Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บันทึกของฉัน
•
ติดตาม
14 ส.ค. 2019 เวลา 23:30
“ NESCAFÉ Dolce Gusto ” เมื่อเทคโนโลยี สิงสู่ มาอยู่ในกาแฟ
ถ้าจะให้ไล่ชื่อแบรนด์ ที่ขายกาแฟแบบซอง ชื่อ “Nescafé” หรือที่คนไทยเรียกติดปากกันว่า “เนสกาแฟ” ก็คงจะถูกเอ่ยถึงเป็นอันดับต้นๆ
แต่รู้ไหมว่า Nescafé นั้น ไม่ได้ทำแต่กาแฟขายเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงเครื่องทำกาแฟด้วย
ซึ่งเครื่องทำกาแฟนี้ จะทำให้กาแฟแก้วโปรดของคุณ พิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม..
มันพิเศษแค่ไหนกัน เดี๋ยวบันทึกของฉันจะพาไปดู
ทุกอย่างเริ่มต้นในปี 1938
ในปีนั้น Nestlé ได้เริ่มจำหน่ายกาแฟแบบผงเป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อแบรนด์ใหม่ ที่เริ่มคิดค้นและพัฒนามาตั้งแต่ปี 1930
ด้วยความที่พกพาง่ายและรสชาติอร่อย ทำให้มันเป็นที่นิยมมากในหมู่ทหาร ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
และนั่นเองจึงเป็นจุดเริ่มต้น และการแจ้งเกิดของกาแฟที่มีชื่อว่า “Nescafé”
จนเวลาล่วงเลยมาจนถึงปี 1976
คุณ Eric Favre วิศวกรและลูกจ้างของ Nestlé ในตอนนั้น
ได้คิดค้นและจดสิทธิบัตร วิธีการทำกาแฟแบบใหม่ที่แตกต่างออกไปจากเดิม
โดยเป็นผู้ริเริ่มการนำกาแฟมาใส่ไว้ในถ้วยพลาสติกเล็กๆ และซีลฝาถ้วยให้สนิท ซึ่งจะทำให้เก็บไว้ได้นาน โดยที่คุณภาพยังคงดีอยู่
เมื่อต้องการทานกาแฟ เพียงแค่นำถ้วยเล็กๆนี้ไปใส่ในเครื่องที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ คุณก็จะได้กาแฟพร้อมทานคุณภาพดี ที่ยังคงเอกลักษณ์และความสดเอาไว้ได้
แคปซูลที่ใช้แล้ว | ภาพ : Wikipedia
โดยเครื่องที่ว่านี้ จะทำงานโดยการอัดน้ำร้อนแรงดันระหว่าง 9 - 19 บาร์ ผ่านฝาถ้วยจากด้านบน
น้ำร้อนจะไหลผ่านส่วนผสมต่างๆ และหยดออกมาเป็นกาแฟที่รูด้านล่างของถ้วย ซึ่งวิธีการนี้คล้ายกับวิธีการทำกาแฟแบบ Espresso
และเมื่อเริ่มทำการตลาด Nestlé จึงตั้งชื่อให้ระบบนี้ว่า “Nespresso”
ระบบ Nespresso จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ เครื่องทำกาแฟ(Machines) และ ถ้วยส่วนผสม หรือที่เรียกกันว่า Capsules
แคปซูลขนาดเล็ก ที่ภายในอัดแน่นไปด้วยส่วนผสมของกาแฟต่างๆ จะถูกปิดฝาซีลทันทีด้วยวิธีการ Hermetic seal ซึ่งเป็นการซีลที่อากาศจะไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ ทำให้คงความสดใหม่ของกาแฟไว้ได้นาน
โดยหลังจากการทดลองขายครั้งแรก มันยังไม่ประสบความสำเร็จนัก
แต่ Nestlé ก็ไม่ยอมแพ้ และทยอยปรับปรุงมาเรื่อยๆ
จนถึงปี 1986 Nespresso ถูกนำไปวางขายอย่างจริงจัง เริ่มที่ ญี่ปุ่น ตามมาด้วย สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และอิตาลี
หลังจากนั้นเป็นต้นมา Nespresso ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนมี concept store กว่า 700 หน้าร้านในปัจจุบัน
และด้วยแรงดึงดูดแห่งกาแฟ เหล่าบริษัทอื่นๆ ต่างก็จ้องจะทำสินค้าลักษณะเดียวกันมาขายบ้าง
แต่ทว่า บริษัทเหล่านั้นก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากสิทธิบัตรและเทคโนโลยีทั้งหมดของโครงการนี้กว่า 1700 ฉบับ ยังไม่หมดอายุคุ้มครองง่ายๆ
ทางด้าน Nestlé เองก็คงไม่อยากแบ่งเค้กชิ้นนี้ให้ใครเช่นกัน
ก่อนที่สิทธิบัตรเหล่านี้จะเริ่มทยอยหมดอายุในปี 2012 ทางบริษัทจึงแก้เกมด้วยการยกระดับภาพลักษณ์สินค้าของตน และพยายามทำให้ราคาเครื่องถูกลงกว่าเดิม
ทั้งปรับแบรนด์เป็น NESCAFÉ Dolce Gusto เปิดช่องทางออนไลน์ พัฒนารสชาติที่หลากหลายขึ้น รวมถึงปรับปรุงเครื่องทำกาแฟให้ทำเครื่องดื่มเย็นอย่าง ช็อคโกแลตและชาเขียวได้อีกด้วย
จนถึงในปัจจุบัน ถ้าให้นึกถึงเครื่องทำกาแฟอัตโนมัติ
Nescafé ก็ทิ้งนำคู่แข่งไปหลายก้าวแล้ว
แต่ของทุกอย่าง มีด้านดี ก็ต้องมีด้านเสียเสมอ
โดยการใช้ Capsules เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง ทำให้เกิดขยะปริมาณมาก
ถึงแม้ว่าทาง Nescafé จะมีโปรแกรมรับแคปซูลกลับ เพื่อนำไปรีไซเคิล
แต่จากรายงานการสำรวจ มีเพียง 24% เท่านั้นที่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
ยิ่งเมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตกว่า 2 หมื่นล้านถ้วยต่อปี..
นั่นไม่ใช่จำนวนน้อยๆเลย สำหรับปริมาณขยะที่เกิดขึ้น
ซึ่งสุดท้ายแล้ว
ทุกอย่างก็คงขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้เอง ว่าจะเลือกทานกาแฟกันแบบไหน
ส่วนผม ขอตัวไปนั่งจิบโอเลี้ยงที่ก่อนนะครับ..
ปิดท้ายด้วยเกร็ดความรู้จากกาแฟ
แต่เดิม Espresso ไม่ได้เป็นชื่อชนิดของกาแฟ หรือชื่อเมล็ดพันธุ์ แต่เป็นวิธีการทำกาแฟโดยการใช้น้ำร้อนอัดผ่านเมล็ดกาแฟบด ด้วยแรงดันประมาณ 9 บาร์(เป็นอย่างน้อย) ซึ่งจะให้รสชาติต่างจากการชงแบบปกติ
Reference
>
https://nescafeclub.popsho.ps/our-coffee/
>
https://gizmodo.com/espresso-101-the-methods-and-machines-behind-the-perfe-484457706
>
https://eatlittlebird.com/coffee-beans-vs-coffee-capsules/
>
https://en.wikipedia.org/wiki/Nescaf%C3%A9
>
https://en.wikipedia.org/wiki/Hermetic_seal
>
https://en.wikipedia.org/wiki/Nespresso#cite_note-37
>
https://nescafedolcegusto.popsho.ps/th/machines/minime-white-free-espresso-intenso-espresso-glasses.html
13 บันทึก
43
14
13
13
43
14
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย