มันเป็นเรื่องที่เหมือนจะไกลตัว.. แต่ผมคิดว่าสามารถเอามาปรับใช้กับชีวิตเราได้ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 เครื่องบินลำเลียงของอเมริกา มีอัตราตกที่สูงมาก เพราะต้องบินผ่านน่านฟ้า และน่านน้ำของยุโรป ต้องเผชิญหน้ากับ เครื่องบินขับไล่ และ ปตอ ของฝ่าย เยอรมันและชาติพันธมิตรอักษะ ยิ่งเป็นเครื่องบินชนิดขนส่งและลำเลียงแทบจะไม่สามารถปกป้องตัวเองได้เลย ทำได้เพียงแต่บินผ่ากระสุนต่อต้านอากาศยานและสวดมนต์ถึงพระเจ้าของคุณ
.
นักวิทยาศาสตร์การสงครามและวิศวกรการบินของอเมริกาจึงคิดหาวิธีที่ปกป้อง เครื่องบิน นักบิน และลูกเรือของพวกเขา
.
พวกเขาจดบันทึก สถิติทุกอย่าง ทั้งอัตราการตก รุ่นที่ตก รอยกระสุน จำนวนกระสุน วัดแม้แต่ระยะห่างกระสุนที่ปีก ที่หาง สมมุติว่าส่งเครื่องบิน100ออกไปตอนเช้า เครื่องบินที่กลับมาตอนเย็น เหลือ40 ลำ
.
ถ้าคุณเป็นวิศวกร คุณจะทำอย่างไร.... Project นี้หมายถึงความตายหรือการรอดชีวิตของเพื่อนๆคุณ..
.
.
(ลองคิดก่อนห้ามแอบอ่าน)
.
.
.
.
.
วิศวกรส่วนใหญ่เสนอความเห็นเพิ่มเกราะกันกระสุน บริเวณที่มีอัตราการถูกยิงสูงที่สุด
.
.
อัตราการตกไม่ได้ลดลงเลย อัตราการตกยังเท่าเดิม แถมเครื่องบินที่หนักขึ้น ยังทำตัวเองให้เป็นเป้านิ่งของ ปตอ เครื่องบินบินช้าลง...
.
นักคณิตศาสตร์คนนึง ชื่ออะไรไม่รู้ผมจำไม่ได้ เสนอว่า... ให้เสริมเกาะในบริเวณ "ที่ไม่ถูกยิง"
ปกติ วิศวกร มัวแต่ไปเสริมเกาะที่ปีก ที่หาง ที่ลำตัว ที่ถูกยิง แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น การที่เครื่องบินถูกยิง แล้วยังกลับมาได้ นั่นหมายความว่าส่วนนั้นไม่สำคัญพอ เราจะต้องเสริมเกราะที่ เครื่องยนต์ ห้องนักบิน ถังน้ำมัน เพราะ ส่วนนี้ถ้าถูกยิง เครื่องบินจะ ไม่สามารถกลับมาให้เราวัดสถิติอะไรได้เลย
.
ทุกคนสนใจแต่สิ่งที่เห็น (เครื่องบินที่กลับมาได้)แต่มักลืมสิ่งที่ไม่เห็น (เครื่องบินที่กลับมาไม่ได้)
.
อัตราการตกของเครื่องบิน ลดลงอย่างเห็นได้ชัด จาก60% เหลือ 40% และเหลือ 20% ตามลำดับ วิศวกรดีใจกันมาก ต้องขอบคุณนักคณิตศาสตร์คนนั้น
.
นี้คือสิ่งที่เรียกว่า " อคติ ของ สถิติ "