31 ก.ค. 2019 เวลา 15:23
วิกฤตมหาลัยไทย !!!ใกล้เจ๊ง!!! ep2
แนวทางแก้ไขและข้อเสียของวิธีต่างๆ
1.ใช้การตลาดนำหน้าการศึกษา
นำดารา นักร้อง คนมีชื่อเสียงที่เป็นที่รู้จักวงกว้างเข้ามาสู่มหาลัยโดยให้ทุนพวกเขาเหล่านั้นมาเรียนที่มหาลัย เมื่อพวกเขาเข้ามาเรียนก็จะเปรียบเสมือนเป็น presenter ให้มหาลัยนั้นๆ
ให้ส่วนลดแก่นักศึกษาที่ชักชวนเพื่อนเข้ามาเรียน
แจกของแถมเมื่อเข้ามาเรียน เช่น แจกไอแพด โน้ตบุค
 
วิธีการนี้อาจได้ผลระยะสั้นๆ จำนวนนักศึกษาอาจเพิ่มขึ้นเพียงบางปีการศึกษา เป็นการแก้ปัญหาเพียงเฉพาะหน้าที่ไม่ยั่งยืน ในระยะยาวภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของมหาลัยย่อมดูไม่ดี
2. หานักศึกษาต่างชาติ(โดยเฉพาะจีน)ผ่านเอเยนต์
เอเยนต์จะได้ค่าเปอร์เซนจากค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน พูดง่ายๆคือได้ค่าหัวคิวนั้นเอง วิธีการนี้จะได้จำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากค่าเทอมมหาลัยไทยแม้จะเป็นเอกชนก็ถือว่าค่อนข้างถูกหากเทียบกับบางประเทศ ซึ่งน่าจะช่วยเพิ่มจำนวนนีกศึกษาได้มากในระดับหนึ่ง
 
ความเสี่ยงที่พบจากวิธีนี้คือ หากรัฐบาลในประเทศนั้นๆ(โดยเฉพาะจีน) เปลี่ยนแปลงนโยบายในประเทศโดยมีการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียนภายในประเทศ หรือมหาลัยเอกชนในประเทศนั้นลดค่าเล่าเรียนลงมาใกล้เคียงกับของไทย แน่นอนว่านักศึกษาต่างชาติเหล่านั้นต้องเรียนในประเทศตนแน่ๆ
 
ปัญหาที่อาจเกิดอีกจุดคือคุณภาพนักศึกษา นักศึกษาเข้ามาเรียนในมหาลัยไทยตามเอเยนต์ อาจจะมาจากพวกที่ไม่สามารถเข้าเรียนในมหาลัยบ้านเกิดตามระบบได้ ซึ่งก็แน่นอนว่าคุณภาพในตัวนักศึกษาย่อมด้อยอยู่แล้ว
 
หรือนักศึกษาบางส่วนที่ไม่ได้มาเรียนหนังสือจริง ๆ แต่ใช้วีซ่านักเรียนเข้ามาหวังประกอบอาชีพหรือลักลอบอยู่ในประเทศไทยก็อาจเป็นไปได้
1
3. เปิดมหาวิทยาลัยออนไลน์ หลักสูตรออนไลน์
ใช้ e-learning มากขึ้น ข้อดีของวิธีการนี้คือตรงกับ lifestyle ของผู้คนมากขึ้น
 
แต่นักเรียนที่เข้ามาอาจจะไม่ได้ผ่านการคัดเลือก ทำให้อาจมีผู้จบการศึกษาน้อยกว่าที่ควร
การสอนที่ต้องอาศัยทักษะมากๆยังไม่สามารถทำได้เพราะต้องอาศัยการสอนแบบตัว-ตัวเพื่อแนะนำเป็นรายบุคคล
4. มหาวิทยาลัยของบริษัท (Corporate University)
เป็นรูปแบบบริษัทเอกชนมาจัดตั้งมหาวิทยาลัยของตนเอง หรือซื้อมหาวิทยาลัยเอกชนไปจัดการต่อ เพื่อผลิตบุคลากรเพื่อป้อนเข้าสู่บริษัทของตัวเอง แน่นอนว่าหลักสูตรในการเรียนการสอนย่อมถูกปรับไปตามรูปแบบที่บริษัทต้องการ นักศึกษาที่จบออกมาก็จะมีการันตีได้ระดับหนึ่งในประเด็นเรื่องมีงานทำ
 
ความเสี่ยงที่เจอคือ บริษัที่เป็นเจ้าของมหาลัยต้องเป็นบริษัทที่มีความมั่นคงและเติบโตในระยะยาว เพราะความรุ่งเรืองทางธุรกิจของบริษัทเจ้าของมหาลัยมีผลโดยตรงกับมหาลัยอย่างแน่นอน
5. สหกิจศึกษาและโรงเรียนปฏิบัติ (practice school)
มหาวิทยาลัยมีการผูกมิตรและเป็นพันธมิตรกับบริษัท การเรียนการสอนและการวิจัยมีความสอดคล้องกับธุรกิจของบริษัท ปัจจัยความสำเร็จสำคัญของรูปแบบนี้คือมีพันธมิตรทางธุรกิจที่ดี มีความร่วมมือกันแน่นแฟ้น
ข้อดีอีกอย่างคือมีโอกาสที่ภาคทฤษฎีจะได้มาเจอกับภาคปฏิบัติเพราะบริษัทร่วมมักจะส่งเจ้าหน้าที่มาดูแลภาคปฎิบัติทำให้อาจารย์ได้มีโอกาสลงมาร่วมวิจัยกับนักศึกษามากขึ้น
 
ปัจจัยเสี่ยงคือ หากมหาลัยพึ่งบริษัทมากไปย่อมมีความเสี่ยงสูงหากบริษัทนั้นมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเช่น งดให้ทุน, ยกเลิกสัญญา, หรือจัดตั้งมหาลัยเองเสียเลย จะมีผลทำให้ภาวะการเงินหรือจำนวนนักศึกษามีปัญหาแน่นอน
#โพสหน้า จะมาต่อวิถีทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้อีก
สี่วิธี#ความรู้ท่วมหัว จนเอาตัวรอด#ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ❤❤
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ
โฆษณา