6 ส.ค. 2019 เวลา 16:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อยากมีหางกันมั้ย? ทีมนักวิทยาศาสตร์จากญี่ปุ่นประดิษฐ์หางเทียมได้แล้ว เย้ 😆
หางเทียมเพื่อช่วยการทรงตัว Source: Yamen Saraiji/YouTube
ลองจินตนาการว่าเรากำลังปีนต้นไม้โดยมีหางช่วยการเกาะและก็ช่วยทรงตัวไปด้วยซิครับ น่าสนุกขนาดไหนน้อ 😉
มือที่3 ขาที่4 ไม่ต้องเสียเวลาหาว่าเป็นใคร 😁 Source: Yamen Saraiji/YouTube
ปัจจุบันมี Gadget ที่เป็นมือช่วยจับ ขาเทียม หรือแม้แต่หาง ออกมาให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ และมีการพัฒนากันอยู่ตลอด
Source: Yamen Saraiji/YouTube
Arque "อาร์ค" หางเทียมที่พัฒนาโดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Keio ของญี่ปุ่นได้แรงบันดาลใจจากหางของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น สุนัขและลิง
Source: Yamen Saraiji/YouTube
หางในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างทั้งการสื่อสาร การทรงตัว และการช่วยยึดเกาะ แต่ในมนุษย์นั้นหางได้สูญหายไปในระหว่างขั้นตอนการวิวัฒนาการของเรา
เลียนแบบโครงสร้างของหางของม้าน้ำ Source: Yamen Saraiji/YouTube
แต่กระนั้นโครงสร้างของหางเทียม Arque กลับมีต้นแบบจากหางของม้าน้ำ
จากการวิวัฒนาการให้ยืนด้วยสองขาแต่การที่ไม่มีหางทำให้มนุษย์เราประสบปัญหาในการทรงตัว, Source: Yamen Saraiji/YouTube
โดยจุดประสงค์หลักในการพัฒนาอาร์ค ก็เพื่อช่วยในการทรงตัวและเคลื่อนไหวของมนุษย์ อย่างเช่น ในกรณียกของหนักที่ทำให้ร่างกายเราเสียสมดุล ง่ายต่อการพลัดตกหกล้ม หรืออาจพัฒนาใช้เพื่อช่วยผู้สูงอายุทำกิจกรรมประจำวัน
ส่วนประกอบของอาร์ค Source: Yamen Saraiji/YouTube
ส่วนประกอบของหางที่ทำให้เคลื่อนไหวได้ นั้นมาจากชุดกล้ามเนื้อเทียม 4 ชุดที่ให้พลังงานโดยท่อลมอัด (comoressed air)
ส่วนประกอบของอาร์ค Source: Yamen Saraiji/YouTube
เพื่อที่ให้กล้ามเนื้อเทียมมีกำลังมากพอทางทีมงานได้เลือกใช้เครื่องอัดอากาศ (air compressor) เป็นต้นกำลังให้กับอาร์ค
ชุดควบคุมและจ่ายลมอัดไปยังแต่ละชุดกล้ามเนื้อเทียมของอาร์ค Source: Yamen Saraiji/YouTube
และตัวหางเทียมนี้สามารถปรับน้ำหนักถ่วงให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้
ตุ้มน้ำหนักถ่วงที่สามารถใส่เพิ่มได้ เพื่อช่วยเพิ่มมวลของหางเทียม Source: Yamen Saraiji/YouTube
ระบบควบคุมและประมวลผลจะทำการประมวล ท่าทางของผู้ใช้งานเพื่อคำนวณหาจุดศูนย์ถ่วง (C.G.) และบังคับ ปรับทิศทางและตำแหน่ง รูปร่างของหางเทียมเพื่อปรับตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของ ร่างกายของผู้สวมใส่ให้สมดุล
Arque in motion. Source: Yamen Saraiji/YouTube
นอกจากการใช้ช่วยรักษาสมดุลในการทรงตัวของร่างกายแล้ว ทีมพัฒนายคงได้นำมาประยุกต์ กับเทคโนโลยี VR เพื่อสร้างแรงเหวี่ยงเสมือนจริง
Arque with VR. Source: Yamen Saraiji/YouTube
โดยการติดตั้งในตำแหน่งที่สูงขึ้น ทำให้เกิดแรงเหวี่ยงจากตำแหน่ง C.G. ที่เสียสมดุล ทำให้เกิดแรงกระทำเสมือนจริง ให้ความรู้สึกสมจริงในการเล่น VR มากยิ่งขึ้น 😲
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในคลิปอธิบายการทำงานของอาร์คได้เลยครับ อธิบายได้ดีเลย 😉
เป็นการเขียนบทความครั้งแรกที่เขียนไปพร้อมกับคำว่า "โคตรล้ำ" ดังก้องอยู่ในหัว ชักอยากมีหางแล้วสิ 😆

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา