16 ส.ค. 2019 เวลา 00:44 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เครนก่อสร้างหัก หล่นทับนักเรียน อาการสาหัส
เครนล้มทับคนงานก่อสร้าง
เครนหักล้มทับแท๊กซี่ ผู้โดยสารรอดเพราะนอนหลับ
ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้ แอดมิน ได้ยินข่าวเครน ล้มหรือหักบ่อยครั้ง
หลายครั้งที่เกิดความเสียหาย โชคดีที่เสียหายแค่ทรัพย์สิน แต่หลายครั้งก็โชคร้าย ทำให้เกิดความเสียหายถึงชีวิต
เท่าที่สืบค้นมา แอดมินพบว่า จริงๆ แล้วการใช้งานเครน จะมีการตรวจสอบการรับน้ำหนักสูงสุดของเครน
ต้องมีการขออนุญาต การใช้เครน กำหนดให้มีวิศวกรประจำในการดูแล
แต่การตรวจสอบสภาพเครน ยังไม่มีการบังคับ
ในฐานะวิศวกรวิเคราะห์ความเสียหาย ประเด็นที่แอดมินอยากชวนคุยคือ
การตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครน ด้วยเทคนิค NDT (Non Destructive Testing)
กับ
การวิเคราะห์ความเสียหายของเครน
การหักของเครนนั้น หลายเคสที่ แอดมินเห็นรอยแตกผ่านภาพข่าว แม้จะเห็นได้ไม่นาน แต่พบว่าหลายครั้งที่เห็น
จะพบความเสียหายจากการล้า เนื่องจากเห็นลักษณะชัดเจนของการขยายตัวแบบ Beach Mark บนผิวแตก
แต่จากในภาพข่าวแอดมิน ไม่เคยเห็นการวิเคราะห์ผ่านรอยแตกเลย
วันนี้เลยเอาตัวอย่างการความเสียหายของเครนจากต่างประเทศมาให้แลกเปลี่ยนกัน
จากรูปเครนที่เกิดความเสียหาย จะพบว่าบริเวณที่เกิดการเสียรูป เกิดในตำแหน่งที่น่าจะเกิดแรงดัดสูงสุดในระหว่างการทำงาน (รูปที่ 1)
แต่เมื่อเราวิเคราะห์ที่ตำแหน่งที่เกิดการเสียรูป เราพบว่า บริเวณที่เกิดการเสียรูป พบรอยแตกร้าวเกิดขึ้น และพบร่องรอยผิวแตกแบบ Beach Mark (บริเวณสีเข้มของรอบแตก)
นั้นหมายถึงชิ้นงานเกิดความเสียหายจากกลไกความล้า โดยจุดเริ่มต้นรอยแตกมาจากบริเวณผิวด้านใน
การที่เครนเสียหายจากการล้า นั้นหมายถึง หากมีการตรวจสอบด้วยเทคนิค NDT
ปัญหาการเสียหายของเครนระหว่างการใช้งาน ย่อมป้องกันได้ !!!
และเมื่อเราพิจารณาที่บริเวณจุดเริ่มต้นรอยแตก ก็พบว่า
บริเวณจุดเริ่มต้นรอยแตก พบร่องรอยของการกัดกร่อน
ดังนั้น การป้องกันการกัดกร่อนในระหว่างการผลิตหรือการใช้งาน ย่อมทำได้เช่นเดียวกัน
จากเคสนี้ แอดมินคิดว่า ปัญหาเครนถล่มในประเทศไทยเรา
ควรมีการเรียนรู้จากความเสียหายทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม และเรียนรู้จากมัน
เพราะตอนนี้ในกรุงเทพฯ แทบทุกพื้นที่เราจะพบเครนก่อสร้างมากมาย ทั้งคอนโด และรถไฟฟ้า
และไม่มีใครรู้ ว่าเมื่อไหร่ ? (เพราะผมก็ไม่แน่ใจว่ามีการตรวจสอบ 100%)
เครนที่อยู่รอบๆ ตัวเรา จะไม่ล้มทับ ใส่ผม ใส่คุณหรือคนที่เรารัก
และผมคิดว่ามันคงจะดีกว่า หากเราช่วยกันผลักดันให้มีการตรวจสอบเครนก่อนการใช้งาน!!
#เหล็กไม่เอาถ่าน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา