14 ส.ค. 2019 เวลา 06:44 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การคำนวณโหลดของเต้ารับไฟฟ้า ( 1 เต้ารับ = 180VA) มาจากไหน และควรออกแบบกี่เต้ารับต่อวงจร ?
“ ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ.2556 (ของ วสท.) ได้เขียนไว้ว่า
3.1.6.3 โหลดของเต้ารับใช้งานทั่วไป ให้คำนวณโหลดจุดละ 180 โวลต์แอมแปร์ ทั้งชนิดเต้าเดี่ยว (single) เต้าคู่ (duplex) และชนิดสามเต้า (triplex) กรณีติดตั้งชนิดตั้งแต่ 4 เต้า ให้คำนวณโหลดจุดละ 360 โวลต์แอมแปร์
1
3.1.6.4 โหลดของเต้ารับอื่นที่ไม่ได้ใช้งานทั่วไป ให้คำนวณโหลดตามขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ ”
180 VA นี้เราอ้างอิงมาจากอ้างอิงมาจากมาตรฐาน NFPA70 หรือที่รู้จักกันในชื่อ NEC (National Electrical Code) ซึ่งเป็นมาตรฐานของประเทศอเมริกา ซึ่งความแตกต่างของแรงดันไฟฟ้าของประเทศอเมริกาที่ใช้ 110V กับประเทศไทยใช้ 220V ซึ่งแรงดันบ้านเราสูงกว่าถึง 2 เท่า เมื่อมองที่ขนาดโหลด VA ที่เท่ากัน บ้านเราจะมีค่ากระแสไฟฟ้าน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอเมริกา 180/110 = 1.6A และ 180/220 = 0.8A ดังนั้นหากถามว่า 1 วงจรควรจะมีการติดตั้งเต้ารับได้กี่เต้ารับ หากเลือกออกแบบติดตั้งเบรกเกอร์สำหรับวงจรย่อยเต้ารับไว้ 20A แน่ะนำใช้โหลดประมาณ 80% ก็จะมีกระแสโหลดสูงสุด = 20*0.8 = 16A เมื่อคิดตามกระแสที่เต้ารับใช้โดยเฉลี่ยต่อจุด = 0.8A ดังนั้น สำหรับวงจรย่อยที่จ่ายเต้ารับ 20A ก็จะได้จำนวนเต้ารับสูงสุดต่อวงจร = 16/0.8 = 20 ชุด
แต่ในความเป็นจริงโหลดต่อจุดที่ใช้กับเต้ารับนั้นปกติจะสูงกว่า 180VA (ซึ่ง 180VA ต่อจุดนี้เป็นการคิดแบบเฉลี่ย) หากมีการใช้โหลดเต็มทุกเต้ารับ (ซึ่งหากนึกไม่ออกว่าเราใช้โหลดเสียบเต้ารับมากแค่ไหนให้มองที่บ้านเของเรา เพราะจะเห็นว่าเต้ารับที่มี เราเสียบเต็มทุกจุดเลย ไม่พอก็ต่อปลั๊กพ่วงออกไปด้วย แต่อาจจะใช้ไม่พร้อมกันหรือบ้างเต้ารับใช้มากใช้น้อยขึ้นอยู่กับโหลดที่ไปต่อ)
Reference:
Electrical Room
โฆษณา