Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
World Time @ Story and History
•
ติดตาม
17 ส.ค. 2019 เวลา 13:47 • ประวัติศาสตร์
⭐️⭐️จุดเริ่มต้น ที่ทำให้ญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกมาลงทุนอุตสาหกรรม ในประเทศไทย และอาเซียน ครั้งแรกในโลก ก่อนหน้านี้ !?! ญี่ปุ่นไม่เคยตั้งโรงงานนอกประเทศ
เพราะ!!! สงครามการค้า ระหว่าง สหรัฐอเมริกา กับ ญี่ปุ่น
แต่ทำให้คนญี่ปุ่นรวยขึ้นจนติดอับดับ 1 ของโลก
“ แต่มันคือระเบิดเวลา ที่รอวันทำงาน ” หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ไม่สามารถขึ้นมาแข่งกับสหรัฐอเมริกา ได้อีกเลย
⭐️⭐️ผู้ขาดดุลรายใหญ่ที่สุดก็คือ “ สหรัฐอเมริกา ”เรื่องนี้นำไปสู่ข้อตกลงพลาซ่า (Plaza Accord) ณ.โรงแรมพลาซ่า ที่นครนิวยอร์ก ในวันที่ 22 กันยายน ปี 1985
สหรัฐประสบภาวะขาดดุลการค้าถึงร้อยละ 3.5 ของมูลค่าเศรษฐกิจประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากสินค้าอเมริกาถูกประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆชิงส่วนแบ่งในตลาดโลกเป็นจำนวนมาก
รัฐบาลของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน จึงวางแผนที่จะลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐลงเพื่อให้สินค้าของสหรัฐในสายตาของชาวโลกมีราคาถูกลง ที่มาของข้อตกลงนี้ ก็คือเมื่อช่วงปี 1980 – 1985 นั้น “ค่าเงินดอลล่าร์” ของอเมริกานั้นแข็งค่าขึ้นมากถึง 50% เมื่อเทียบกับเงินของ ประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมันตะวันตก และ ญี่ปุ่น
⭐️⭐️เงินดอลลาร์แข็งค่า( มีผลจากการบังคับ “เปโตรดอลล่าร์” ) เงินดอลล่าร์จึงถูกซื้อไปเก็บไว้ในทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศมาก )
ส่งผลต่อ “การส่งออก” ของสินค้อุตสาหกรรมของ “อเมริกา” ในตลาดโลก ผู้ผลิตสินค้าและบริการ เช่น ผู้ส่งออกเมล็ดพันธุ์ ผู้ผลิตรถยนต์ และเครื่องจักรกลหนักขนาดใหญ่ CAT รวมทั้งผู้ผลิตสินค้าไฮเทคอย่าง ไอบีเอ็มและโมโตโรล่า ต่างเดือดร้อนขายของไม่ได้
1
เหตุการ์ณประท่วงในสหรัฐอเมริกา ก่อนสัญ"Plaza Accord"
⭐️⭐️นักธุรกิจเหล่านั้น จึงได้รวมกันกดดันให้สภาคองเกรสออกกฏหมายคุ้มครองการค้าดังกล่าว และนำไปสู่การเกิด “ข้อตกลงพลาซ่า” ดังกล่าว ที่กระทำต่อสี่ประเทศโดยเหตุผลเพื่อเอื้อหนุนลดค่าเงินนั้น จะทำให้เศรษฐกิจของอเมริกาฟื้นตัวได้ หลังจากช่วงปี 1970-1980 ถดถอยมาตลอด
⭐️⭐️เมื่อรัฐมนตรีการคลังของสหรัฐอเมริกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ของ 4 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ เยอรมนีตะวันตก ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น เข้าร่วมตกลงตามสัญญา Plaza Accord
💡💡ซึ่งทั้ง 4 ประเทศได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกา
จากซ้าย คือแกร์ฮาร์ดสโตลเทนเบิร์กแห่งเยอรมนีตะวันตก ปิแอร์เบรโกวอยแห่งฝรั่งเศส เจมส์เอ. เบเกอร์ III แห่งสหรัฐอเมริกา ไนเจลลอว์สันแห่งสหราชอาณาจักร และโนโบรุทาเคชิตะแห่งญี่ปุ่น
⭐️⭐️ได้แถลงข้อตกลงร่วมกันเพื่อลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับสกุลเงินของ 4 ประเทศ
เพื่อช่วยลดการขาดดุลการค้าของสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดการขึ้นเงินมาค(เยอรมัน)และเงินเยน(ญี่ปุ่น) ที่ทั้งสองประเทศต่างขายสินค้าให้อเมริกามากกว่านำเข้า สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ญี่ปุ่นต้องลดต้นทุนการผลิตโดยแจกจ่ายการผลิตและผลของข้อตกลงนี้ จะทำให้ “ ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นแข็งขึ้นเกือบ 2 เท่า ’’ ในทันที
⚡️ในปี 1985 เงิน 242 เยน มีค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
⚡️ในปี 1986 เงิน 153 เยน มีค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
⚡️ภายใน 1 ปี หลังข้อตกลง ทำให้ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นแข็งขึ้น 63.2 เปอร์เซนต์
⭐️⭐️ข้อตกลงครั้งนี้ทำให้ระหว่างปีค.ศ. 1985 ถึง 1987 เงินดอลลาร์สหรัฐมีค่าลดลงร้อยละ 51 เมื่อเทียบกับเงินเยน ชาวญี่ปุ่นและเยอรมนีสามารถซื้อหาสินค้าจากต่างประเทศได้ในราคาถูกลงเกือบเท่าตัว บริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากเข้าซื้อกิจการในสหรัฐเป็นว่าเล่น
💡💡นั้นเป็นการตั้งใจและวางแผนมาเป็นอย่างดีของสหรัฐ
โดยที่สหรัฐอเมริกาคาดหวังว่า สินค้าส่งออกจากประเทศของตน จะมีราคาถูกลงส่วนสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าญี่ปุ่นจะมีราคาแพงขึ้น สินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่นในสายตาของชาวโลกกลับมีราคาแพงขึ้นเท่าตัว ส่วนสินค้าของสหรัฐในสายตาชาวโลกมีราคาถูกลงมาก
⭐️⭐️อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกดูเหมือนสินค้าญี่ปุ่นจะยังคงขายได้แม้ว่าจะมีราคาแพงขึ้นมาก ทั้งนี้เนื่องจากคุณภาพสินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่นมีความโดดเด่นจนไม่อาจหาสินค้าจากที่อื่นมาทดแทน แต่ในระยะยาวแล้ว อัตรากำไรของภาคการผลิตในญี่ปุ่นลดลงเรื่อยๆ ทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นไปยังประเทศอื่นมากมาย หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นต้องปลดคนงานราว 1 ใน 3 ภาคการผลิตจริงของญี่ปุ่นเริ่มไม่ทำกำไร
1
💡💡ญี่ปุ่นหันมาปรับการบริหารให้คล่องตัวและใช้กลยุทธ์ลดต้นทุนการผลิต ด้วยการโยกย้ายฐานการผลิตชิ้นส่วนที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลางและระดับล่างไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่าใน
⚡️⚡️ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน อย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น
⭐️⭐️ญี่ปุ่นจะเป็นผู้กำหนดว่าประเทศใดจะผลิตชิ้นส่วนอะไร ญี่ปุ่นจะเป็นผู้คัดเลือกว่าประเทศใดจะเป็นที่ประกอบขั้นสุดท้าย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน
💡💡ตัวอย่างเช่นชิ้นส่วนที่มีความปราณีตต้องมาผลิตที่ไทย จึงเป็นที่มาของ Pax Nipponica
แต่ส่วนญี่ปุ่นจะผลิตแต่ชิ้นส่วนสำคัญ ๆ ไม่กี่ชิ้น ทำให้เกิดการลงทุนของเงินญี่ปุ่นกระจายตัวในภูมิภาคอาเซียน จึงได้เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของญี่ปุ่นครั้งนี้
1
⭐️⭐️ประเทศอาเซียนก็ได้รับทั้งเทคโนโลยี และเงินทุน เพื่อปรับปรุงการผลิต และคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
ขณะที่ญี่ปุ่นก็ได้รับแรงงานราคาถูก และฐานลูกค้าใหม่จำนวนมหาศาลที่จะซื้อสินค้าสัญชาติญี่ปุ่นที่ผลิตออกมา
⚡️แต่กรณีนี้ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่น และสินทรัพย์อื่นๆ ที่ใช้เงินเยนเป็นฐานมีราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ สำนักงานวางแผนเศรษฐกิจญี่ปุ่นคำนวณว่าราคาที่ดินในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเล็กกว่าสหรัฐอเมริกาเกือบ 30 เท่า แต่มีมูลค่าสูงกว่าที่ดินสหรัฐอเมริกา 4 เท่า คิดจากที่ดินทั้งประเทศ..
⭐️⭐️นอกจากนั้น บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ต่างแห่กันออกไปซื้อกิจการ และอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ
บริษัท Sony เข้าซื้อกิจการของบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ Columbia Pictures
กลุ่ม Mitsubishi เข้าซื้ออาคารใหญ่ใจกลางนครนิวยอร์กอย่าง Rockefeller Center
แม้แต่บุคคลที่รวยที่สุดในโลกในปี 1987 ก็เป็นชาวญี่ปุ่นเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นามว่า Yoshiaki Tsutsumi
Yoshiaki Tsutsumi บุคคลที่รวยที่สุดในโลกในปี 1987
☀️☀️ชาวญี่ปุ่นมีจำนวนเพียงครึ่งเดียวของชาวอเมริกัน แต่มีขนาด GDP เกือบ 2 ใน 3 ของสหรัฐอเมริกา
ประเทศที่มีขนาด GDP มากที่สุดในปี 1989 เมื่อเทียบเป็นมูลค่าในปี 2018
⚡️สหรัฐอเมริกา 363.3 ล้านล้านบาท
⚡️ญี่ปุ่น 195.9 ล้านล้านบาท
⚡️สหภาพโซเวียต 129.9 ล้านล้านบาท
⚡️เยอรมนีตะวันตก 80.7 ล้านล้านบาท
⚡️ฝรั่งเศส 66.2 ล้านล้านบาท
1
⭐️⭐️ผลจากข้อตกลงพลาซ่าในครั้งนั้น ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเข้าสู่ช่วง “ฟองสบู่” ในช่วงปี 1986 – 1991 เมื่อค่าเงินแข็งมีการนำเงินไปซื้อกิจการลงทุน ออกเงินกู้มากมายแบบไม่มีการคัดกรอง ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศ ส่วนหนึ่งเพื่อชดเชยตลาดส่งออกต่างประเทศที่ลดลง ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ และซื้อหุ้นมากมาย จนสุดท้าย ตลาดหุ้นพังการซื้อขายลดไปครึ่งหนึ่งของในจุดสูงสุดในเดือนสิงหาคม ปี 1991 และตามมาด้วยราคาอสังหาริมทรัพย์ บ้านที่ดิน และทรัพย์สินต่างๆก็กลับตกฮวบต่ำลงมาสู่ราคาที่เป็นจริงหลังยุคฟองสบู่ที่สูงลิบลิ่ว หนี้เงินกู้ที่ปล่อยออกไปเป็นหนี้เสีย NPL มากมาย ทำให้ระบบการเงินของประเทศชะงักและพิการ และตามมาด้วยวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นในปี 1992 ...
3
⭐️⭐️เพราะสาเหตุหลักคือรัฐบาลญี่ปุ่นไม่ยอมให้สถาบันการเงินใหญ่ๆเก่าแก่เหล่านั้นล้ม "ใหญ่เกินกว่าจะให้ล้ม" แต่กลับเอาเงินภาษีของประเทศไปอุ้มค้ำไว้ ทำให้หนี้สินของประเทศพุ่งสูงมากยาวจนถึงปัจจุบั
1
⭐️⭐️ผู้คนจำนวนมากหันไปลงทุนในหุ้นและอสังหาริมทรัพย์จนเกิดเป็นภาวะฟองสบู่ และสุดท้ายฟองสบู่ก็แตกจนเศรษฐกิจญี่ปุ่นซบเซาติดต่อกันถึงสองทศวรรษตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 – 2010 ซึ่งเรียกยุคนี้ว่า "สองทศวรรษที่หายไป" (The Lost 2 Decades)
⭐️⭐️จากจุดนั้นเองเป็นจุดเริ่มต้นของ “ทศวรรษที่หายไปของญี่ปุ่น” ที่ช่วงแรกนั้นหมายถึงแค่ 1991 – 2001 แต่ว่านักการเงินและนักเศรษฐศาสตร์ตีความว่า ยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน 2017 ที่การเติบโตและจีดีพีของญี่ปุ่นยังเท่าเดิม ไม่เติบโตขึ้นอีกเลย และกลายเป็นเศรษฐกิจแบบ “ภาวะเงินฝืด” ประชาชนไม่กล้าใช้จ่ายเงินในการซื้อของ ทำให้บริษัทต่างๆก็ไม่กล้าจะลงทุนอะไรออกไป ไหลในระบบไหลหมุนเวียนน้อยมาก ยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน
1
ภาพของ เจมส์เอ. เบเกอร์ III แห่งสหรัฐอเมริกา และโนโบรุทาเคชิตะแห่งญี่ปุ่น บุคคลทั้งสองที่เคยเข้าร่วมประชุม (Plaza Accord)
💡💡💡หลังผ่านไปหลายสิบปีจาก 1985 เมื่อประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถก้าวพ้นปัญหาภาวะเงินฝืด การจับจ่ายน้อย การผลิตสินค้าก็น้อยตาม จีดีพีก็ไม่กระเตื้องมาสามทศวรรษ ทำให้มีการวิเคราะห์กันว่าสาเหตุนั้นมาจากอะไร และสุดท้ายนักการเงินและเศรษฐกิจหลายคนบอกว่า หนึ่งในสาเหตุหลักๆก็คือการร่วมทำ “ข้อตกลงพลาซ่า” ในครั้งนั้นนั่นเอง
“ความโลภ” เมื่อค่าเงินเยนแข็งค่า ก็ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยจนไม่ยั้งคิด จนทำให้เกิดปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้ เป็นมะเร็งร้ายเรื้อรังกัดกิน..........เศรษฐกิจ “ญี่ปุ่น” จนถึงปัจจุบัน !!!!!!
https://th.wikipedia.org/wiki
http://www.globaltimes.cn/content/1095660.shtml
https://mgronline.com/mutualfund/detail/9570000127423
https://ochimusyadrive.com/japans-economic-miracle-12/
https://www.wsj.com/articles/the-old-u-s-trade-war-with-japan-looms-over-todays-dispute-with-china-11544717163
https://fxhanuman.com/web/index.php/89-2016-09-26-06-58-22/526-2017-12-25-05-50-12
2
32 บันทึก
43
9
38
32
43
9
38
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย