7 ส.ค. 2019 เวลา 22:00 • ประวัติศาสตร์
🚩ท่องเทือกเขาขุนตาล ตอน..อุโมงค์ขุนตาน (ตอนที่ 1)
💥ตอนที่ผ่านมาผมพาไปรู้จักประวัติของเจ้าพ่อขุนตานกันแล้ว ตอนนี้ก็ยังจะอยู่แถวเทือกเขาขุนตาลกันอยู่ครับ ปีนป่ายอยู่แถวนี้แหละ
💥ความจริงเรื่องราวเกี่ยวกับเทือกเขาขุนตาล ผมเคยเขียนเอาไว้เยอะ มีหลายตอนครับ แต่ผมขอคัดเอาเฉพาะตอนที่น่าสนใจสำหรับคนทั่วไปมาให้อ่านกัน
👉คราวนี้จะพาไปดูอุโมงค์..
📢 เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านอาจจะเคยนั่งรถไฟไปเชียงใหม่ พอขบวนรถเริ่มออกจากสถานีห้างฉัตร ก็จะเริ่มรู้สึกได้ว่ารถกำลังพาเราวิ่งเข้าสู่แนวเขาทะมึน
💥วิ่งไปสักพัก..บางขบวนก็อาจจะจอดเฉยกลางทางเฉยเลย..
💥ตอนผมนั่งก็รู้สึกแปลกใจอยู่ ทำไมมันไม่วิ่ง แต่ก็พยามทำความเข้าใจเอาเองว่ามันคงกำลังตั้งหลัก เพราะช่วงที่มันจอดเหมือนกับมันกำลังจะจะพาเลื้อยขึ้นดอย..
💥จอดสักพัก..มันก็เริ่มเคลื่อนตัวทีละนิด มันคงหมดแรง ตั้งหลักเอาพลังสักนิดก่อนพาเราทะยานขึ้นดอยขุนตาล
📣📣วิ่งมาอีกสักพักใหญ่..หวูดรถไฟก็ดังก้องสะท้านไปทั้งดอย
📌📌..ใช่ละ มันกำลังจะพาเรามุดเข้าไปในรูขนาดใหญ่ ทันใดนั้น บรรยากาศรอบ ๆ ตัวก็พลันดับวูบ... รถกำลังวิ่งลอดอุโมงค์ขนาดยักษ์..
💥..อุโมงค์ขุนตาน เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวถึง 1,352.15 เมตร ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนตาล ระหว่างอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง และอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
💥เริ่มก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2450 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2461 โดยการรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม ใช้เวลาสร้างทั้งหมด 11 ปี
💥อุโมงค์ขุนตาน มีขนาดกว้าง 5.20 เมตร สูง 5.50 เมตร และยาว 1,352.15 เมตร เป็นอุโมงค์ชนิดคอนกรีตเสริมเหล็กตลอดแนว
💥ด้านหนึ่งของอุโมงค์ขุนตาน คือ สถานีรถไฟขุนตาน บังกะโลรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย และอุทยานแห่งชาติขุนตาล
💥ในอดีตบริเวณบ้านขุนตานยังเป็นถิ่นทุรกันดาร เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ภูมิประเทศเป็นป่าทึบ และโขดเขาสูง การก่อสร้างจึงต้องใช้ความอุตสาหะพากเพียรอย่างยิ่ง เครื่องมือและสัมภาระต่างๆ ที่ใช้ก่อสร้างต้องใช้ช้าง และเกวียนบรรทุกไป พอถึงที่ที่เป็นภูเขาต้องใช้วิธีชักรอกขึ้นเขา ลงเขา อย่างทุลักทุเล
💥กว่าที่เราจะได้เห็นอุโมงค์ขุนตานดั่งเช่นทุกวันนี้..ต้องแลกกับอะไรมาบ้าง มีขั้นตอนอย่างไร ติดตามอ่านต่อในเช้าตรู่วันพรุ่งนี้นะครับ..สวัสดีครับ..
💡💡💡
โฆษณา