Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ก้าวตามตถาคต
•
ติดตาม
12 ส.ค. 2019 เวลา 00:55 • ปรัชญา
กลไกธรรมชาติของความเป็นเราจริงๆคือ_?
🤗😐😑😯😦😮🤤😌😇
พระสูตร คำสอนของพระพุทธเจ้าที่เมื่อพระองค์ปลีกวิเวกแล้ว มักจะใช้เป็น”ตถาคตวิหาร” : เครื่องอยู่ของพระองค์คือ “อิทัปปัจจยตา””ปฏิจจสมุปบาท”
“อิทัปปัจจยตา” : คือหลักความจริงอันเป็นเหตุให้มีการเกิดแห่งนามรูปต่างๆ หรือหลักธรรมชาติอันเป็นตัวหลักของเราท่านนี่แหละ ทุกสิ่งนี้เป็นธรรมธาตุ นามรูปทั้งหลายที่ต่างเกิดขึ้นด้วยหลักการนี้👍👍👍
…สิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
…สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะการดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป
”ปฏิจจสมุปบาท” : คือหลักความจริงของการเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันของนามธรรมทั้งหลาย ที่สำคัญมากตรงนี้คือ เมื่อเราท่าน ได้ยิน เงี่ยฟัง นั่งลงใกล้ ใคร่ครวญในความจริงนี้ จะพบความอัศจรรย์ ธรรมที่ถูกเปิดจะมาสู่ตน 🤔🤔🤔
เพราะตาเห็นรูปจึงเกิดการกระทบสัมผัสกัน จึงเกิด”เวทนา”ความรู้สึก เพราะเห็นเสื้อตัวนั้นสีสวย ฉันจึงสะดุดใจ เกิดความรู้สึกสุขใจในรูปสีสรรค์นั้น เกิดความพอใจและอยากได้เป็นของตัวเองจึงซื้อมาเป็นของตัวเอง…
กามคุณในสัมผัสแห่งตาและรูปดังนี้ มากระทบกัน เพียงเราท่านเพลินเผลอไปนิดเดียวธรรมธาตุนั้นไปถึงการถือเป็นตนหรือ “อุปาทาน” แล้ว จึงเกิดภวตัณหา ความอยากเป็น อยากมีจนได้ …
หากเราท่านไม่ละเสียในความเพลิน ความพอใจ อยากได้ “ภพ” ภัยอันน่ากลัวได้เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อไรเสื้อตัวนั้นถูกยึดมั่นเป็นตนเมื่อไร มันจะไม่ธรรมดาอีกต่อไป เราท่านจะไม่พอใจทันทีถ้าเห็นใครมาเหยียบ มาฉีกเสื้อตัวโปรดตัวนี้ของฉัน
แต่สักวันหนึ่งมันก็จะหม่นสี เปื่อยขาด
…ยิ่งรักมาก ก็อาจจะทุกข์มาก
แต่สักวันหนึ่งเราท่านละอุปาทานออกไป เสื้อแสนรักจะค่อยคลายเป็นเศษผ้าธรรมดา…
ทั้งนี้เพียงแค่ เราท่านหมั่นเพียรใคร่ครวญธรรมของพระองค์
การเจริญสติอยู่กับลมหายใจ อยู่กับปัจจุบัน รู้ลมหายใจเข้าออก และเพียรละ”ราคะนันทิตัณหา” คือความพอใจ ความเพลิน ความอยากทั้งหลาย นำจิตมาอยู่กับเสาหลักคือลมหายใจ ท่านจะได้สัมผัสธรรมอันถูกปิดไว้ มาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ นำพาเราท่านไปสู่ความเจริญไม่มีเสื่อม…
ทุกอย่างเกิดขึ้นและดับลงด้วยเหตุปัจจัย
5 บันทึก
11
4
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
รู้จักตนเองกันดีกว่า
5
11
4
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย