16 ส.ค. 2019 เวลา 11:04 • ความคิดเห็น
ประชานิยมที่คนไทยรู้จักส่วนใหญ่นั้น คือ ประชานิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Populism) หมายถึง นโยบายเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือการกระจายรายได้ โดยมุ่งใช้จ่ายมากกว่าหารายได้ ส่งผลให้เศรษฐกิจจะเติบโตในระยะสั้น แต่จะส่งผลเสียในระยะยาว โดยเฉพาะวินัยทางการคลัง
ซึ่งนโยบายประชานิยมทางเศรษฐกิจไม่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน เนื่องจาก ปัญหาเศรษฐกิจของไทย อ่อนแอจากเชิงโครงสร้าง อีกทั้งอุปสงค์ครัวเรือนหดตัวจากความไม่กล้าใช้จ่าย เนื่องจากหนี้ครัวเรือนมหาศาล และความไม่มั่นใจในอนาคต หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป ไม่ว่าจะใช้นโยบายประชานิยมเชิงเศรษฐกิจด้วยงบประมาณมหาศาลเท่าไร ก็ไม่ต่างจากการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
ประชานิยมทางเศรษฐกิจ ที่มุ่งเน้นการแจก ไม่ว่าจะเอาใจประชาชนกลุ่มใด หรือฐานเสียงตนเอง เป็นอีกหนึ่งผลพวงจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่ต้องการไม่ให้เกิดรัฐบาลเสียงข้างมาก แต่ได้รัฐบาลผสมเสียงปริ่มน้ำ ซึ่งไม่ค่อยมีเสถียรภาพ ดังนั้นการขับเคลื่อนทางนโยบายเพื่อมุ่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างจึงเป็นไปได้ยากอย่างยิ่ง
ในความคิดของเรา หากถามว่า ควรแจกหรือไม่ ขอตอบเลยว่า “ไม่” ด้วยเหตุผลดังนี้ เงินที่แจกนี้เสมือนเงินให้เปล่า ไม่ทำให้ความสามารถในการผลิต การจ้างงาน การพัฒนาความรู้ความสามารถเกิดแต่อย่างใด หลังการแจกเงินให้เปล่า สภาวะเศรษฐกิจจะเหมือนก่อนแจก ขอถาม รฐบ. คืนว่า ท่านจะแจกเช่นนี้ตลอดไป โดยไร้มาตรการพัฒนา ยกระดับ ศก ทั้งระยะกลาง และยาวรึ การแจกเช่นนี้จะทำให้ประชาชนคอยรับเงินจากรัฐหรือไม่
นโยบายนี้ เป็นการใช้งบกลาง และ งบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบมากขนาดนี้แต่ไม่ผ่านสภา เหมาะสมหรือไม่
เคยเขียนไว้
ไม่ได้ชังชาติแต่ประการใด แต่ตัองการให้แก้ปัญหาให้ตรงจุด ไม่เน้นเพียงการแจก และปัญหาใหญ่ ที่รฐบ.นี้ต้องกังวลคือ Recession
โฆษณา