28 ก.ค. 2019 เวลา 03:59 • ประวัติศาสตร์
วันนี้เป็นวันที่ดีที่จะได้เริ่มซีรี่ย์ ตอนใหม่ ที่ใช้ชื่อว่า
Thinker Change The World : คิดต่างเปลี่ยนโลก
ตอนแรก เราจะมาพบกับ การกำเนิดของ ปฎิทิน กันครับ
เคยสงสัยกันบ้างรึเปล่าครับว่า ปฎิทินที่เราใช้ๆกันอยู่ในทุกๆวันนี้มีที่มาที่ไปเป็นยังไง
วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังครับ
ในสมัยก่อนคริสกาล ประมาณ 700 ปี มีอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมากๆอยู่ สองอาณาจักร
อาณาจักรแรกคือ บาบิโลน อาณาจักรที่ว่ากันว่ามีวิทยาการ ความก้าวหน้าทันสมัยล้ำหน้ากว่าอาณาจักรอื่นๆในยุคนั้น สามารถสร้างสวนลอยฟ้าขึ้นมาได้ และยังมีระบบการจัดการน้ำที่ดีอีกต่างหาก
อาณาจักรที่สองก็คือ อียิปต์ อาณาจักรแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ ที่มีอารยธรรมเป็นของตัวเอง โดดเด่นไปด้วย พีระมิด และสิ่งปลูกสร้างที่ยิ่งใหญ่ จนยากจะเชื่อว่าถูกสร้างขึ้นมาได้ด้วยน้ำมือ ของมนุษย์ในสมัยนั้น
ในเมื่อมีความเจริญด้านอารยธรรมขนาดนี้แล้ว แน่นอนครับว่ามันก็ต้องมีอะไรล้ำหน้ากว่าคนอื่นเขา สิ่งที่สองอาณาจักรนี้มีก็คือ การนับเวลา โดย สิ่งที่เราเรียกว่า "ปฎิทิน" นั่นเอง (มีข้อสันนิษฐานกันว่า อาณาจักรบาบิโลนเป็นผู้ริเริ่มปฎิทินเป็นแห่งแรก และหลังจากนั้นก็ได้แพร่่หลายไปยังอาณาจักรอื่น)
โดยหลักฐานต่างๆ ที่สามารถค้นพบในปัจจุบัน มีการเชื่อมโยงว่า ทั้งสองอาณาจักร มีการใช้ ปฎิทิน ในการกำหนด วัน เดือน ปี เป็นของตัวเอง แต่รู้รึเปล่าครับว่าหนึ่งในเหตุผลการสร้างปฎิทินนั้นคืออะไร
นั่นก็คือ เพื่อใช้ในการ "ทวงหนี้"
ใช่ครับ อ่านไม่ผิดครับ ทวงหนี้ เพราะว่าเป็นหนี้และต้องใช้ แต่จะใช้เมื่อไหร่ แล้วจะนับยังไงหละ?? คนยุคนั้นก็เลยสร้างปฎิทินขึ้นมา อย่างจริงจัง สลักลงหินกันไปเลย โดยการนับวันที่ใช้กันก็คือ การนับวันที่แบบ "จันทรคติ" นั่นคือการมองพระจันทร์ เป็นหลัก
ในหนึ่งเดือน เราจะเห็นว่า พระจันทร์ เต็มดวง และค่อยๆหายไปทีละเสี้ยว ทีละเสี้ยว จนวนมาครบ เต็มดวงอีกครั้งในเดือนนึงพอดี ชาวอียิปต์ ก็เลยนับว่า กี่วันที่พระจันทร์นั้นจะเต็มดวง ซึ่งมันก็ออกมาที่ 29.5 วัน จึงปัดเป็นเลขกลม ๆ 30 วัน
พอได้เดือนมาเสร็จ ก็เป็นการสังเกต ฤดูกาลต่อ ว่าพอครบกี่เดือนๆ จะถึงฤดูกาลไหน
แรกเริ่ม พวกเขาให้มีเดือนนึงมีทั้งหมด 30 วัน ปีหนึ่งก็จะมี 360 วัน แต่พอพวกเขานั่งนับกันจริงๆ ที่ครบ 1 ปี ปรากฎว่ามันไม่ตรงกันครับ ฤดูกาลมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ตรงตามที่คำนวณไว้ ก็เลยมีการปรับให้เพิ่ม มาอีก 5 วัน โดยไม่เพิ่มกันมาเปล่าๆ
จะเพิ่มวันมันก็ต้องมีเหตุผลสิ จริงไหม
พวกเขาให้เหตุผลว่า ในตลอดทั้งปีนั้น ชาวอียิปต์ นั้นได้ช่วยเหลือ ฟาโรห์ ของเขามาตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นการเกษตร การทหาร การปกครอง ฯลฯ เป็นอย่างดี ดังนั้นในช่วง 5 วันที่เพิ่มมานั้น ก็จะให้เป็นวันหยุด ที่ไม่ต้องทำงานกัน เป็นการพักผ่อน เพื่อที่จะรอเข้า ปีใหม่นั่นเอง (และนี่ก็คงจะเป็นธรรมเนียมสืบมาตั้งแต่นั้น ว่าทำไมสิ้นปีถึงต้องมีหยุดยาว)
และในปี อธิกสุรธิน หรือปีทีเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน พวกเขาก็รับรู้นะครับ ว่าทุกๆ 4 ปีจะมีวันเพิ่มมา 1วัน แต่ไม่ได้เอามาใส่เดือนใดเดือนหนึ่งเป็นพิเศษ
ตัวอย่างปฏิทินอียิปต์​
คราวนี้จะมาพูดถึงอีก อาณาจักรหนึ่ง ซึ่ง รุ่งเรืองไม่แพ้กัน แต่ไม่ใช่ด้านอารยธรรม แต่เป็นการทำสงคราม!! นั่นก็คือโรมันนั่นเอง
โรมันเองก็มีปฎิทินใช้ครับ โดยก็ใช้หลักเดียวกันกับบาบิโลนนั่นแหละ แต่ตอนแรก โรมันนับเดือนแค่ 10 เดือนเท่านั้น ใช้ไปใช้มา อ่าว ไม่ตรงนี่หว่าาา เปลี่ยนสิเปลี่ยน เพิ่มเดือนไปอีกสองเดือน โดยจะให้แต่ละเดือน มี 30 กับ 31 วัน สลับกันไปเรื่อยๆจนสิ้นปี และให้เดือนกุมภาที่วันเหลือน้อยกว่าเดือนอื่นๆ
ในสมัยนั้น เดือนแรกของปีคือ เดือนมีนาคมนะครับ เพราะที่นี่เขานับถือเทพเจ้า MAR เทพแห่งส่งคราม(เห็นไหมหละ ตัวทำสงครามจริงๆ) เลยให้เป็นเดือนแรกของปี
และในยุคเริ่มของจักรวรรดิโรมัน ผู้ที่สร้างชื่อเสียงกระฉ่อนให้กับ โรมันก็คือ จูเลียส ซีซ่าร์
เขาคนนี้เนี่ยแหละครับ เป็นผู้ที่เราต้องให้ เครดิตในเรื่องนี้เลย
เพราะว่า จูเลียส ซีซ่าร์ ได้ยกกองทัพของตนนั้น พิชิตทั้ง บาบิโลน และก็ อียิปต์ ซึ่งนั่นก็คงจะทำให้ ตอนที่เขาไปอยู่ที่อียิปต์ ได้รับรู้ว่าอียิปต์นั้นมีวิธีนับ ปี ที่แตกต่างจากของตัวเอง และเห็นว่ามันมีหลักการดี เลยจะนำไปใช้บ้าง
แต่ด้วยความที่ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ของซีซ่าร์ นี่แหละครับ จะเอาไปใช้ธรรมดาๆ ได้ยังไง ก็ ใส่ชื่อตัวเองลงไปในเดือน ของปฎิทินซะเลยสิ โดยเปลี่ยนชื่อเดือน (Quintilis) เป็น "จูไล" (July) (เดือนกรกฎาคมในปัจจุบัน)
และประกาศใช้อย่างเป็นทางการ โดยให้ชื่อปฎิทินนี้ว่า "ปฏิทินจูเลียน" (Julian calendar)
และต่อมาเมื่อ ซีซ่าร์ ได้ เสียชีวิตลงนั้น ลูกของเขาก็ได้ ครองบัลลังต่อ ลูกของเขามีนามว่า ออกัสตุส ซีซาร์ (Augustus Caesar)
ลองเดาสิครับว่าลูกของเขาจะทำอะไรกับปฎิทินรึเปล่า???
ใช่ครับ ลูกของเขานั้น ต้องการที่จะมีชื่ออยู่ในปฎิทินแบบเดียวกับพ่อของเขา จึงเปลี่ยนชื่อเดือนใหม่อีกเดือน จาก "เซกติลิส" (Sextilis) เป็น "ออกัส" (August) เท่านั้นยังไม่พอครับ เห็นว่าเดือนของพ่อนั้นมี 31 วันเหมือนกัน ก็อยากจะมีบ้าง เพิ่มวันเข้าไปอีกวันนึง คราวนี้วันในปฎิทิน ก็เลยกลายมาเป็นแบบด้านล่างนั้นเอง
ปฎิทินจูเลียน เป็นที่นิยมมากครับ และก็ยอมรับกันในระดับโลกเลยทีเดียว ประเทศ ต่างๆ อาณาจักร แคว้นต่างๆ ล้วนแล้วแต่นำไปใช้ จนในที่สุดจึงกลายเป็นปฎิทินที่ทั้งโลกใช้กัน
แต่ ในสมัยของ พระสันตปาปาเกรกอรีที่ 13 (Gregory XIII) เมื่อประมาณปี 1582 ได้มีการชำระปฎิทินขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
เหตุผลมาจากว่า จริงๆแล้ว ปีหนึ่ง จะไม่ได้มี 365 วันเป๊ะๆ ครับ มันจะมี เป็น 365.25 ครับ ดังนั้นพอหลายๆปีเข้าวันเลยมีการคลาดเคลื่อน พระสันตปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงได้ทำการชำระปฎิทินขึ้นเพื่อให้วันนั้นตรงตามจริงนั่นเอง
หลังจากนั้นก็กลายมาเป็นปฎิทินที่เราๆท่านๆใช้กันอยู่นี่แหละครับ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆอีก
การใช้ปฎิทินในไทย
การใช้ปฎิทินในไทยนั้น ไม่ได้มีมานานเท่าไหร่นักครับ
เพิ่งเริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพียงเท่านั้น
ลองสังเกตนะครับว่า ในประวัติศาสตร์ไทย สมัยอยุธยานั้น เวลาบอกวัน จะเป็น พุทธศักราช 2432 ปีมะแม 15 ค่ำ เดือน 11 และวันสำคัญทาง​ศาสนาเองก็จะบอกด้วย​ แบบเดียวกัน​ นั่นคือการนับวันแบบจันทรคตินั่นเอง
โดยการนับวันของไทยเราในยุค​ อยุธยานั้นได้อิทธิพลจากอินเดีย ซึ่งมาพร้อมๆกับ พระพุทธศาสนานี่แหละครับ
ตั้งแต่นั้นมาไทยเราจึงมีปฎิทินใช้ และเริ่มกำหนดวันสำคัญลงในปฎิทิน โดยอิงจาก จันทรคติเดิมนี่แหละครับ
แรกเริ่มไทยเรา กำหนดให้วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ และก็พึ่งจะมาถูกเปลี่ยนเป็น วันที่ 1 มกรา ตามแบบสากลโลก ในยุคจอมพล ปอพิบูลสงครามนั่นเอง
จบไปแล้วนะครับ กับเรื่องปฎิทิน
บุคคลที่โลกควรให้เครดิต เรื่องนี้ ควรจะเป็น จูเลียส ซีซ่าร์ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นผู้คิดค้น แต่ก็เป็นผู้ที่ทำให้มันแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับในระดับโลกนั่นเอง
ตอนต่อไปจะเป็นเรื่องอะไรนั้น มารอลุ้นกันนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา