14 ส.ค. 2019 เวลา 06:50 • ประวัติศาสตร์
สงครามจีนกับพม่า จักรพรรดิเฉียนหลงปะทะพระเจ้ามังระ
สงครามครั้งนี้เป็นสงครามระหว่างราชวงศ์ชิงของจีน และราชวงศ์โก้นบองของพม่า กินเวลาตั้งแต่ปีค.ศ.1765 -1769
เหตุการณ์ขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องหัวเมืองไทใหญ่ ซึ่งกองทัพพม่าได้รุกล้ำเข้าดินแดนไทใหญ่ จนทำให้เจ้าฟ้าไทใหญ่ไปขอความช่วยเหลือจากจีน
แต่ว่าในช่วงแรกจีนนั้นไม่ได้สนใจ เพราะคิดว่ามันเป็นเรื่องระหว่างพม่ากับไทใหญ่ ซึ่งไม่ได้มีผลกระทบต่อจีน จึงปฏิเสธที่จะช่วยเหลือด้านกองทัพ เเต่ให้การสนับสุนด้านเสบียงอาหารและอาวุธแทน
นานวันเข้า สถานการณ์ก็เริ่มรุนแรงขึ้น ทำให้ฝ่ายราชสำนักระแวงว่าพม่าอาจจะรุกล้ำเข้ามาในชายแดนของจีนได้
1
ค.ศ.1764 จีนได้ทราบข่าวว่ากองทัพพม่าได้ยกทัพใหญ่ไปทำสงครามกับสยาม ทางราชสำนักจึงเห็นโอกาสที่จะกำราบความโอหังของพม่า
1
จักรพรรดิเฉียนหลงจึงมีรับสั่งให้เสนาบดีหลิวเจ้า นำกำลังทหารชาวฮั่น 3,500 นาย ไปช่วยขับไล่กองทัพพม่าจากไทใหญ่จนสำเร็จ
จักรพรรดิเฉียนหลง
ในปีค.ศ. 1765 จีนและพม่าจึงได้เริ่มเปิดศึกกันอย่างจริงจัง ที่เมืองเชียงตุง และในตอนนั้นกองทัพจีนก็เป็นฝ่ายแพ้เนื่องจากหลงกลอุบายของแม่ทัพเนเมียวสีหตู แม่ทัพพม่าประจำเชียงตุง ซึ่งใช้อุบายหลอกให้กองทัพจีนยึดเมืองก่อน จากนั้นกองทัพพม่าก็ตัดทางหนีของกองทัพจีน ก่อนที่จะโจมตีกองทัพจีนจนแตก เสนาบดีหลิวเจ้าต้องปลิดชีวิตตนเองเพื่อหนีความอัปยศต่อแผ่นดิน
เมื่อข่าวการพ่ายแพ้ของจีน ส่งมาถึงจักรพรรดิเฉียนหลง พระองค์ทรงยอมไม่ได้ที่แคว้นป่าเถื่อนเล็กๆของพม่า จะมาหยามหมิ่นราชสำนัก
1
จึงมีรับสั่งให้หยางอิงจวี่ ขุนนางผู้ใหญ่ผู้มีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์นี้ มารับตำแหน่งแทนเสนาบดีหลิวเจ้า
หยางอิงจวี่นำทหารชาวฮั่นและไทใหญ่รวม 25,000 นาย โดยเขามีแผนที่จะขับไล่กองทัพพม่าจากไทใหญ่และมีเป้าหมายที่จะโจมตีเมืองอังวะอีกด้วย
แต่ว่าฝ่ายพม่ากลับคาดเดาสถานการณ์ได้ว่า กองทัพจีนจะต้องบุกมาโจมตีเมืองอังวะ เพื่อแก้แค้นแน่
ราชสำนักพม่าจึงวางแผนรับศึก โดยให้แม่ทัพพลามินดินมาตั้งรับที่เมืองปูเตา ริมแม่น้ำอิระวดี ซึ่งคาดว่าจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่กองทัพจีนจะต้องผ่าน หากยกทัพมาทางน้ำ
นอกจากนี้ยังให้กองทัพของมหาสีหตูและเนเมียวสีหตู คอยซุ่มระหนาบอยู่ข้างทาง และให้กองทัพของอะแซหวุ่นกี้ ตัดทางหนีของกองทัพจีน จากนั้นกองทัพพม่าก็เฝ้ารอข้าศึกอย่างใจเย็น
เป็นไปตามแผนเมื่อกองทัพจีนมาถึง จีนและพม่าสู้รบกันอย่างดุเดือด แต่เนื่องจากกองทัพจีนนั้นอ่อนกำลังจากการเดินทางพร้อมกับทหารป่วยจากไข้มาลาเรีย ในที่สุดกองทัพจีนก็พ่ายแพ้ให้กับพม่าอีกครั้ง
หลังความพ่ายแพ้ครั้งที่สอง จักรพรรดิเฉียนหลง จึงส่งกองกำลังของทหารแมนจูไปบุกพม่าอีกครั้ง เพราะคิดว่าทหารชาวฮั่นคงไม่แข็งแกร่งพอ และมีรับสั่งให้เเม่ทัพหมิงรุ่ย ซึ่งเป็นแม่ทัพผู้เคยมีประสบการณ์สู้รบกับชาวเติร์กในเอเชีย มารับตำแหน่งแทน
1
แม่ทัพหมิ่งรุ่ย นำกองกำลังมาสมทบกับกองทัพของชาวฮั่นและชาวไทใหญ่รวมเป็น50,000 นาย แต่ด้วยสภาพอากาศและป่าเขาที่ทุรกันดารของพม่า ทำให้ศักยภาพของกองทัพด้อยลง
แม่ทัพหมิงรุ่ยได้แบ่งกองทัพออกเป็น2 ส่วน โดยทัพแรกนำโดยแม่ทัพหมิงรุ่ยจะไปโจมตีทางเมืองแสนหวีก่อนล่องใต้ตามลำน้ำนัมตู และอีกกองทัพจะบุกเข้ามาตามเส้นทางเดิมของหยางจิงอวี่และล่องใต้ตามลำน้ำอิระวดี จากนั้นจะมาบรรจบกันที่เมืองอังวะ
ในตอนนั้น ด้านฝ่ายพม่าเองก็มีความกังวลเนื่องจาก กองทัพใหญ่ของพม่ายังติดศึกอยู่ที่สยาม จึงทำให้มีกำลังพลไม่เพียงพอ ราชสำนักพม่าจึงให้กองทัพเนเมียวสีหตู และกองทัพอะแซหวุ่นกี้กับมหาสีหตูเป็นฝ่ายรับศึกจากกองทัพจีนแทน
ค.ศ. 1767 กองทัพจีนได้ยึดเมืองแสนหวีเป็นที่ตั้ง และบุกต่อไปจนสามารถโจมตีกองทัพของพม่าได้ กองทัพพม่าถอยทัพจนอยู่ห่างจากเมืองอังวะเพีงเเค่30ไมล์เท่านั้น
แต่ว่าฝ่ายกองทัพจีนในตอนนั้นก็มีกำลังเหลือน้อยเกินกว่าที่บุกเมืองอังวะได้ ประกอบกับกองทัพสำรองที่ตั้งอยู่ที่เมืองแสนหวี ก็อยู่ไกลเกินกว่าจะมาสมทบได้
จึงเป็นโอกาสให้กองทัพของอะแซหวุ่นกี้ ซึ่งซุ่มโจมตีอยู่เมืองอังวะโจมตีกองทัพจีนกลับ กองทัพจีนเสียหายจากการถูกโจมตีจึงถอยทัพกลับยูนนาน
ในขณะนั้นเองกองทัพใหญ่ของพม่าเสร็จศึกจากอยุธยากลับมาพอดี จึงสมทบกำลังพลกับกองทัพของอะแซหวุ่นกี้เข้ายึดเมืองแสนหวีคืนจากกองทัพจีนได้สำเร็จ
เป็นการตัดทางหนีของกองทัพจีน ด้านกองทัพจีนก็อ่อนกำลังลงมากเนื่องจากไข้มาลาเรีย จะบุกเมืองอังวะก็ทำไม่ได้ จะกลับยูนนานก็ทำไม่ได้ จึงทำให้ศึกอันดุเดือดครั้งนี้ กองทัพจีนต้องพ่ายแพ้ให้กับกองทัพพม่าอีกครั้ง แม่ทัพหมิงรุ่ยก็เลือกที่จะผูกคอตายในพม่า เนื่องจากไม่มีหน้ากลับไปแผ่นดิน
2
ความพ่ายแพ้ครั้งที่3นี้ ทำให้จักรพรรดิเฉียนหลงโกรธมาก จึงรวบรวมแม่ทัพฝีมือดีหลายคนเพื่อเตรียมบุกพม่าครั้งที่4
และครั้งนี้กองทัพจีนก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้กองทัพพม่าอีกเช่นเคยทั้งด้านทางบกและทางน้ำ อีกทั้งยังเกิดโรคระบาด ทำให้กองทัพจีนต้องล่าถอย
การสู้รบยืดเยื้อมาถึงปีค.ศ. 1769 ฝ่ายพม่าก็ได้ส่งทูตมาเจรจาของสงบศึก ฝ่ายจีนก็เหนื่อยล้าเช่นกัน จึงตัดสินใจยอมรับการสงบศึก ถึงแม้ว่าพระเจ้ามังระและจักรพรรดิเฉียนหลงจะไม่พอใจที่ต้องสงบศึก แต่ทั้ง2พระองค์ก็เล็งเห็นว่าหากทำศึกต่อไปก็จะมีแต่ผลเสีย
หลังจากนั้น20ปี จีนและพม่าได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตอีกครั้ง โดยพม่ายอมส่งบรรณาการให้จีนก่อน
ทำให้จักรพรรดิเฉียนหลงอ้างชัยชนะครั้งนี้ว่า จีนเป็นฝ่ายชนะ
สุดท้ายนี้เพียวต้องขอโทษท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เขียนบทความ เป็นเพราะว่าช่วงนี้เพียวเพิ่งเรียนจบ จึงวุ่นวายอยู่กับการหางาน แต่ก็จะพยายามเขียนบทความดีๆออกมาเรื่อยๆนะคะ🙏
โฆษณา