Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
WW Weapons
•
ติดตาม
29 ก.ค. 2019 เวลา 03:27 • ประวัติศาสตร์
Nebelwerfer เครื่องสร้างหมอกมฤตยูแห่งความตาย ตอนที่4 เปิดตำนานเครื่องยิงจรวดของเยอรมัน
Nebelwerfer 41
Nebelwerfer 41 เป็นเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้อง ครั้งแรกของเยอรมันในการนำปืนใหญ่จรวดมาใช้ในสงครามโลก
เครื่องยิงประกอบไปด้วยท่อยิงจรวดจำนวนหกท่อยิง ขาตั้งและล้อที่เอามาจากปืนต่อสู้รถถัง PaK 36 มาดัดแปลงให้เข้ากับเครื่องยิง
ท่อยิงจรวดมีความกว้างปากลำกล้องถึง 15ซม. ถ้าไม่นับเรื่องความแม่นยำ เครื่องยิงจรวดนี้ก็เปรียบได้กับการนำปืนใหญ่หกกระบอกมามัดรวมกัน โดยแนวยิงจะมี 12เครื่องยิงหรือมากกว่า เมื่อยิงพร้อมกันหลายเครื่องก็ทำให้พื้นที่ที่มันเล็งไปกลายเป็นเถ้าถ่าน
ท้ายลำกล้อง
หัวรบของจรวดมีให้เลือกใช้ทั้งระเบิดแรงสูง ควันกำบัง และแก๊สพิษ โดยมีให้เลือกทั้งแก๊สฟอสจีนและมัสตาร์ด แต่ก็ถูกเก็บไว้ไม่ได้นำมาใช้ในสงคราม
มุมเงยในการยิงสามารถปรับได้ตั้งแต่ 5°-45° ปรับซ้ายขวาได้ 27° สามารถยิงได้ไกลสุดเกือบ 7กม. ในระยะกว่า 8000หลา จรวดจะตกในพื้นที่เทียบเท่าสนามฟุตบอล
เครื่องยิงเปล่าๆหนักเพียงครึ่งตัน จึงไม่ยากนักที่จะเปลี่ยนทิศทางการยิง ใช้พลประจำเครื่องยิงหกคน
การออกแบบที่แปลกอย่างหนึ่งของจรวดตัวนี้คือ ระบบขับเคลื่อนจะอยู่ตรงกลางตัวจรวด แก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ของดินส่งจะออกตามรูด้านข้าง โดยปรับมุมไว้ 14° เพื่อให้จรวดหมุนควงสว่านกลางอากาศ ทำให้มีความแม่นยำค่อนข้างมาก
ส่วนของหัวรบจะอยู่ท้ายจรวด เหตุผลคือเวลาจรวดยิงไปปักพื้นแล้วท้ายจรวดจะอยู่เหนือพื้น หัวรบจึงระเบิดเหนือพื้นดิน เพิ่มอำนาจการระเบิดและยังสร้างสะเก็ดระเบิดอีกด้วย
โครงสร้างของจรวดหัวระเบิด มีข้อความระบุรายละเอียดไว้ที่หัวรบ
จรวดอาวุธเคมี จะมีสีคาดที่หัวจรวด
จากเท่าที่ผมเล่ามาจะเห็นได้ว่ามันมีอานุภาพร้ายแรงมากทีเดียว แต่นั่นยังไม่เพียงพอสำหรับกองทัพเยอรมัน พวกเขายังต้องการอะไรที่รุนแรงกว่านี้
ขอขอบคุณภาพจาก
https://www.flickr.com/photos/theadventurouseye/43462228085
http://svsm.org/gallery/Nebelwerfer-42/IMGP5157
2 บันทึก
17
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Nebelwerfer เครื่องสร้างหมอกมฤตยูแห่งความตาย
2
17
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย