Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วีอาร์พาเที่ยว
•
ติดตาม
9 ส.ค. 2019 เวลา 22:00 • ประวัติศาสตร์
🚩ท่องเทือกเขาขุนตาล ตอน..อุโมงค์ขุนตาน (ตอนจบ)
✨ สำหรับใครที่เพิ่งได้เข้ามาอ่านตอนนี้ สามารถติดตามอ่านเรื่องของอุโมงค์ขุนตานได้ย้อนหลังนะครับ มีทั้งหมด 3 ตอน ..มาว่ากันต่อครับ..
✨สำหรับการขุดเจาะอุโมงค์ขุนตาน ได้มีอุปสรรคและปัญหาต่างๆ หลายอย่างเพราะคนงานไม่เคยทำงานสร้างทางรถไฟมาก่อน ตลอดจนไม่เคยเห็นอุโมงค์ แม้แต่การใช้ไดนาไมต์เจาะระเบิดภูเขาก็ไม่เคย เครื่องมือเครื่องใช้ก็มีไม่พร้อม เช่น เครื่องอัดอากาศ ซึ่งต้องประดิษฐ์เครื่องระบายอากาศขึ้นเอง
✨ในระหว่างทำการก่อสร้างทางตอน ลำปาง-เชียงใหม่อยู่นั้น ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น ทำให้เหล็กสะพานที่สั่งซื้อจากประเทศเยอรมันไม่สามารถส่งเข้ามาอีก มร. อี. ไฮเซนโฮเฟอร์ วิศวะกรชาวเยอรมัน จึงใช้ไม้เนื้อแข็งทำสะพานแทน
✨ส่วนสะพานสูงใกล้ๆ อุโมงค์ มร. อี.ไฮเซนโฮเฟอร์ ก็ได้วางรางลัดเลาะไปตามเขาแล้วยกระดับรางให้สูงขึ้น เพื่อสะดวกในการวางรางเข้าไปสู่อุโมงค์
✨กรรมกรที่ทำงานในอุโมงค์ลึกๆ ทั้งกลางวันและกลางคืนไม่มีแสงสว่างในขณะ การทำงานจึงมีการใช้ตะเกียงชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “โคมเป็ด” เพราะมีรูปคล้ายเป็ดโตขนาด 2 เดือน แต่เป็นเป็ดไม่มีหัวไม่มีขา ตรงคอเป็นมีรูให้ใส่ตะเกียงยื่นออกมา บนหลังมีห่วงให้เอาลวดหรือเชือกร้อยหิ้วได้แขวนได้ ในท้องมีเชื้อเพลิงคือน้ำมันก๊าดผสมน้ำมันมะพร้าว
✨การก่อสร้างอุโมงค์ขุนตาน เริ่มเมื่อ พ.ศ.2450 แล้วเสร็จในปี 2461 ..รวมใช้ระยะเวลา 11 ปีในการก่อสร้าง
🔴 และเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2468 รถไฟขบวนแรก ก็ได้เดินรถลอดถ้ำยักษ์เป็นขบวนปฐมฤกษ์ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7..
♥♠การนั่งรถไฟลอดอุโมงค์ที่มีประวัติอันยาวนานแบบนี้ ..มันให้ความรู้สึกที่ยากจะบรรยาย สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
♠♥ควรหาโอกาสลองนั่งสักครั้ง ชวนกันนั่งรถไฟขึ้นเหนือเที่ยวเชียงใหม่ รับรองทุกขบวนต้องผ่านอุโมงค์ขุนตาน
📌📌..ตอนต่อไปจะเปลี่ยนเวลานำเสนอนะครับ ..ขอนำเสนอทุกวันเวลา 15.00 น. เริ่มบ่ายวันนี้เลย.. จะเป็นเรื่องอะไรนั้น..กดติดตามนะครับถ้าไม่อยากพลาดกับสถานที่ดี ๆ ที่ผมจะทยอยนำมาเขียนให้ได้อ่านกัน..
♠♥♣♦
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย