3 ส.ค. 2019 เวลา 18:13 • การศึกษา
วันนี้จะมาแนะความรู้เรื่องตลาด เพื่อเป็นความรู้แก่ผู้ที่รักวิชาสังคม
มารู้จักความหมายของตลาดกันก่อน
ต่อมาเราต้องรู้ว่าตลาดแยกออกเป็น2ประเภท
ลักษณะตลาดแข่งขันสมบูรณ์
1. มีจำนวนผู้ซื้อ ผู้ขายในตลาดจำนวนมาก
2. สินค้าที่ขายในตลาดมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ จึงทำให้ไม่มีผู้ซื้อ และ
ผู้ขายรายใดสามารถกำหนดราคาของสินค้าในตลาดได้ ดังนั้นผู้ซื้อ ผู้ขายใน
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์จึงต้องยอมรับราคาที่ตลาดกำหนดหรือเรียกว่าเป็น price
taker
3. ผู้ผลิตหรือผู้ขายสามารถเข้าออกจากตลาดได้อย่างเสรี โดยมีก าไรเป็นแรงจูงใจ
4. มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรการผลิตสินค้าและบริการได้อย่างเสรี
5. ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้ และรับทราบข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะเรื่องราคาได้เป็น
อย่างดี
ตัวอย่าง ตลาดสินค้าทางการเกษตร ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์และเงินตราต่างประเทศ
1
ัลักษณะสำคัญของตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
• มีผู้ขายหรือผู้ผลิตในตลาดเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มากเท่ากับตลาด
แข่งขันสมบูรณ์ ผู้ผลิตแต่ละรายได้ส่วนแบ่งตลาดน้อย จึงไม่สามารถมี
อิทธิพลต่อการกำหนดราคา
• สินค้ามีลักษณะแตกต่างกัน ความแตกต่างนี้อาจเกิดจากรูปลักษณ์หรือ
เกิดขึ้นในความรู้สึกของผู้ซื้อ
• ผู้ผลิตหรือผู้ขายสามารถเข้าออกจากตลาดได้อย่างเสรี
ตัวอย่าง สบู่ แชมพู กระดาษทิชชู่ ชาเขียว ลูกอม แครกเกอร์ น้ าปลา ฯลฯ
ตลาดผู้ขายน้อยราย
ลักษณะสำคัญของตลาดผู้ขายน้อยราย ได้แก่
1. ผู้ขายหรือผู้ผลิตมีจำนวนน้อย ผู้ผลิตในตลาดผู้ขายน้อยรายมักไม่ต้องการ
ร่วมมือกับผู้ผลิตรายอื่น และคำนึงถึงผลกำไรที่จะได้รับ จึงต้องสนใจแนว
ทางการดำเนินงานของคู่แข่งด้วย
2. สินค้าที่นำมาขายในตลาด อาจจะเป็นสินค้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันหรือเป็น
สินค้าที่มีความแตกต่างกันก็ได้ แต่สามารถทดแทนกันได้
3. ผู้ผลิตรายใหม่ๆจะเข้าสู่ตลาดได้ยากเพราะมีอุปสรรคบางประการ (อุปสรรค
เดียวกันกับการเกิดอำนาจผูกขาดของผู้ผลิตในตลาดผูกขาด)
4. การดำเนินกลยุทธ์การแข่งขัน อาจใช้ทั้งด้านราคา และที่ไม่ใช่ราคา แต่ส่วนใหญ่
เป็นการแข่งขันที่ไม่ใช้ราคา เช่น การส่งเสริมการขาย การโฆษณา เป็นต้น
ตัวอย่าง น้ำมัน ซีเมนต์ อลูมีเนียม โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ เหล็ก เป็นต้น
1
ตลาดผูกขาด
ตลาดผูกขาด หมายถึง ตลาดที่มีผู้ผลิตหรือผู้ขายเพียงรายเดียว
โดยสินค้าและบริการในตลาดเป็นสินค้าที่ไม่มีสินค้าอื่นใดมา
ทดแทนกันได้เลย
การเข้ามาของผู้ผลิตรายใหม่จะเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้เพราะมี
อุปสรรคหรือมีการกีดกันการเข้าสู่ตลาด (barrier to entry)
โฆษณา