Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายน่าสนใจ
•
ติดตาม
5 ส.ค. 2019 เวลา 05:34 • การศึกษา
เคยสงสัยมั้ยเวลาดูละครเราจะเห็นอยู่บ่อยๆ ว่าทนายความเปิดอ่านพินัยกรรมต่อหน้าทายาท อ่านให้ฟังเฉยๆ ทำไมต้องมีทนายความด้วยล่ะ? คิดไปคิดมา ก็เข้าใจได้ว่าทนายความต้องดำเนินการแบ่งทรัพย์สินให้เป็นไปตามพินัยกรรม เช่น ต้องไปจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้ทายาท หรือต้องทำสัญญาแบ่งมรดกกันระหว่างทายาท หรือเพื่ออธิบายข้อสงสัยเกี่ยวกับพินัยกรรมฉบับที่อ่านนั้นๆ ฯลฯ
2
แต่ในความเป็นจริง หลังจากเจ้ามรดกตายไปแล้ว บทบาทดังกล่าวของทนายความมีน้อยมาก แทบจะทำอะไรไม่ได้อีก นอกเสียจากดำเนินการให้เป็นไปตามพินัยกรรมเท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ใครๆก็ทำได้ ทนายคนไหนๆก็ทำแทนได้!
ในโพสนี้ ผมอยากบอกความจริงที่คุณอาจยังไม่เคยคิดว่า บทบาทที่สำคัญที่สุดของทนายความในเรื่องที่เกี่ยวกับพินัยกรรมนั่นก็คือ การเขียนพินัยกรรม นั่นเอง ซึ่งสำคัญยิ่งกว่ารอให้ตายแล้วแก้ไขอะไรไม่ได้!
พินัยกรรมจะมีผลมากน้อยแค่ไหน หรือตกเป็นโมฆะเสียเปล่าไปเลยหรือไม่ มันอยู่ที่การเขียนพินัยกรรมให้ถูกรูปแบบ และกติกาก่อนที่จะตาย ไม่ใช่ลีลาการอ่านพินัยกรรมหลังความตาย!
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายก็ได้บัญญัติกฎเกณฑ์และกติกาต่างๆ ในการร่างพินัยกรรมไว้เป็นการเฉพาะยิ่งกว่าบัญญัติผลของพินัยกรรมหลังจากตายไปแล้วเสียอีก!
ดังนั้นภาพที่เห็นในละครที่มีทนายมาเปิดอ่านพินัยกรรมนั้น เราต้องถามกลับไปว่า ใครเป็นคนเขียนพินัยกรรม? เป็นทนายคนเดียวกับคนที่อ่านรึเปล่า หรือเจ้ามรดกเป็นคนเขียนเอง ซึ่งเสี่ยงต่อการเขียนผิดมาก!
*** พินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนหรือในการต่างๆอันจะให้เกิดผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อคนตาย (ปพพ.ม.๑๖๔๖) ดังนั้นคำสั่งสุดท้ายก่อนตายจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด คำสั่งนั้นต้องแน่นอน ชัดเจน ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นไปได้
กฎหมายยินดีที่จะบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งเสียก่อนตาย ถือเป็นเจตนาสุดท้ายที่ศักสิทธิ์ที่สุด...แต่สั่งให้ถูกก็แล้วกัน!
การเขียนพินัยกรรมให้ได้ผลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาทั้งรูปแบบและเนื้อหาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มันไม่ใช่เป็นกระดาษที่จะเขียนสั่งเสียอะไรก็ได้! แม้ทายาททุกคนอ่านแล้วเข้าใจ ยอมรับ แต่กฎหมายอาจไม่เอาด้วย! เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก ไม่ใช่แค่เรื่องในครอบครัว! ถ้าทำไม่ถูก กฎหมายก็ไม่บังคับให้ ต่อให้ตายไปเข้าฝันญาติอธิบายพินัยกรรมนั้นก็ทำได้แค่ฝันไป!
การเขียนพินัยกรรมต้องทำให้ถูกต้องทั้งตามรูปแบบ และเนื้อหา
ในส่วนรูปแบบเช่น
1. ต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี และต้องมีพยานสองคน (ม.๑๖๕๖)
2. ต้องรู้่ว่าเป็นพินัยกรรมประเภทไหน ใน 5 แบบ ได้แก่ แบบธรรมดา แบบเขียนเองทั้งฉบับ แบบเอกสารฝ่ายเมือง แบบเอกสารลับ แบบวาจา (ม.๑๖๕๗-๑๖๖๓)
3. การพิมพ์ลายนิ้วมือแทนการลงลายมือชื่อ (ม.๑๖๖๖)
4. มีคนที่ลงชื่อเป็นพยานไม่ได้ (ม.๑๖๗๐)
ในส่วนเนื้อหาเช่น
1. พินัยกรรมที่มีเงื่อนไข (ม.๑๖๗๔-๑๖๗๕)
2. การตีความพินัยกรรม (ม.๑๖๘๔)
3. พินัยกรรมอาจถูกเพิกถอนได้ (ม.๑๖๙๔-๑๖๙๗)
4. พินัยกรรมบางข้อเสียไป (ม.๑๖๙๘)
นอกจากนี้กฎหมายยังบังคับให้พินัยกรรมบางฉบับตกเป็นโมฆะได้อีกด้วย เช่นอายุและความสามารถของผู้ทำพินัยกรรม (ม.๑๗๐๓-๑๗๐๔) แบบของพินัยกรรมที่ไม่ถูกต้่องบางส่วน (ม.๑๗๐๕) เงื่อนไขในพินัยกรรมไม่ชัดเจน (ม.๑๗๐๖-๑๗๐๗) เป็นต้น
นี่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น จะเห็นว่าการทำพินัยกรรม มีกฎหมายวางกรอบ กติกาไว้ชัดเจน รัดกุม โดยมีมาตราที่บัญญัติเฉพาะเรื่องพินัยกรรมอย่างเดียวไว้มากถึง 65 มาตรา (ไม่นับเรื่องมรดกอื่นๆ) เรียกว่าจะเขียนพินัยกรรมแค่กระดาษแผ่นเดียวให้ถูกต้องและมีผลบังคับได้เต็ม จะต้องศึกษาอย่างน้อย 65 มาตราให้เข้าใจด้วย! (จากทั้งหมด 1755 มาตรา) อาจฟังดูเป็นเรื่องเหนือบ่ากว่าแรง และไม่ใช่ธุระอะไรของเรา แต่ก็นำมาบอกให้รู้ไว้ไงครับว่า...ไม่ง่าย
9 บันทึก
22
2
3
9
22
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย