Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
EveryGreen
•
ติดตาม
27 ก.ค. 2019 เวลา 12:19 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
* นาโนพลาสติก?
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า 'ไมโครพลาสติก' กันมาบ้างแล้ว แต่ถึงตอนนี้ไมโครพลาสติกอาจจะยังเล็กไม่พอ เมื่อเทียบกับ 'นาโนพลาสติก'
ทุกวันนี้คนทั่วโลกให้ความสนใจนาโนพลาสติกกันมากขึ้นเนื่องจากอาจมีผลกระทบโดยตรงกับสิ่งแวดล้อม
แต่ก็ยังคงมีหลายคำถามเกี่ยวกับนาโนพลาสติกที่ยังต้องหาคำตอบ ว่าจริงๆแล้วมันอันตรายมากหรือน้อยแค่ไหน
พลาสติกมีอยู่ทั่วทุกที่ แค่เพียงมองไปรอบๆตัวก็จะพบอย่างน้อยหนึ่งชิ้น จริงอยู่ที่ว่าพลาสติกได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ช่วยอำนวยความสะดวกหลายอย่าง แต่รู้หรือไม่ว่าพลาสติกเหล่านี้กลับกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่เลวร้ายที่สุดในการทำลายสิ่งแวดล้อม
SurfGirl Magazine (October 5, 2018)
เมื่อเรานึกถึงมลภาวะที่เกิดจากขยะพลาสติก เรามักจะนึกถึงขวดพลาสติก บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ถูกทิ้งเกลื่อนลำคลอง ชายหาด กองขยะตามที่พักขยะ หรือแม้กระทั่งในท้องของสัตว์ทะเลที่ถูกพบเกยตื้นดังที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ
แต่ความสกปรกเหล่านี้เป็นเพียงแค่ฉากหน้าเท่านั้น ความน่ากลัวที่แอบแฝงมาคือเมื่อตอนที่มันถูกย่อยสลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยต่างหาก
พลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่าหน่วย 'มิลลิเมตร' ถูกเรียกว่า 'ไมโครพลาสติก'
กระจายอยู่ทั่วทุกที่ในสิ่งแวดล้อม มีรายงานว่าพบอยู่บนเทือกเขาห่างไกลในประฝรั่งเศสที่สูงราว 4500 ฟุต และ ในมหาสมุทรระดับลึกที่สุดเท่าที่มนุษย์จะเก็บตัวอย่างมาสำรวจได้ บนยอดเขาสันนิษฐานว่าเป็นเพราะกระแสลมพัดพาไมโครพลาสติกมา ทำให้ทราบว่าลมสามารถพัดไมโครพลาสติกไปได้ทุกที่
นอกจากนี้ยังพบไมโครพลาสติกในทางเดินอาหารของสัตว์ทะเลต่างๆ บ่งบอกว่าพวกมันอาจจะกินพลาสติกชิ้นเล็กๆเข้าไปและย่อยให้มีขนาดเล็กลงจนถึงระดับไมโครได้
สิ่งที่น่ากลัวคือยังไม่มีใครรู้ว่าพลาสติกจะมีขนาดเล็กลงได้เท่าไหน แต่ช่วงหลายปีหลังมานี้นักวิทยาศาสตร์เริ่มหันมาใช้ศัพท์ ‘นาโนพลาสติก’ กันมากขึ้น
นาโนคือหน่วยที่เล็กกว่าไมโครพันเท่า นอกจากนาโนพลาสติกจะต่างกับไมโครพลาสติกในด้านขนาดแล้ว การใช้ศัพท์นี้ยังมีประโยชน์ให้การจำแนกง่ายขึ้นด้วย เพราะนาโนพลาสติกไม่สามารถเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีธรรมดาเช่นการกรองอย่างไมโครพลาสติกได้ ยิ่งกว่านั้นยังมีความเป็นได้สูงที่นาโนพลาสติกจะสามารถแทรกซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อของร่างกาย ไม่ได้ค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหารเหมือนไมโครพลาสติก
อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจและการศึกษาถึงผลกระทบของนาโนพลาสติกต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเรานั้นยังมีน้อยมาก
คำถามสำคัญที่ต้องหาคำตอบให้ได้ประเด็นแรกคือ มีนาโนพลาสติกปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน? เพราะถึงจะมีการตรวจวัดนาโนพลาสติกในห้องทดลอง แต่การจะนำมาใช้ในสภาพแวดล้อมจริงยังถือเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคาที่ต้องจ่าย ถึงตรงนี้เราสามารถใช้พื้นฐานความรู้จากเรื่องการแตกตัวของไมโครพลาสติก ทำให้คาดคะเนได้ว่านาโนพลาสติกเกิดจากไมโครพลาสติกที่ถูกทำให้มีนาดเล็กลง แต่เรายังไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร
ประเด็นที่สอง คือ วงจรของนาโนพลาสติกในธรรมชาติ เพราะนาโนพลาสติกมีขนาดและรูปร่างแตกต่างจากไมโครพลาสติก จึงไม่อาจรู้ได้ว่ามันมีการหมุนเวียนอย่างไร อาจจะถูดพัดไปตามกระแสลม รวมตัวเข้ากับแร่ธาตุต่างๆ หรือตกตะกอนแยกชั้นออกมา
ประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับผลกระทบที่แท้จริงของนาโนพลาสติก ตอนนี้เรารู้แค่ว่านาโนพลาสติกอาจจะแทรกซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆได้เนื่องจากขนาดที่เล็กมากของมัน แต่เราก็ยังไม่มีข้อมูลที่เห็นชัดมากพอ
ตอนนี้ในแล็บต่างๆก็พยายามศึกษาเรื่องนาโนพลาสติกกันมากขึ้น โดยวารสารทางวิทยาศาสตร์ชื่อดังอย่าง Nature Nanotechnology ยืนยันว่าให้การสนับสนุนเต็มที่ต่องานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้
สุดท้ายนี้ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ทั้งนาโนและไมโครพลาสติกต่างก็เป็นสิ่งที่เราควรระวัง เพราะสิ่งมีชีวิตระดับจุลชีพ เช่น เชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสนั้นมีอยู่คู่โลกมานานก่อนที่มนุษย์จะถือกำเนิดขึ้นมา ทำให้เรามีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคหลายๆชนิด แต่พลาสติกเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดมาหลักร้อยปีเท่านั้น ยังไม่มีสิ่งมีชีวิตไหนที่มีภูมิต้านพลาสติกขนาดจิ๋วเหล่านี้แน่นอน
1
nature.com
Nanoplastic should be better understood
Plastic nanoparticles raise concern because of their potential impact on the environment. However, many questions need to be answered to establish how dangerous they really are.
1 บันทึก
34
27
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Reading Corner
โลกจะสวย พวกเราต้องช่วยกัน
1
34
27
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย