27 ก.ค. 2019 เวลา 05:30 • สุขภาพ
โพสต์ 7 : "น้ำอ้อย" กลายเป็น "น้ำตาลก้อน" วิถีชาวบ้านปากีสถาน
ในฤดูกาลหีบอ้อย ชาวไร่ส่งอ้อยเข้าสู่โรงงานหีบ ใน 1 ปี โรงงานจะเปิดเพื่อหีบอ้อยประมาณ 2-3 เดือน.
ซึ่งบางส่วนก็จะมีชาวบ้าน/ชาวไร่ นำอ้อยมาผลิตเป็นน้ำตาลก้อน ขายตามข้างทาง เรามาดูกันครับ ว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง.
เครื่องจักร/อุปกรณ์ หลัก ๆ มีดังนี้
1. เครื่องหีบอ้อย
2. เตาไฟ ทำมาจากดิน
3. กระทะเคี่ยวน้ำอ้อย
4. ถาดไม้กวนน้ำอ้อย
"เครื่องหีบอ้อย"
ลักษณะการทำงานจะมีลูกหีบเหล็กจำนวน 2 ลูก หมุนในทิศทางเข้าหากัน โดยใช้ระบบเฟือง ต่อเข้ากับพูลเลย์ ส่งกำลังขับจากเครื่องยนต์รถไถนา ผ่านสายพานขนาดใหญ่.
น้ำอ้อยที่ถูกบีบจากลำอ้อย จะไหลออกจากถาดที่อยู่ใต้ลูกหีบ ไหลตามรางเข้ามาในปิ๊บเหล็ก วางไว้หลุมดิน ที่ถูกขุดไว้.
"เตาดิน"
เป็นเตาที่ขุดให้เป็นอุโมงค์ใต้ดิน ข้างในมีช่องทางให้เปลวไฟวิ่ง และ อากาศไหลเวียน.
เตามีจำนวน 2 หลุมเพื่อวางกระทะเคี่ยวน้ำอ้อย ขอเรียกว่ากระทะเคี่ยว 1 และ 2 ..แล้วมันแตกต่างกันยังไง???
"กระทะเคี่ยว 1"
คือ น้ำอ้อย (สีน้ำตาล) ที่ถูกเคี่ยวจากไฟแรก ตรงจุดนี้จะใช้ไฟแรง (เชื้อเพลิงมาจากชานอ้อย และ ท่อนไม้/กิ่งไม้ แห้ง) เพื่อให้น้ำอ้อยเดือด.
"กระทะเคี่ยว 2"
คือ น้ำอ้อย (สีดำ)ตรงจุดนี้จะใช้ไฟอ่อน ๆ และตักคราบต่าง ๆ ที่ลอยอยู่ด้านบนออก น้ำตาลก้อนจะมีกลิ่นหอม หรือ ไหม้ หัวใจก็อยู่จุดนี้.
สภาพน้ำอ้อยที่พร้อมแปรสภาพเข้า สู่ขั้นตอนปั้นก้อน หลังจากเคี่ยวเป็นที่เรียบร้อย มีกลิ่นหอมมาก ๆ
"ถาดไม้กวนน้ำอ้อย"
น้ำอ้อยที่ถูกเคี่ยวแล้วจะเทใส่ ถาดไม้ เพื่อกวนให้เข้าเนื้อ และ ลดอุณหภูมิความร้อนลง ก่อนการปั้นก้อนน้ำตาล.
การปั้นก้อนน้ำตาลจะใช้มือปั้น แล้ววางตากแดด รอให้แห้งน้ำตาลก้อนที่ได้จะมีผิวหน้าที่แตก.
การซื้อ ขาย ใช้ตาชั่งแบบคาน วางก้อนน้ำหนัก เช่น 0.5 , 1 กิโลเมตรเป็นต้น หรือ บางที่ก็ถ่วงน้ำหนักด้วยก้อนหิน .
โฆษณา