14 ส.ค. 2019 เวลา 22:00
💢 หมาแต่ละชาติเห่าเสียงเหมือนกันไหม
เคยมีครั้งหนึ่ง ผมทำหน้าที่หัวหน้าทัวร์ไปต่างประเทศ บังเอิญไปเจอหมา
เลยลองเรียกมันแบบเรียกหมาที่บ้าน...เย้ยยยย มันหยิ่งหรือมันไม่ได้ยินวะ..
แอะ ๆ ๆ ๆ ๆ เรียกเงี๊ยะ !!!!! นอนเฉยเลย หมั่นไส้มันเลยกะจะไปเตะมันสักป้าบ !!!
3
ที่ไหนได้ มันสู้ !!! หันมาทำท่าขู่ แต่จำไม่ได้ว่ามันเห่ายังไง
วันนี้เลยลองมานั่งหาข้อมูลดู ว่าหมาเมืองนอกทำไมมันเหมือนฟังเราไม่รู้เรื่อง..
พอเห็นข้อมูลแล้วก็ทำให้ถึงบางอ้อ..เพราะหมาแต่ละประเทศมีการออกเสียงไม่เหมือนกัน
นั่นเกิดจากการถอดเสียงจากธรรมชาติให้ตรงกับคำที่มาใช้แทนภาษา
ความจริงแล้วคนทุกคนได้ยินเสียงน้องหมาเหมือนกัน แต่ภาษาถิ่นนั้นต่างกัน
การแทนเสียงธรรมชาติด้วยการเทียบเคียงคำในภาษาของตนนั้นจึงออกมาแตกต่างกัน บางภาษามีเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษานั้นไม่มีเสียงวรรณยุกต์
เสียงของน้องหมาเลยออกมาต่างกัน เราเรียกว่า Onomatopoeia
Onomatopoeia คือ การสร้างคำเพื่อเลียนเสียงธรรมชาติ ทั้งเสียงสัตว์ เสียงฟ้าร้อง เสียงน้ำกระทบ เสียงกรีดร้อง หรือแม้แต่เสียงผายลม ภาษาไทยเราเรียกว่า สัทพจน์
ทำให้เกิดภาพพจน์ตามธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน ช่วยให้คนเราสื่อสารเห็นภาพและรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงนั้น ๆ เห็นกิริยาอาการของสิ่งนั้น เช่น เสียงปืน-โป้ง! โป้ง! หรือ ปัง! ปัง! เสียงฟ้าผ่า-เปรี้ยง ฯลฯ
ซึ่งก็ทำให้คนที่สื่อสารภาษาเดียวกันนั้นเข้าใจ แต่ถ้าต่างภาษาอาจจะออกเสียงไม่เหมือนกัน ความฮาเลยบังเกิด
โฮ้ง! โฮ่ง! เสียงนี้ที่เราคุ้นเคย เพราะเป็นเสียงเห่าน้องหมาตามภาษาไทยของเรา
หลังจากที่ได้ฟังเสียงเห่าของน้องหมาในแต่ละภาษาแล้ว ก็ต้องขอบอกว่า ถ้าผมเกิดเป็นน้องหมาคงจะต้องแอบปวดหัวกับภาษาของมนุษย์แน่ ๆ ว่าทำไมมนุษย์ต้องออกเสียงภาษาของฉันแตกต่างกันขนาดนี้
มีทั้ง วัง! วัง! ในภาษาจีนกลาง หรือ เบา! เบา! ในภาษาอิตาเลียน และ ฮัม! ฮัม! ในภาษาโรมาเนีย จะอะไรกันนักกันหนาเนี่ย..ฮาฮา
ขอบคุณข้อมูลจาก..dogilike.com
ขอบคุณภาพประกอบจาก.. pixabay.com
โฆษณา