอม
4.ตัวเด็กอยู่ในยุค gen. ขณะนี้ แต่แม่อยู่ในยุค gen. x ตอนกลางๆ พื้นฐานตรรกะและความคิดจึงต่างกันอย่างสิ้นเชิงในการมองปัญหา
5. ต่างฝ่ายยึดมั่นถือมั่นตัวเองถูก ไม่ฟังกัน เมื่อเริ่มคุยก็โต้เถียงตอบโต้กัน ไม่ฟังกัน ปล่อยวางกันไม่เป็น แม้เด็กจะจำยอมบ้าง แต่ไม่ใช่ยอมรับด้วยใจ
ด้วยประเด็นที่กล่าวมา ทั้งสองฝ่ายจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทุบทุกข์ เพื่อสร้างสุขได้ เพราะไม่สามารถทะลายกำแพงในประเด็นต่างๆที่กล่าวมา เมื่อใดก็ตามทุบกำแพงดังกล่าวทิ้งได้ ทุกข์ถูกทุบทันที หายฉับพลัน สุขจะวิ่งมาชนไม่รู้ตัว
ในหลักการทุกคนเข้าใจหลักที่กล่าวมา แต่ในความจริงการใช้ชีวิต น้อยคนจะทำได้ พูดง่าย แต่ทำได้ยากแท้ ผลคือทุกข์จึงไม่จืดจางลง ท่านผู้อ่านคิดว่าทำอย่างไร? ในทางปฏิบัติจึงจะทำได้ ทุบทุกข์ทิ้งและสร้างสุขได้จริง? ซึ่งหลายคนบอกว่าปล่อยวาง แต่เอาเข้าจริงทำไมปล่อยวางไม่ได้? เข้าใจว่า หลายคนเคยเจอสภาพในทำนองนี้ ไม่ใช่เฉพาะกับลูก กับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกน้อง เพื่อน พ่อแม่ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เรานับถือ เป็นต้น แล้วจะทำอย่างไรให้ปล่อยวางได้จริงๆ? จึงมาชวนคุยเรื่องทุบทุกข์ สร้างสุขกัน เพื่อนลองออกความเห็นกันเพื่อช่วยพวกเรากันให้พ้นทุกข์บ้าๆบอๆกันเสียที
บุญเรือง
โฆษณา