Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The New Tomorrow
•
ติดตาม
31 ก.ค. 2019 เวลา 06:17 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เคยสงสัยเรื่องเวลามั้ย? ตอน2 (จบ)
1
ภาพจาก https://es.videoblocks.com/video/time-warp-time-and-space-general-relativity-milky-way-galaxy-rfapwypoxj0ibko0s
ก่อนจะต่อจากครั้งที่แล้วเพื่อไม่ให้เป็นการเข้าใจผิด หลายคนมักเข้าใจว่าเวลาบนโลกมีไม่เท่ากันอยู่แล้ว เพราะเวลาแต่ละประเทศที่เราเดินทางไปก็ไม่เท่ากันนี่ เช่นเราเดินทางไปอเมริกาวันจันทร์พอไปถึงที่นั่นกลับเป็นวันจันทร์อีกแล้ว แสดงว่ามันย้อนเวลาได้รึเปล่า
ซึ่งจริงๆแล้วไม่เกี่ยวกันเลยค่ะ เวลาก็ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ แค่มนุษย์ตั้งให้เข็มนาฬิกามันตรงกับดวงอาทิตย์ที่หันมาตรงประเทศเขาเอง จริงๆเเล้วเวลาบนโลกเป็นตำแหน่งที่เรามองเห็นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่ใช้บอกเวลากลางวันกลางคืน เวลาบนโลกคือสิ่งสมมติที่ถ้าหากเราระเบิดโลกทิ้งเวลาที่ก็ไม่เหลืออยู่แล้ว
แต่เวลาที่เรากล่าวถึงคือเวลาที่ธรรมชาติตั้งขึ้นทั่วเอกภพและจักรวาลที่ดำเนินเรื่อยไปเป็นอนันต์
นักฟิสิกส์หลังยุคนิวตัน เชื่อว่าเวลามีอยู่จริง เหตุผลคือ เราเคยเห็นเด็กเกิดจนกระทั่งโตไปจนแก่ แล้วเจ็บสุดท้ายก็ตายไป เราพบว่าแต่ละช่วงเวลาของชีวิตมันไม่เคยสลับกันเลย เราไม่เคยเห็นคนแก่ และมาเด็ก แล้วเจ็บ
หรือแก้วเราไม่เคยเห็นมันแตกก่อนจะประกอบเข้าด้วยกัน เราจะเห็นมันเต็มๆก่อนเสมอแล้วค่อยแตกไป นั่นแปลว่าทุกอย่างล้วนมีลำดับของมันอยู่ ราวกับว่ามีอะไรบางอย่างให้ควบคุมมันไปทิศทางเดียว ซึ่งมันเกินกฎเกณฑ์ที่จะกล่าวว่าเวลานั้น ไม่มีอยู่จริง
ภาพจาก https://sciencevibe.com/tag/arrow-of-time/
นักฟิสิกส์ที่เชื่อเรื่องเวลาตั้งชื่อให้มันว่า Arrow of Time หรือจะแปลว่า ลูกศรแห่งกาลเวลาคือเวลาต้องเดินไปตามทิศของลูกศรนั้นเรื่อยๆ
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เพื่อที่จะกล่าวต่อไปว่ายังมีอีกทฤษฎีหนึ่งที่ชื่อว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) ของอัจฉริยะของโลกอย่างอัลเบิร์ต ไอสไตน์ ที่ปฏิวัติแนวคิดของนิวตันแบบสั่นสะเทือนวงการวิทยาศาสตร์กันเลยทีเดียว ทฤษฎีนี้บ่งบอกว่ากาลเวลาที่สมบูรณ์ในจักรวาลนั้นของนิวตันนั้น ผิด!
เพราะเวลาของผู้สังเกตการแต่ละคนไม่เท่ากัน หรือพูดง่ายๆคือ ทฤษฎีของไอสไตน์มีผลสองอย่าง อย่างแรกคือทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ นั่นคือ ถ้าเราเคลื่อนที่เร็วมากๆ คนอื่นจะเห็นเวลาเราช้าลงมากๆ หรืออีกตัวอย่าง หากเรามีฝาแฝดขึ้นบนจรวดไปบนดาวสักดวง ด้วยความเร็วมากๆ พอกลับมาจะพบกว่าเมื่อผ่านไป 10 ปีแฝดที่อยู่บนโลกกลับแก่ไปแล้วในขณะที่แฝดอีกคนที่กลับมายังรู้สึกเหมือนพึ่งผ่านไปไม่กี่วัน เพราะเวลาเดินทางไม่เท่ากันนั่นเอง
ภาพจาก https://pixabay.com/th/photos/albert-einstein-ฟิสิกส์-ทฤษฎีสัมพัทธ-219675/
ซึ่งแนวคิดของทฤษฎีนี้ทำให้หลายคนพยายามหักล้างทฤษฎีของไอสไตน์ เพราะคิดว่ามันเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ จนกระทั่งไอสไตน์พลาดรางวัลโนเบลไป จากทฤษฎีอันยิ่งใหญ่นี้(เหตุเพราะไม่มีใครเข้าใจซะงั้น)
แล้วถามว่าทำไมทุกวันนี้เราถึงเชื่อทฤษฎีของไอสไตน์
ก็เพราะว่ามีการทดลองเอานาฬิกาอะตอมที่ชื่อว่าเป็นนาฬิกาที่แม่นยำที่สุดในโลก เอาขึ้นไปบนเครื่องบินพานิชย์แล้วบินรอบโลกด้วยความเร็วสูง พอเอากลับลงมาปรากฎว่านาฬิกาอะตอมที่ผ่านไปล้านปีกว่ามันจะคลาดเคลื่อนไปสักวินาทีนึงกลับคลาดเคลื่อนไปเยอะมาก
1 ใน พันล้านวินาทีที่คลาดเคลื่อนไป ถือว่าเวลานั้นเดินทางไม่เท่ากันจริง!
และอย่างที่สองทฤษฎีสัมพัธภาพทั่วไปเองก็ทำให้เรารู้ว่าเวลาแต่ละดวงไม่เท่ากันค่ะ อย่างดาวที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมากๆ จะทำให้เข็มนาฬิกาช้าลง ไม่ใช่แค่นั้น ปฏิกิริยาเคมีต่างๆสิ่งมีชีวิต ทุกอย่างจะช้าลงไปด้วย แต่คนที่อยู่บนดาวนั้นกลับรู้สึกว่ามันปกติ!
และหากเราอยู่อีกดาวที่มีแรงโน้มถ่วงต่ำๆ และมองไปที่คนบนดาวนั้นจะพบว่าคนบนดาวนั้นแก่ช้ามาก ทำอะไรก็เชื่องช้าไปหมด ราวกลับว่าเป็นภาพสโลว์โมชั่นดีๆนี่เอง
แล้วยังงี้ความเร็วก็มีส่วนสัมพันธ์กับเวลาอย่างนั้นรึ?
การฉายสองมิติของแนวเทียบสามมิติของความโค้งปริภูมิ-เวลาที่อธิบายในสัมพัทธภาพทั่วไป ภาพจากhttp://blogs.discovermagazine.com/crux/2019/05/06/quantum-mechanics-spacetime-einstein-gravity/#.XUEpO6Q5qEc
คำตอบคือ ในทฤษฎีสัมพัธภาพ Space Time หรือกาลอวกาศ ที่เวลามีความเกาะเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ ซึ่งเวลาก็คือมิติหนึ่งนั่นเอง ยกตัวอย่างง่ายๆ A กับ B นั่งห่างกัน อีกหนึ่งชั่วโมงต่อมา Aอาจมานั่งทับตำแหน่งที่ B นั่ง แต่ตอนนั้นBก็ไม่ได้อยู่ตรงนั้นแล้ว
หรือพูดง่ายๆคือเรากับคนรักนั่งคนละที่กัน สิ่งที่คั่นเรากับคนรักคือ ‘Space’ (ที่ว่าง) แต่พอเราเดินออกไปแล้วคนรักมานั่งแทนที่เราได้ สิ่งที่ขั้นระหว่างนั้นก็คือ ‘Time’ (เวลา) นั่นเอง มันเป็น Space อีกชนิดหนึ่งที่คั้นระหว่างเรา หรือขั้นสองเหตุการณ์ ณ ตำแหน่งเดียวกัน
ดังนั้นหากจะมองความเร็วและเวลาอาจจะต้องใช้สมการทางคณิตศาสตร์แต่หากมองเรื่อง Space ก็สามารถอธิบายให้เกิดภาพแบบนี้ได้
หลายคนอาจสงสัยว่า ถ้าเวลาคือ space ชนิดหนึ่ง ทำไมไม่เรียกเวลาว่า Space ไปเลยล่ะ?
คำตอบคือ ในที่ว่างหรือ Space เราสามารถมองมันไปซ้ายขวา มองไปทั้งข้างหน้าและย้อนเดินกลับมาข้างหลังได้ แต่กับเวลา เราทำแบบนั้นไม่ได้ เวลามีแต่เดินหน้าเท่านั้น ดังนั้นเราจึงย้อนเวลากลับมาไม่ได้นั่นเอง…
ทุกวันนี้นักฟิสิกส์เองก็ยังตอบคำถามไม่ได้ว่าทำไมเวลาถึงเป็นมิติที่แตกต่างจากมิติอื่นๆ……
จะว่าไปเวลาก็มีความน่ากลัวไม่น้อย เราต้องแข่งกับเวลาแค่ไหนในการใช้ชีวิตอยู่ในแต่ละวันเพื่อจะทำให้แต่ละอย่างเสร็จๆไป หรือแม้แต่อยากอยู่กับคนรักไปจนแก่ เวลาคือตัวดำเนินความเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น แต่ต่อให้เราจะใช้ชีวิตแข่งกับเวลาเร็วแค่ไหน แม้แต่ที่สุดของความเร็วเเสงก็ยังแพ้ความช้าของกาลเวลาอยู่ดี…
ขอบคุณข้อมูล :
พี่อาจวรงค์ จันทมาศ
31/07/62
ท่านเด็ก
ภาพจากhttp://www.astronomytrek.com/5-bizarre-paradoxes-of-time-travel-explained/
6 บันทึก
38
29
12
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บทความสนุกๆพร้อมสาระ
6
38
29
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย