31 ก.ค. 2019 เวลา 15:23 • สุขภาพ
2️⃣7️⃣ ก่อนที่จะเอ่ยถึงตำรับยาตัวนี้ 🤔
☝🏻ผมต้องขอถามเพื่อนๆ ก่อนว่า❓
☝🏻เคยได้ยินคำว่า "กษัย" หรือไม่❓
☝🏻ผมเชื่อว่าบางคนต้องเคยผ่านหูมาบ้าง
☝🏻อย่างเช่น "นวดกษัย" เป็นตัน
✅ แต่ถ้าในทางทฤษฎีการแพทย์แผนไทยนั้น #กษัย(กไษย, กไสย) บังเกิดขึ้นแก่มนุษย์ทำให้มีอาการแห่งความเสื่อมโทรมซูบผอม สุขภาพของร่างกายสมบูรณ์ ทั้งโรคหรือไข้อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำลายสุขภาพของร่างกายให้เสื่อมโทรมไปทีละน้อย เป็นเวลาต่อมานั้นได้เข้าได้รับการรักษาไม่ถูกต้องกับโรคหรือไข้นั้นๆ โดยตรง เนื่องจากไม่มีอาการอะไรชัดเจน เพียงแต่อาการผอมแห้งแรงน้อย โลหิตจาง ผิวหนังซีดเหลือง ปวดเมื่อยตามร่างกายและกล้ามเนื้อ บางทีรู้สึกแน่นท้อง หนักตัว กินไม่ได้มาก นอนไม่ค่อยหลับ ปัสสาวะกระปริกระปรอย มีชาปลายมือและปลายเท้าบ้าง มีเหงื่อออกตอนกลางคืน ยอกเสียวตามหัวอกและชายโครง มีตกกระตามร่างกาย กล้ามเนื้อชักหดลีบ มีอาการสะท้านร้อนสะท้านหนาวเป็นคราวๆ และท้องผูก อะไรแบบนี้เป็นต้น ⤵️
✅ ลักษณะกษัยโรค มี 26 จำพวก แบ่งเป็น
1. กษัยบังเกิดแต่กองสมุฎฐานธาตุ มี 8 อย่าง คือ กษัยกล่อน 5, กษัยน้ำ 1, กษัยลม 1, กษัยไฟ 1 ซึ่ง 8 อย่างนี้แจ้งอยู่ในคัมภีร์วุฑฒิกะโรค
2.กษัยบังเกิดเป็นอุปปาติกะโรค มี 18 อย่าง คือ กษัยล้น, กษัยราก, กษัยเหล็ก, กษัยปู, กษัยจุก, กษัยปลาไหล, กษัยปลาหมอ, กษัยปลาดุก, กษัยปลวก, กษัยลิ้นกระบือ, กษัยเต่า, กษัยดาน, กษัยท้น, กษัยเสียด, กษัยไฟ, กษัยน้ำ, กษัยเชือก, กษัยลม, รวมเป็น 18 จำพวกด้วยกัน
🔴 สรุปแล้ว ตามความหมายของโรคกษัยจากการสัมภาษณ์หมอพื้นบ้านภาคกลาง กษัย หมายถึง ธาตุเสื่อม ส่วนหมอพื้นบ้านภาคเหนือ กษัย หมายถึง โรคเสื่อมหรืออวัยวะเสื่อม มีมากกว่าสมัยก่อน เพราะปัจจุบันคนเราทุกวันนี้ทำงานจำเจ นั่งมาก ยืนมาก เดินมาก กินมาก ทำให้เป็นกษัยได้ง่ายกว่าสมัยก่อน ทางภาคเหนือเรียกโรคกษัยว่า “มะโหกโรคกษัย” จะแปรปรวนไปได้ 3 ทางคือ 1.ริดสีดวงทวาร 2.ริดสีดวงลำไส้ 3.โรคไตกำเริบ เป็นต้น
🔴 วิธีการป้องกันเบื้องต้นนั้นสามารถทำได้ครับ เช่น
1. เมื่อมีอาการปวดเมื่อยตามตัว รวมทั้งมีอาการท้องผูก ควรทานผักและผลไม้เพื่อช่วยระบาย ตามที่จริงแล้วผักและผลไม้ควรรับประทานให้ได้ทุกวัน หรือวันเว้นวันก็ยังดี ไม่จำเป็นต้องมากก็ได้ ถ้ามากก็ยิ่งดี ผักควรแช่น้ำด่างทับทิมหรือน้ำใส่เกลือทิ้งไว้ 30 นาทีเพื่อขจัดยาฆ่าแมลง ผักและผลไม้มีสารต้านอนุมูลอิสระมาก ช่วยให้แก่ช้า ก็หมายถึงอายุยืนขึ้นนั่นเอง ทานนมเปรี้ยวก็ช่วยเรื่องระบบลำไส้ได้ดีครับ
2. คนเป็นโรคกษัย มักมีอาการท้องผูกเรื้อรังร่วมด้วย ทำให้เกิดความร้อนสะสมภายในร่างกายมาก มีอาการของโรคท้องผูกร่วมด้วย มักหงุดหงิด ใบหน้าไม่สดใส ระบบระบายความร้อนในร่างกายไม่ดี ทำให้ร่างกายเสียสมดุลย์ จึงมีเหงื่อออกในตอนกลางคืนมากกว่าปกติ
3. พักผ่อนให้เพียงพอ
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
🔴 แต่ถ้าอาการหนักหนาจริงๆ ก็สามารถหา "ตำรับยาสมุนไพรไทยโบราณ" มาทานได้เช่นกันครับ ดังที่จะกล่าวต่อจากนี้
🌿 ตำรับนี้ มีชื่อว่า "ยานารายณ์พังค่าย"
🌿 #ยานารายณ์พังค่าย เป็นตำรับยาที่
🌿ปรากฏอยู่ในยาแก้กษัย 2 กษัย คือ
➖กษัยกล่อนเถา (กษัยบังเกิดตามกองธาตุสมุฏฐาน คือ ธาตุเสีย)
➖กษัยดาน (กษัยบังเกิดเป็นอุปปาติกะโรค คือ เกิดขึ้นเอง)
🌿ตำรับนี้มีตัวยาประกอบด้วย
โกฐสอ, เทียนดำ, ผักชีล้อม, มะตูมอ่อน, มหาหิงคุ์, ลำพัน, รากตองแตก, สมอ, แก่นบุนนาค, เปล้าน้อย, ขิงแห้ง, พริกไทย, ลูกช้าพลู, เจตมูลเพลิง
ตำรับยานารายณ์พังค่าย
🥣 วิธีทำ 🥣
- นำทั้งหมดไปบดเป็นผง ละลายน้ำร้อนกิน
🌱 สรรพคุณ 🌱
- รสร้อน - สุขุม
- ขับลม, บำรุงธาตุ
- ระบายอ่อนๆกระจายกองลมที่เสียดเข้าตามเส้นน้อยใหญ่ให้วิ่งได้ดี
🔴 ซึ่งตำรับยานารายณ์พังค่าย ทั้งกษัยดานและกษัยกล่อนเถาจะใช้ตัวยาตัวเดียวกันทั้งหมด แต่น้ำหนักของตัวยาในตำรับจะไม่เท่ากันนะครับ
🔴 ส่วนที่ผมทำในรูป เป็นตำรับสำหรับแก้กษัยดานครับ 🔴
⭐️ เรียบเรียงโดย ⭐️
🍃 นายนิว & นายอู๋ 🍃

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา