27 ก.ค. 2019 เวลา 04:06 • บันเทิง
สปรินท์เตอร์:การบริหารธุรกิจของยอดนักวิ่ง
สปรินท์เตอร์ เป็นการ์ตูนของ อ.โคย่ามา ยู ที่ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงปี 2528 ซึ่งเป็นเรื่องราวของนักวิ่งหนุ่มคนหนึ่งที่มีพรสวรรค์ในการวิ่งระดับสูงชนิดที่เจ้าตัวก็ยังไม่รู้ตัว โดยได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในไทยโดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ใช้ชื่อตรงตัวว่า สปรินเตอร์ มีทั้งหมด 6 เล่มจบ จนมาถึงยุคลิขสิทธิ์ สำนักพิมพ์ TKO เคยนำมาตีพิมพ์อีกครั้ง แต่ไม่จบชุดก็หยุดตีพิมพ์ไปเสียก่อน นับว่าเป็นการ์ตูนที่หาอ่านยากในปัจจุบันเรื่องหนึ่ง
 
แม้ชื่อเรื่องจะเน้นไปที่การ์ตูนที่นำเสนอเกี่ยวกับการวิ่งแข่ง แต่ในเรื่องก็มีการแฝงอารมณ์ดาร์ม่าอย่างสูง ทั้งการที่ ฮิคารุ ถูกพ่อแม่แท้ๆขายทิ้งให้กับเศรษฐีคนหนึ่ง การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับบรรดาลูกพี่ลูกน้องหัวดีที่พ่อบุญธรรมไปเก็บมาเลี้ยงทั่วญี่ปุ่น
แต่เสน่ห์ที่มีในตัวของฮิคารุก็ชนะใจพ่อบุญธรรมเป็นอย่างมาก จึงได้ตัดสินใจยก โปรเจ็คยักษ์ อย่าง ยูกินิวทาวน์ ของ บริษัทให้กับ ฮิคารุ ดูแล จนทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ลูกพี่ลูกน้องคนอื่่นๆ และวางแผนโค่นล้มทั้งพ่อบุญธรรมและ ฮิคารุเอง
เรื่องราวจะจบอย่างไร อยากให้ทุกท่านไปตามหาอ่านเอาเอง (แต่เตือนไว้ก่อนว่าค่อนข้างหายากในปัจจุบัน วอนสำนักพิมพ์อย่าง เนชั่น หรือ สยามอินเตอร์ ช่วยรับไว้พิจราณาที) แต่ที่อยากจะพูดถึงคือแนวคิวในการทำธุรกิจของ ฮิคารุ กับ โครงการ ยูกินิวทาวน์
ฮิคารุนำเสนอโปรเจค์ต่อผู้เป็นพ่อ ว่าอยากสร้างเมืองใหม่ขึ้นในเมือง อิสุ ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ในชนบทและค่อนข้างห่างไกลความเจริญอยู่มาก โดยเขาได้นำเสนอแผนให้สร้าง อิสุ ให้เป็นเมืองใหม่ ดดยตั้งชื่อว่า “ยูกินิวทาวน์” ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากที่สุดในญี่ปุ่นผ่านทางเครือข่ายธุรกิจที่มีอยู่ในมือบริษัทยูกินั้นเองทั้ง รถไฟความเร็วสูง ระบบสาธารณุปโภคอันทันสมัย หรือ ที่พักอาศัยที่มีระบบอันทันสมัยต่างๆคอยรองรับให้ใช้งานอย่างครบครับให้กับผู้อยู่อาศัย รวมไปถึงห้างสรรพสินค้าขนาดยักษ์หรือ สวนสนุก
แน่นอนว่าลููกพี่ลูกน้องต่างพากันคัดค้านและไม่เห็นด้วยกับฮิคารุ โดยเฉพาะการที่ อิสุ อยู่ไกลจากตัวเมืองเป็นอย่างมาก คงยากที่จะมีใครอยากมาพักอาศัย หรือ ซื้อบ้านช่องอยูที่นี่อย่างถาวร จากอุปสรรค์การเดินทางเข้าสู่เมือง แต่ฮิคารุได้ชี้แจ้งในเรื่องนี้ว่าบริษัทฯ สามารถใช้รถไฟความเร็วสูงที่มีอยู่ในมือของยูกิ สร้างทางเชื่อมจาก อิสุถึงตัวเมือง โดยจะใช้เวลาเดินทางเพียง 45 นาทีเท่านั้น
แต่อุปสรรค์ที่เหล่าบรรดาลูกพี่ลุกน้องต่างค้านหัวชนฝาคือ การที่จะทำยังงั้น ค่าเดินทางในแต่ละครั้งจะมีราคาสูงมากและผู้คนคงไม่กล้าเดินทางโดยวิธีนี้อย่างแน่นอน
ซึ่งคำตอบของ ฮิคารูที่ทำเอาทุกคนต้องอึ้ง คือฮิคารุให้คิดค่าตั๋วรถไฟความเร็วสูงให้มีราคาถูกไปเลย แม้จะขาดทุนแต่เนื่องจากในเมือง อิสุจะถูกห้อมล้อมไว้ด้วยธุรกิจของยูกิแทบทั้งหมด ทำให้แม้จะขาดทุนจากค่ารถไฟ แต่ก็สามารถสร้างกำไรจากจุดอื่นมาทดแทนได้
นั่นทำให้โครงการนี้ถูกใจพ่อบุญธรรมและอนุมัติให้สร้างทันที แน่นอนว่าสร้างความไม่พอใจให้กับบรรดาลูกเลี้ยงคนอื่นเป็นอย่างมาก แต่ก็ไม่อาจต้านทานคำสั่งของผู้เป็นพ่อได้
แนวคิดแบบนี้ของฮิคารุเป็นแนวคิดที่คล้ายคลึงกับปรัชญาทางศาสนาที่เรียกกันว่า “รู้จักให้ก่อนจึงจะได้รับ” ซึ่งแม้แต่ในปัจจุบันก็ยังเป็นแนวคิดที่หลายธุรกิจนำมาใช้และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
ตัวอย่างที่ไกล้ตัวที่สุดคือ การสร้างห้างสรรพสินค้าใจกลางกรุงเทพฯอย่าง Termianal 21 ของคุณ อนันต์ อัศวโภคิน เจ้าพ่อแห่งวงการอสังหาริมทรัพย์ จาก แลนด์ แอนด์ เฮาส์ ที่ยอมขาดทุนจากศูนย์อาหารโดยให้ผู้เช่าพื้นที่ในศูนย์อาหารเข้ามาเช่าที่ได้ฟรี แต่ต้องขายอาหารในราคาที่ถูก ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีใครเห็นด้วยแต่เจ้าสัวก็ยังยืนตามนี้ โดยเขามองว่า ยอมขาดทุนในจุดนี้ยังดีกว่าเอางบนี้ไปลงทุนกับการตลาดที่ไม่รู้ว่าจะได้ผลหรือเปล่า
สุดท้าย ศูนย์อาหารราคาถูกนี้ก็สามารถดึงคนเข้ามาได้จนเต็มห้างและกลายเป็นจุดแข็งที่สร้างลูกค้าเข้ามาเดินในห้างอย่างมากมาย
นี่แหละ คือความสำเร็จที่มาจากแนวคิด “ให้ก่อนรับ” ซึงคุณอนันต์ยังเคยให้สัมภาษณ์ว่าในการประชุมวาระประจำปีของบริษัทฯ เขาไม่เคยอยากรู้ว่า การขาดทุนกำไรของปีเป็นอย่างไร แต่ สิ่งที่เขาอยากรู้มากที่สุดก็คือ ปีทีผ่านมาบริษัทผิดพลาดในเรื่องใดบ้างและแก้ไขอย่างไร เพราะนั่นคือ
“ความรู้” อย่างแท้จริง นั่นเอง
โฆษณา