17 พ.ย. 2019 เวลา 17:58 • ธุรกิจ
EEC กับการพัฒนา Logistics Infrastructure ประเทศไทย
ที่มา : https://www.eeco.or.th/pr/news/eec-hot-news-vol46
ทุกท่านคงทราบกันดีว่าปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายผลักดันเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก หรือ EEC ให้เป็น HUB ในการผลิตและกิจกรรมต่างๆ ทางด้านโลจิสติกส์ เพื่อกระตุ้นการลงทุนจากต่างชาติ และเพิ่มประสิทธิภาพการนำเข้า-ส่งออก รวมทั้งยังส่งผลให้ GDP ของประเทศเพิ่มขึ้น
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9620000053811
หลายๆคนคงตั้งคำถามถึงความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานในด้านโลจิสติกส์ หรือ Logistics Infrastructure ว่าพร้อมแค่ไหนที่จะสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมโลจิสติกส์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสามารถเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศได้
หากถามถึงความพร้อมในด้านการคมนาคมการขนส่งของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน จากภูมิภาคอื่นๆ มายังภาคตะวันออกนั้น ยังคงพึ่งการขนส่งทางถนนด้วยรถบรรทุกเป็นหลัก ซึ่งก็มีอยู่ 4 เส้นทางด้วยกัน คือ
1.ทางด่วนบูรพาวิถี
2.ทางหลวงหมายเลข34 บางนา-ตราด
3.ทางหลวงหมายเลข304 กรุงเทพฯ-มีนบุรี
4.ทางหลวงหมายเลข3 สุขุมวิทสายเก่า
https://auto.mthai.com/news/tips/79638.html
ส่วนการขนส่งทางรางที่มี Volume การขนครั้งละมากๆนั้นในปัจจุบัน รัฐบาลกำลังผลักดันปรับปรุงเส้นทางเดิมให้เป็นรางคู่ เพื่อเพิ่มจำนวนเที่ยวในการขนส่งต่อวันอยู่ ซึ่งการขนส่งทางรางนี้จะมุ่งจากกรุงเทพ (ท่าเรือคลองเตย) ผ่านมายัง Inland Depot Container : IDC ที่ลาดกระบัง ต่อไปยังท่าเรือแหลมฉบัง นั้นเป็นการเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือเพื่อให้สามารถ Transit สินค้าได้สะดวกและรวดเร็ว
https://today.line.me/th/pc/article/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%B5+%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AF+%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87-xlOz6P
ในด้านการขนส่งทางอากาศนั้นจะเน้นการโดยสาร Passenger เป็นหลักเพราะหากเป็นการขนส่งสินค้าภายในประเทศยังคงไม่คุ้มค่าเท่าใดนักกับระยะทางและต้นทุนที่เกิดขึ้น แต่ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้สัมปทานกับภาคเอกชนในการเชื่อมโยง 3 สนามบิน คือ
1.สนามบินดอนเมือง
2.สนามบินสุวรรณภูมิ
3.สนามบินอู่ตะเภา
ให้เกิดการเชื่อมโยงแบบ Multi Modal คือ การนำรถไฟความเร็วสูงเข้ามาเพื่อ Transfer สินค้าและผู้โดยสารให้สามารถเดินทางไป-กลับ ระหว่างสนามบินได้อย่างรวดเร็ว และเดินทางต่อไปยังสถานที่อื่นด้วยเครื่องบิน
http://www.realist.co.th/blog/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%94-3-%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99/
ในด้านการขนส่งปิโตรเลียม และเคมีขึ้นจากอ่าวไทยส่งไปยังโรงกลั่นนั้นก็ยังคงต้องใช้ท่อเป็นหลัก ส่วนการขนส่งผู้โดยสาร หรือสินค้าด้วยกระสวยผ่านทางท่อแบบ Space X นั้นผู้เขียนเห็นว่าประเทศไทยยังคงไม่มีความพร้อม และไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนเท่าใดนักในขณะนี้ แต่จะเป็นการดีหากจะวางแผนขยายโครงสร้างขนส่งให้หลายหลายในอนาคต
https://slideplayer.in.th/slide/2838733/
เรียบเรียงโดย : Logistics Contents 18/11/2562

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา