16 ส.ค. 2019 เวลา 06:43 • การศึกษา
รหัสมอร์ส ที่มาและการถอดรหัส
รหัสมอร์ส (Morse code) คือวิธีการส่งข้อมูลด้วยการใช้รูปแบบสัญลักษณ์สั้นและยาวที่กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานไว้แล้ว
ซึ่งมักจะแทนด้วยเครื่องหมายจุด (.) และ เครื่องหมายขีด (-) ผสมกันเป็นความหมายของตัวหนังสือ ตัวเลข และเครื่องหมายพิเศษต่างๆ บางครั้งอาจเรียกว่า CW ซึ่งมาจากคำว่า Continous Wave
รหัสมอร์ส (Morse Code) คือการติดต่อสื่อสารในรูปแบบสัญลักษณ์ แทนข้อมูลด้วยขีดสั้นและขีดยาว
ขีดสั้น (.) แทนคำว่า ดิ (Di)
ขีดยาว (-) แทนคำว่า ดา (Dah)
นำมาผสมผสานกันเป็นตัวอักษรแต่ละตัวตามมาตรฐานสากล ดังนี้
https://www.boxentriq.com/code-breaking/morse-code
หลักการจำเทียบตัวอักษร
http://learnmorsecode.info/tag/morse-code/
รหัสมอร์สถูกคิดค้นขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ. 1830 (พศ. 2373) โดย ซามูเอล ฟินเลย์ บรีส มอร์ส (Samuel Finley Breese Morse) ชาวอเมริกา
Samuel Finley Breese Morse (1791 - 1892)
ที่ผ่านมาใช้รหัสมอร์สในการสื่อสารระยะไกลแทนข้อความหรือตัวอักษรโดยเฉพาะระบบโทรเลข และกำหนดให้เป็นมาตรฐานระดับนานาชาติภายใต้ชื่อรหัสมอร์สสากล โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
แต่ในหมู่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงยังใช้รหัสนี้เพื่อส่งข่าวสารในยามคับขันด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ใช้ไฟกะพริบ การเคาะจังหวะ หรือแม้แต่การกะพริบตา
รหัสมอร์สใช้แพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้จะเลิกใช้ไปแล้วเนื่องจากมีวิธีติดต่อสื่อสารอื่นที่สะดวกกว่า
รหัสมอร์สในปัจจุบัน
ปัจจุบันยังมีการใช้งานรหัสมอร์สอย่างมากในวงการวิทยุสมัครเล่น การติดต่อบางรูปแบบรหัสมอร์สยังสามารถใช้งานได้ดีที่สุด เช่นการติดต่อ สะท้อนออโรรา เป็นต้น
ข้อดีอีกประการของการติดต่อแบบรหัสมอร์สผ่านวิทยุสื่อสารคือ ใช้แถบความถี่น้อยมากเมื่อเทียบกับการสื่อสารระบบอื่น ๆ เป็นการประหยัดความถี่ สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้โดยไม่มีการรบกวนกัน
วิวัฒนาการรหัสมอร์สของประเทศไทย
ซึ่งของไทยเราก็มีการใช้รหัสมอร์ส จุดเริ่มต้นของรหัสมอร์สในประเทศไทยคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕
พระองค์ท่านได้ทรงนำระบบโทรเลขรหัสมอร์สเข้ามาใช้ ระยะเริ่มแรกของรหัสมอร์สเป็นตัวอักษรโรมันทำให้การสื่อสารล่าช้าและเกิดความผิดพลาดได้เมื่อต้องการส่งข้อความภาษาไทย
จึงได้มีการคิดค้นรหัสมอร์สภาษาไทยขึ้นและประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๕ (ค.ศ.1912)
รหัสมอร์สตามตัวอักษรไทย
การนำไปใช้งาน รหัสมอร์สได้ถูกนำไปใช้งานหลายด้านดังนี้
1. การสื่อสารด้านโทรเลข
การส่งโทรเลขเป็นการนำรหัสมอร์สมาใช้ทั้งแบบที่ส่งสัญญาณตามสาย และแบบที่ส่งสัญญาณเป็นคลื่นวิทยุ โดยเฉพาะบริการโทรเลขเชิงพาณิชย์
ในระยะแรกใช้หลักการรหัสสัญญาณสั้นกับยาวแทนตัวอักษรจึงต้องมีพนักงานโทรเลขที่ท่องจำรหัสมอร์สได้เป็นอย่างดี
แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นหลักการของสัญลักษณ์จุดและขีดที่สามารถใช้เครื่องมือส่งและรับได้อัตโนมัติทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/182/Telegraph13.gif
2. วิทยุสมัครเล่น
การสื่อสารของวิทยุสมัครเล่น (Armature Radio) ใช้รหัสมอร์สเรียกว่า “Ham Radio” โดยมีคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร (Federal Communication Commission:FCC)
ควบคุมดูแล มีการนำไปใช้งานในหลายด้านเช่น การติดต่อสื่อสารกันเพื่อสร้างมิตรภาพ การช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยพิบัติ การช่วยให้นักวิทยุสมัครเล่นต่างชาติสามารถสื่อสารกันได้ง่ายขึ้นด้วยภาษากลางคือรหัสมอร์ส เป็นต้น
โดยใช้หลักการของรหัสมอร์สในการส่งสัญญาณเสียงจากโทนเสียงที่มีอยู่ในเครื่องรับส่งวิทยุหรือวงจรกำเนิดเสียงซึ่งใช้จังหวะเสียงสั้นแทนจุดและเสียงยาวแทนขีด ทำให้นักวิทยุสมัครเล่นต้องชำนาญในการฟังรหัสมอร์สเพื่อตีความออกมาเป็นข้อความต่อไป
3. รหัสมอร์สเสมือนกับโทรศัพท์เคลื่อนที่
โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำหลักการเชิงสัญลักษณ์คล้ายกับรหัสมอร์สมาใช้ในการส่งข้อความสั้น (Short Message Service : SMS) และฟังก์ชันการทำงานอื่นๆ
ด้วยการกดแป้นพิมพ์รวมทั้งการกำเนิดสัญญาณเสียงและจากการสั่นของเครื่องก็สามารถนำมาใช้แทนความหมายของข้อความได้ เช่น การใช้แป้นพิมพ์ที่มีจำนวนจำกัดถึงสัญลักษณ์ที่มีจำนวนมากกว่าจึงใช้การกดแป้นพิมพ์ที่แตกต่างกัน ของจำนวนครั้งและระยะเวลาแทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้
เช่นเดียวกับขีดสั้นยาวของรหัสมอร์ส เช่น การกดปุ่มเพื่อสร้างตัวอักษร “ร” รวมทั้งการสั่นของเครื่องเมื่อมีสัญญาณเรียกเข้า วัตถุประสงค์ต่างๆ อาจแทนได้ด้วยระยะเวลาสั้นยาวของการสั่น เป็นต้น
4. การสื่อสารทางทะเล
หลักการเชิงสัญลักษณ์ คล้ายกับรหัสมอร์สได้ถูกนำไปใช้งานในการสื่อสารทางทะเล เพื่อติดต่อสื่อสารกันระหว่างเรือ
เช่น ในเวลากลางวันใช้สัญญาณธงและสัญญาณเสียง ดังตัวอย่าง การส่งข้อความ “ขอความช่วยเหลือ” หรือ “SOS” ซึ่งประกอบด้วยสัญญาณเสียงสั้นสามครั้ง
สัญญาณเสียงยาวสามครั้งและตามด้วยสัญญาณเสียงสั้นสามครั้ง เป็นต้น
SOS (••• - - - •••)
ส่วนเวลากลางคืนอาจใช้การส่งสัญญาณไฟที่สามารถสังเกตเห็นได้ในระยะไกลซึ่งการส่งสัญญาณสั้นจะใช้การเปิดแผงกั้นโคมไฟแค่เสี้ยวนาที และการส่งสัญญาณยาว จะเปิดให้นานขึ้นหรืออาจมีการใช้งานผสมกับสื่อแบบฟังแบบใช้เสียง และแสงก็ได้
ยังเคยมีการใช้การกระพิบตาเป็นรหัสมอร์ส
นาย Admeral Jeremiah เชลยศึกชาวอเมริกา ที่ถูกเวียดนามจับไปในสงครามเวียดนาม
เขาได้กระพิบตาเป็นรหัสมอร์สว่า “T-O-R-T-U-R-E” ซึ่งแปลว่า “ทรมาน”
จะเห็นว่ารหัสมอร์สก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ในการสื่อสารอีกแบบ ใครมีการใช้รหัสมอร์สแบบไหนอย่างไรหรือเคยเจอแบบไหนมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้นะครับ
ผมก็ชื่นชอบในรหัสมอร์ซึ่งพบเห็นได้ตามในหนังต่างๆ
ท้ายนี้อย่างลองให้ถอดรหัสมอร์สคำนี้ดู ถ้ารู้แล้วลองพิมพ์ใน comment เลยครับ
รู้แล้วลองพิมพ์ใน comment เลยครับ
ถ้าชอบอย่าลืมกดติดตามเพื่อที่จะไม่พลาด content ที่น่าสนใจ
โฆษณา