Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aH.e.r.b.
•
ติดตาม
13 ส.ค. 2019 เวลา 14:09 • สุขภาพ
3️⃣9️⃣ ถ้าพูดถึงต้น "ตะเคียนทอง"‼️
🌳บางคนอาจจะขนลุก เพราะความกลัว‼️
🌳บางคนอาจจะนึกถึง เจ้าแม่ตะเคียน‼️
🌳หรือบางคนอาจจะนึกถึงการเสี่ยงโชค‼️
⭐️แต่วันนี้ ผมจะพูดถึงต้น #ตะเคียนทอง⭐️
⭐️ว่าอันที่จริงแล้ว มีประโยชน์มากมายขนาดไหน⭐️
ต้นตะเคียนทอง ในป่าใหญ่ 😱
🌿 ชื่อ : ตะเคียนทอง
🌿 ชื่อพื้นเมืองท้องถิ่นอื่น : ตะเคียน ตะเคียนทอง ตะเคียนใหญ่(ภาคกลาง), จะเคียน(ภาคเหนือ), แคน(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ไพร(ละว้า เชียงใหม่), กะกี้ โกกี้(กะเหรี่ยง เชียงใหม่), จูเค้ โซเก(กะเหรี่ยง กาญจนบุรี), จืองา(มลายู-นราธิวาส) บางข้อมูลระบุมีชื่ออื่นว่า กากี้, เคียน
🌿 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea odorata Roxb.
🌿 ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE (วงศ์ยางนา)
🌿 ชื่อสามัญ : Iron wood, Malabar iron wood, Takian, Thingan, Sace, Takian
1
✅ต้น : จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงถึง 40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำ ๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง เสี้ยนมักสน ไม้แข็ง เหนียว ทนทาน และเด้งตัวได้มาก มีเขตการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทางตอนใต้และทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชียในแถบประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยเป็นไม้ในป่าดงดิบที่มักขึ้นเป็นหมู่
✅ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปใบหอกหรือรูปดาบ ปลายใบเรียว ส่วนโคนใบมนป้านและเบี้ยว แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว หลังใบเกลี้ยงเป็นมัน ท้องใบมีตุ่มหูดหรือตุ่มดอมเมเซียเกลี้ยงๆ อยู่ตามง่ามแขนงของใบ ใบมีเส้นแขนงใบประมาณ 9-13 คู่ ปลายโค้งแต่ไม่จรดกัน เชื่อมใบย่อยเชื่อมกันเป็นขั้นบันได ส่วนหูใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
✅ดอก : ออกดอกเป็นช่อยาวแบบช่อแยกแขนงตามปลายกิ่งและตามง่ามใบ มีดอกย่อยอยู่ช่อละประมาณ 40-50 ดอก ดอกเป็นสีเหลืองแกมสีน้ำตาลขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมและมีขนนุ่ม ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะบิดเป็นกงจักร ปลายกลีบดอกหยัก ส่วนล่างกลีบบิดและเชื่อมติดกัน ดอกมีเกสรตัวผู้ 15 อัน อับเรณูมียอดแหลม ส่วนเกสรตัวเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ ลักษณะเรียวเล็ก มีความยาวเท่ากับรังไข่ เมื่อหลุดจะร่วงทั้งชั้นรวมทั้งเกสรตัวผู้ติดไปด้วย และดอกยังมีกลีบเลี้ยงขนาดเล็ก 5 กลีบ
1
✅ผล : ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ผลเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อสุกจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผลมีลักษณะกลมหรือเป็นรูปไข่เกลี้ยง ปลายมนเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม มีปีกยาว 1 คู่ ลักษณะเป็นรูปใบพาย ปลายปีกกว้าง และค่อยๆ เรียวสอบมาทางด้านโคนปีก เส้นปีกตามยาวประมาณ 9-11 เส้น และยังมีปีกสั้นอีก 3 ปีกซ้อนกัน มีความยาวไม่เกินความยาวของตัวผล ปีกจะซ้อนกันอยู่ แต่จะหุ้มส่วนกลางผลไม่มิด โดยในหนึ่งผลจะมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลมสีน้ำตาล โดยปลีกเหล่านี้จะมีหน้าที่ห่อหุ้มผลและสามารถพาผลให้ปลิวไปตามลมได้ไกลออกไปจากต้นแม่
🌱สรรพคุณ🌱
➖ แก่น : แก่นมีรสขมอมหวาน ช่วยแก้โลหิตและกำเดา ปิดธาตุ ช่วยแก้ไข้สัมประชวรหรือไข้ ขับเสมหะ ใช้ผสมกับยารักษาทางเลือดลม กษัย แก้อาการปวดฟัน แก้เหงือกบวม แก้อาการท้องร่วง รักษาคุดทะราด
➖ ยาง : ปิดธาตุ แก้อาการท้องเสีย ทารักษาบาดแผล รักษาไฟไหม้และน้ำร้อนลวก บรรเทาอาการเจ็บปวด
➖ เนื้อไม้ : ช่วยคุมธาตุ
➖ เปลือกต้น : ช่วยแก้อาการลงแดง นำมาต้มกับเกลือ ใช้อมช่วยป้องกันฟันหลุด แก้อาการเหงือกอักเสบ ฆ่าเชื้อโรคในปาก แก้บิดมูกเลือด ช่วยห้ามเลือด ใช้เป็นยาสมานแผล รักษาบาดแผลเรื้อรัง แก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะ ใช้ฆ่าเชื้อโรค
➖ ดอก : ใช้เข้าในตำรับยาเกสรร้อยแปด ใช้ผสมเป็นยาทิพย์เกสร
➕ ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของตะเคียนทอง มีข้อมูลระบุว่ามีฤทธิ์แก้แพ้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์
🆗ประโยชน์🆗
👉ไม้ตะเคียน จัดเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศ เพราะเนื้อไม้มีความทนทาน ทนปลวกดี เลื่อย ไสกบ ตกแต่งและชักเงาได้ดีมาก นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน เครื่องเรือน หน้าต่าง วงกบประตู ทำพื้นกระดาน ฝ้าหลังคา รั้วไม้ หีบใส่ของ ด้ามเครื่องมือกสิกรรมต่างๆ พานท้ายและรางปืน หรือใช้ทำสะพาน ต่อเรือ ทำเรือมาด เรือขุด เรือแคนู เสาโป๊ะ กระโดงเรือ ทำรถลาก ทำหมอนรองรางรถไฟ ตัวถังรถ กังหัน เกวียน หูกทอผ้า ทำไม้ฟืน ฯลฯ ไม้ชนิดนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานไม้ได้ทุกอย่างที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน เหนียวและเด้ง
👉เปลือกต้นให้น้ำฝาดชนิด Catechol และ Pyrogallol ชันจากไม้ตะเคียนใช้ทำน้ำมันชักเงาตบแต่งเครื่องใช้ในร่ม ใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้ยาแนวเรือ หรือใช้ผสมกับวัสดุอื่น ๆ เพื่อใช้ในงานต่างๆ เช่น ใช้สำหรับทาเคลือบเรือเพื่อช่วยรักษาเนื้อไม้และป้องกันเพรียงทำลาย เป็นต้น
👉ใบตะเคียนมีสารแทนนินอยู่ประมาณ 10% โดยน้ำหนักแห้ง ส่วนในเปลือกต้นก็มีสารประกอบนี้อยู่ด้วยเช่นกัน โดยคุณสมบัติของแทนนินที่ได้จากไม้ตะเคียนทองนี้ เมื่อนำมาใช้ฟอกหนังจะช่วยทำให้แผ่นหนังแข็งขึ้นกว่าเดิม จึงเหมาะกับการนำมาใช้เฉพาะงานได้เป็นอย่างดี
👉ใช้ปลูกตามป่าหรือตามสวนสมุนไพรเพื่อเป็นไม้บังลม เพื่อให้ร่มเงา และช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติ เพราะไม้เป็นไม้ไม่ผลัดใบพร้อมกัน จึงเป็นไม้ที่ช่วยรักษาความเขียวได้ตลอดปี ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี
👍🏻ชอบกด Like ใช่กด Share👍🏻
❤️เป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ❤️
🙏🙏 Special Thanks 🙏🙏
• ข้อมูลบางส่วน : Wikipedia
• ข้อมูลบางส่วน : medthai
• รูปภาพบางส่วน : Google, Flickr
⭐️ เรียบเรียงโดย ⭐️
🍃 นายนิว 🍃
5 บันทึก
59
28
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สมุนไพรประเภท "พืชวัตถุ"
5
59
28
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย