3 ส.ค. 2019 เวลา 09:17 • การศึกษา
จอดรถในห้างสรรพสินค้าหรือในอาคารจอดรถแล้วรถหายไปใครต้องรับผิด😱😱😱 BYLAWYERDIRECT
เพื่อนๆหลายคนในblockdit ยังไงก็ต้องไปห้างแหละ ไม่ไปซื้อของก็ดูหนัง ไม่ดูหนังก็กินข้าว ไม่กินข้าวก็นัดสาว ยังไงก็ตัองมีสักอย่างแหละ เพราะเดี้ยวนี้ห้างสรรพสินค้าสะดวกมากๆ ไปที่เดียวครบจบทุกอย่าง
แล้วเวลาไปห้างเดินทางกันยังไงครับ สะดวกหน่อยก็ใช้บริการสาธารณะ bts mrt หรือรถเมล์ได้หมด
(ลดปัญหาโรคร้อนด้วย) ลงจากรถปุ๊บเดินเข้าห้างได้ทันทีเลยกรณีนี้อาจจะไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่แต่ ..
กรณีนำรถส่วนมานั้น นอกจากจะเจอปัญหารถติดแล้ว การจราจรติดขัด หนำซ้ำมาถึงห้างยังต้องหาที่จอดรถอีก 😱😱😱เหนื่อยๆ หาที่จอดได้แล้วก็ดับเครืองลงไปทำธุระ กลับมาเอ้าาา “รถหายยยยย”
ชิ้ปห🤭แล้ว
ซึ่งการจอดรถในห้างสรรพสินค้าหรือในอาคารจอดรถครั้งหนึ่งศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาให้ห้างรับผิดในกรณีที่รถสูญหาย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาห้างก็ได้มีวิวัฒนาการเพื่อที่จะปฏิเสธความรับผิดฉันใด
คำพิพากษาของศาลก็มีวิฒนาการตามไปฉันนั้น เพื่อที่จะคุ้มครองผู้ต้องเสียหาย เรียกว่าตามไปติดๆดังนี้
1) กรณีมีการมอบบัตรผ่านเข้าออกหรือบัตรจอดรถให้ ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่า “กรณีนี้เข้าลักษณะการฝากทรัพย์ เมื่อปล่อยให้รถหายก็เป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ และเมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะผิดฐานละเมิดในการงดเว้นหน้าที่ ที่จะต้องดูแลรถให้ดี
2) พอศาลมีคำพิพากษาไปแบบนั้น ห้างก็เขียนว่า”ท่านที่เอารถมาจอด ถือว่าห้างอำนวยความสะดวกให้ ไม่ถือเป็นการรับฝากรถ “ ปิดประกาศทางเข้า-ออกของห้าง คดีนี้ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยว่า แม้จะมีข้อตกลงหรือประกาศว่าจะไม่รับผิดชอบอย่างใดๆ ถือว่าเป็นประกาศฝ่ายเดียวลูกค้าที่เอารถมาจอดไม่ได้ตกลงด้วยไม่มีผลบังคับ ห้างต้องรับผิด
3) ต่อมาห้างก็มีวิวัฒนาการต่อไปคือ ยกเลิกรปภ.ไม่มอบบัตรเข้าออก แต่ใช้วิธีติดตั้งกล้องแทนแล้วก็ปิดประกาศเหมือนเดิมว่าจะไม่รับผิดใดๆ ปรากฎว่าแม้จะไม่มีการออกบัตรประหนึ่งว่าเป็นสัญญาฝากทรัพย์ แต่การที่ห้างจัดให้มีสถานที่จอดรถเป็นการอำนวยความสะดวกและเพื่อประโยชน์ของห้างโดยแท้ เมื่อรถหายห้างกก็ต้องรับผิดอยู่ดี
1
เพื่อนๆได้เห็นแล้วนะครับว่า ห้างได้มีวิวัฒนาการขึ้นมาเรื่อยๆ แต่กระนั้นมันก็ไม่ทุกกรณีไปที่ห้างจะต้องรับผิดอยู่ตลอด เช่นกรณีนี้
 
สิงโตไปห้างใกล้บ้านและได้รับอนุญาตให้เข้าจอดรถในพื้นที่ของห้าง โดยสิงโตต้องหาที่จอดเอง ต้องดูแลทรัพย์สินเอง เหมือนกับจอดในห้างทั่วๆไปแหละ ทั้งนี้ห้างก็ไม่มีบริการเก็บค่าบริการรับฝากรถ ดังนั้นห้างจึงไม่ใช่ผู้รับฝากรถ
 
เมื่อสิงโตทำธุระเสร็จก็ออกมาจากห้างปรากฎว่ารถหาย สิงโตก็ห้องศาลเรียกให้ห้างรับผิด
 
คดีนี้ได้ความว่า รปภ. ไม่ได้ประมาทปราศจากความระมัดระวัง ปล่อยให้คนร้ายลักรถของสิงโตไป รถหายจึงไม่ใช่ผลจากการกระทำโดยตรงจากการะทำของ รปภ และห้าง ห้างไม่ต้องรับผิด พิพากษายกฟ้อง(อ้างอิงฎีกาที่ 10570/2557)
ซึ่งมันดูจะแย้งๆกับข้อ 1-3 ใช่มั้ย ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าต้องดูเป็นกรณีไป ไม่ใช่ห้างจะต้องรับเสมอ
อย่างกรณีข้างต้น ซึ่งจำเลย(ห้าง) และจำเลยร่วม(บริษัทรักษาความปลอดภัย) ได้สืบพยานจนศาลเห็นและเป็นที่พอใจแล้วว่า จำเลยไม่ได้ประมาทปราศจากความระมัดระวัง ผลจากการที่รถหายนั้นเกิดจาก
 
1) รถคันดังกล่าวไม่มีสัญญาณกันขโมย
 
2) เจ้าของรถไม่ได้นำบัตรจอดรถออกจากรถไปด้วย
 
3) ที่จอดรถนั้น ใครๆก็จอดได้
 
เนี่ยๆ เราต้องต่อสู้ ให้ศาลเห็นเป็นที่พอใจแบบนี้นะ
สรุป
 
- คำพิพากษาของศาลฎีกานั้นสามารถใช้เป็นบรรทัดฐาน ในการที่ศาลล่างจะวินิจฉัยไปในแนวเดียวกัน จึงเป็นทีมาให้เกิดวิวัฒนาการทั้ง3 ข้อขึ้นมาโดยเป็นไปในทิศทางเดียวกันที่ห้างต้องรับผิด อย่างล่าสุดฎีกาที่ 743/2561 ก็บอกให้ห้างต้องรับผิด
จึงเป็นแนวๆว่า ห้างต้องรับผิดต่อๆๆไปอีก แต่ทั้งนี้ต้องดูเป็นกรณีไปด้วย
 
- อย่างน้อยๆในการที่เรานำรถไปจอดที่ห้าง เราก็ต้องพึงระวังด้วยตัวของเราเองก่อน ล็อกรถ เอากุญแจออกให้เรียบร้อย เช่นนี้แล้วกฎหมายก็จะคุ้มครองเราเอง
 
-หากมีข้อผิดพลาดประการใดๆ ข้าพเจ้าต้องขออภัยอย่างสูงด้วย
 
ขอบคุณครับ 🙏🏻🙏🏻
ฝากกดไลค์ กดติดตาม กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ 😁😁
ขอบคุณ Arist มากๆๆ ครับ 🙏🏻🙏🏻
โฆษณา