2 ส.ค. 2019 เวลา 13:33
วิกฤตมหาลัยไทย !!!ใกล้เจ๊ง!!! ep3
แนวทางแก้ไขและข้อเสียของวิธีต่างๆ(ภาคจบ)
โพสนี้จะเล่าถึงวิธีการแก้ไขและข้อด้อยในแต่ล่ะวิธีอีกสี่ข้อต่อจากโพสที่แล้วนะครับ
6. ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย
เป็นการเน้นที่คุณภาพของตัวหลักสูตร ให้หลักสูตรนี้แหละเป็นจุดขายเหมือนกับร้านขายของกินที่มีจุดขายตรงความอร่อยไม่ต้องเสริมด้วยการตกแต่ง, บรรยากาศ, โปรโมชั่น คนตัดสินใจมาร้านด้วยความอร่อยเลย
การปรับปรุงหลักสูตรให้ตรงยุค ใช้ได้จริง รู้จริง เก่งจริง อย่างเข้มข้นเป็นสิ่งที่วิธีการนี้โฟกัส
นึกภาพดูว่าถ้าสอนการขายโดยในสมัยนี้โดยใช้วิธีเทคนิคแบบเมื่อสามสิบปีที่แล้ว เดินไปตามบ้าน เคาะประตูแล้วบรรยายสรรพคุณของสินค้าพลางสาธิตประสิทธิภาพของมันตรงนั้น....คุณคิดว่าจะขายได้ไหม ฉันใดฉันนั้นหลักสูตรการสอนในศาสตร์สาขาต่างๆต้องมีการปรับปรุงพร้อมเน้นด้วยคุณภาพตลอดเวลา
 
วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ยั่งยืน วิธีนี้จะทำให้มหาลัยนั้นๆเป็นสถาบันคุณภาพ ความเข้มแข็งของแบรนด์จะทำให้มหาลัยสถาบันในฝันของคนที่ใฝ่การศึกษาจริง ดีมานต์ในการเข้าเรียนจะมีตลอด
แต่ข้อจำกัดคือผู้คิดค้นหลักสูตรหรืออาจารย์ผู้สอน ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องทันโลก ทันสมัย ต้องปรับปรุงการสอน ต้องทุ่มเทในระดับ born to be
เพราะการจะมีบุคลากรระดับที่ว่าไม่ใช่สิ่งที่ง่ายเลย แถมยังต้องมีบุคลากรอย่างนี้แบบต่อเนื่องด้วยแล้วยิ่งทวีความยาก
7. ผันไปเป็นมหาลัยแนว Think Tank
หมายถึงมหาลัยที่เน้นไปทางงานวิจัย ผันไปทำงานวิจัยเป็นหลัก รับทำ policy research โดยสวมบทเป็นหัวคิดให้กับองค์กรระดับประเทศ ทำงานวิจัยชี้นำสังคม รับทุนวิจัยจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน
โดยอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต้องเป็นคนที่มีชื่อเสียงในวงการวิชาการเป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้ว่าจ้าง ให้มาจ้างทำงานวิจัยในระดับต่างๆ หรือแม้แต่จ้างเป็นที่ปรึกษาระดับสูง
 
อย่างไรก็ตามวิธีการนี้อาจจะไม่ทำให้ได้นักศึกษามากนัก แต่จะเป็นที่สนใจในหมู่นักศึกษาระดับปริญญาโท-เอกขึ้นไป
8. เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรม(ที่อยู่รอด)
เป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม สร้างนวัตกรรม/สิทธิบัตรให้ภาคเอกชน โดยภาคเอกชนจะสนับสนุนทุนวิจัยมุ่งเป้าเพื่อจดสิทธิบัตรในเชิงเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจของตน มหาลัยจะได้รายได้มาจากนักศึกษามาเรียนโท-เอก เพราะนักศึกษาเหล่านี้ต้องมีการสร้างผลงาน, นวัตกรรม, สิ่งประดิษฐ์, งานวิจัย
ในเชิงสิทธิบัตร อุตสาหกรรมนั้นๆอาจมีจัดการการแบ่งปันสัดส่วนกำไร-ยอดขาย ให้ทั้งอาจารย์, นักศึกษา, มหาลัย อุตสาหกรรมก็มีสิทธิบัตรผลิตสินค้าที่มีนวัตกรรมและมูลค่าสูง และมหาวิทยาลัยก็ได้รายได้จากส่วนนี้
 
ความเสี่ยงที่มีคือ ความมั่นคงของตัวอุตสาหกรรมที่คอยสนับสนุนมหาลัย ตัวอาจารย์และนักศึกษาต้องมีคุณภาพในระดับที่ค่อนข้างสูง หากปัจจัยที่ว่าไม่แข็งแรงวิธีการนี้ย่อมยากที่จะยั่งยืน
9. ยุบคณะที่ขาดทุน
บางคณะในมหาลัยจำนวนนักศึกษาในชั้นปีมีไม่ถึงสิบคน หากคำนวนกำไรขาดทุน คำตอบน่าจะคาดเดาได้ บางสาขาวิชาไม่เป็นที่ต้องการในตลาดการทำงานโลกปัจจุบันอีกต่อไป อย่างนั้นแล้วอาจจะพิจารณายุบคณะการศึกษานั้นเสียเพื่อป้องกันการขาดทุน
 
ซึ่งวิธีนี้มหาวิทยาลัยหรือผู้บริหารก็ต้องใจแข็ง มีการ ยุบ ควบ รวบ บุคลากรในคณะที่ขาดทุนให้ไปทำงานอื่น หรือแม้กระทั่ง lay off บุคลากรเหล่านั้น
จบแล้วครับสำหรับประเด็นที่นำมาเล่าสู่กันฟังรอบนี้
ไม่น่าเชื่อแต่ก็ต้องว่ามหาลัยจะมีวันที่วิกฤติทางด้านการเงินในระดับว่า ใกล้เจ๊ง ได้
โพสเนื้อหานี้เป็นครั้งแรกที่แยกเป็น ep. มี 1 2 3
ขอบคุณสำหรับทุกท่านที่ติดตามกันจนจบครับ
หวังว่าคงได้สาระไม่มากก็น้อยจากเพจเราครับ
🤗🤗🤗🤗🤗🤗🤗🤗🤗🤗🤗🤗🤗🤗🤗
Cr
เรียบเรียง: รู้ให้ท่วมหัวจนเอาตัวรอด
โฆษณา