20 ส.ค. 2019 เวลา 16:23 • ประวัติศาสตร์
"Ivy Bells" หนึ่งในปฏิบัติการลับสุดยอดของอเมริกาในการแอบดักฟังการสื่อสารจากสายเคเบิลใต้น้ำของกองทัพเรืออดีตสหภาพโซเวียต 😲
กว่า 10 ปีที่อเมริกาสามารถดักฟังการสื่อสารของกองทัพเรืออดีตสหภาพโซเวียต โดยทีคู่อริไม่ทันได้รู้ตัว Cr:Wikimedia Commons
วันนี้มาต่อกันกับอีกหนึ่งปฏิบัติการจารกรรมที่เหมือนหลุดออกมาจากในหนัง 😉
ในระหว่างช่วงสงครามเย็นอเมริกาหมดหวังที่จะรู้ถึงศักยภาพของขีปนาวุธข้ามทวีป หรือ ICBM รวมถึงศักยภาพในการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ของอดีตสหภาพโซเวียต
จนกระทั่งในปี 1970 อเมริกาได้ตรวจพบแนวสายเคเบิลใต้ทะเลที่กองทัพเรืออดีตสหภาพโซเวียตใช้ในการสื่อสารระหว่างฐานทัพเรือภาคพื้นแปซิฟิกที่ Petropavlovsk กับศูนย์บัญชาการกองทัพเรือที่ วลาดิวอสต็อก
ตำแหน่งที่ทำการ tap สายเคเบิ้ลใต้น้ำในปฏิบัติการ Ivy Bells Cr: Nzeemin/Wikimedia Commons
สายเคเบิ้ลนี้วางอยู่ใต้ทะเลโอคอสท์ ซึ่งอยู่ระหว่างคาบสมุทร Kamchatka กับแผ่นดินใหญ่ โดนกองทัพเรืออดีตสหภาพโซเวียตได้วางโครงข่ายอุปกรณ์ตรวจจับเสียงใต้น้ำเพื่อคอยตรวจจับการรุกล้ำน่านน้ำของเรือดำน้ำข้าศึก
** กำเนิดปฏิบัติการ Ivy Bells **
หลังจากการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งหัวหน้าทีมปฏิบัติการใต้ทะเลของหน่วยข่าวกรองกองทัพเรือสหรัฐ ของกัปตัน James F. Bradley Jr. ในปี 1966 เขาได้สร้างผลงานด้วยการเป็นผู้นำปฏิบัติการค้นหาซากเรือดำน้ำ K-129 ของกองทัพโซเวัยต โดยเรือดำน้ำ USS Halibut ในปี 1968
USS Halibut ที่ใช้ทำภารกิจในการค้นหาเรือ K-129, Cr: Wikipedia Common
ต่อมาในปี 1970 Bradley ตัดสินใจที่จะเริ่มปฏิบัติการ ในการที่จะ tap สายเคเบิลใต้น้ำของกองทัพเรืออดีตสหภาพโซเวียตที่เพิ่งค้นพบใหม่
Bradley มั่นใจว่ากองทัพโซเวียตไม่น่าจะทำการเข้ารหัสการสื่อสารเนื่องจากสายเคเบิลอยู่ใต้ทะเลและใกล้กับชายฝั่ง อยู่ภายใต้ระบบเครือข่ายเฝ้าระวังที่หนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
** ความท้าทายของปฏิบัติการ **
Bradley ต้องเจอความท้าทายถึง 4 ประการในการทำภารกิจนี้ นั่นคือ
1. การหาแหล่งเงินทุนสำหรับปฏิบัติการ
การจะเล็ดรอดโครงข่ายตรวจจับอันแน่นใต้ทะเลโอคอสท์นั้น เรือดำน้ำขนาดเล็กที่ต้องพัฒนาขึ้นมาใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็น
ซึ่งในปี 1970 กองทัพเรือสหรัฐกำลังมีแผนพัฒนา deep-submergence rescue vehicle (DSRV) เพื่อใช้ในการช่วยเหลือลูกเรือของเรือดำน้ำที่ประสบอุบัติเหตุ
ยาน DSRV-1 (Mystic) ขณะกำลังทำการเชื่อมต่อกับเรือดำน้ำชั้น Los Angeles  Source: U.S. Navy/Wikimedia Commons
เรือดำน้ำขนาดจิ๋วนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ Bat Cave
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีที่ Bradley สามารถผันงบประมาณส่วนหนึ่งมาใช้ในภารกิจนี้
สภาพภายในของ Bat Cave, Cr: Soham Banerjee/Wikimedia Commons
2. ทำยังไงนักประดาน้ำจึง จะสามารถปฏิบัติภารกิจดำน้ำลึกกว่า 130 เมตรเป็นเวลาหลายชั่วโมงได้ คำตอบนั้นก็คือก๊าซฮีเลียม
ทั้งนี้ออกซิเจนสำหรับการดำน้ำ หากใช้อากาศปกติที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนผสมหลัก เมื่อนักประดาน้ำดำน้ำลึกเป็นเวลานานจะเกิดอาการที่ก๊าซไนโตรเจนแยกตัวออกเป็นฟองอากาศอุดตันในเส้นเลือด เป็นอันตรายต่อนักประดาน้ำ
งานดำน้ำลึกเป็นเวลานานๆเป็นงานที่เสี่ยงอันตรายอย่างมาก, Cr: Wikipedia Common
แต่หากผสมก๊าซฮีเลียมแทนไนโตรเจน ด้วยโมเลกุลที่มีน้ําหนักเบากว่า ทำให้ก๊าซสามารถ แยกตัวออกมาจากเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้เร็วกว่า เทคนิคนี้ เป็นที่รู้จักต่อมาในการดำน้ำที่เรียกว่า saturation diving
ชุดประดาน้ำที่ใช้ทำภารกิจ
3. ความท้าทายถัดไปคือ ในพื้นที่กว่า 6 แสนตารางไมล์ จะรู้ได้ไงว่าสายเคเบิ้ลอยู่ตรงไหน?
Bradley จำได้ตั้งแต่สมัยเป็นเด็กว่าในแม่น้ำจะมี ทุ่นพร้อมป้ายเตือนบอกว่าห้ามทิ้งสมอเนื่องจากบริเวณนั้นมีพวกสายเคเบิล และสายไฟใต้น้ำอยู่นั่นเอง
Bradley ใช้ข้อสันนิษฐานนี้ในการมองหาป้ายเตือนชาวประมงไม่ให้ทิ้งสมอ จนสามารถหาตำแหน่งเคเบิ้ลจนเจอ
4. แล้วจะต่อสายเคเบิลยังไงโดยไม่ให้ช็อตจนทำให้ทางกองทัพโซเวียตรู้ตัว?
ทางออกคืออุปกรณ์พิเศษ ที่เพียงแค่หุ้มสายเคเบิลไว้เป็นระยะยาวประมาณ 6 เมตรหนาประมาณ 5 นิ้ว และอุปกรณ์นี้จะหลุดออกอัตโนมัติ หากมีสายเคเบิลถูกดึงขึ้นไปด้านบนเพื่อทำการบำรุงรักษา
รูปแสดงชุดอุปกรณ์ดักฟังที่เป็นแค่ปลอกหุ้มสายเคเบิ้ลไว้ และใช้หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าในการอ่านข้อมูลที่วิ่งในสาย
จึงเป็นที่มาของชื่ิอปฎิบัติการ Ivy Bell หูฟังที่เลื้อยพันเพื่อแอบฟังนั่นเอง 😉
1
** สร้างเรื่องกลบเกลื่อนปฏิบัติการที่เป็นเรื่องจริง **
ในการที่จะเข้าทำปฏิบัติการโดยไม่ให้ทาง กองทัพเรือของโซเวียตระแคะระคาย จึงได้มีการส่งเรือดำน้ำ USS Halibut เข้าไปในพื้นที่โดยทำทีเป็นว่าเข้าเก็บกู้ซากขีปนาวุธ SS-N-12 Sandbox supersonic anti-ship missile (AShM)
แต่ทั้งนี้ภารกิจเก็บกู้ซากขีปนาวุธก็เป็นเรื่องจริง ซากชิ้นส่วนขีปนาวุธกว่า 2 ล้านชิ้นที่เก็บกู้ได้ถูกส่งไปยังศูนย์วิจัยกองทัพเรือ เพื่อทำการ RE Engineering
เพียงลูกเดียว ก็สามารถส่งเรือพิฆาตลงไปนอนนับปะการังใต้ท้องมหาสมุทรได้
จนได้รู้ว่าแท้จริงแล้วขีปนาวุธดังกล่าวนำวิถีด้วยเรดาร์เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่อินฟาเรดอย่างที่อเมริกาเคยคิด
** ปฏิบัติการยาวนานกว่า 10 ปีโดยไม่ถูกระแคะระคาย **
ตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 1971 นักประดาน้ำจะถูกสับเปลี่ยนลงไปเพื่อเก็บเทปบันทึกการสื่อสาร ก่อนจะส่งให้ National Security Agency (NSA) ในการแกะข้อมูล
ปฏิบัติการเป็นไปได้ด้วยดี ด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ พลังงานนิวเคลียร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นปีโดยไม่ต้องลงไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ ซึ่งอุปกรณ์นี้สร้างโดย AT&T's Bell Laboratories
** หนอนบ่อนไส้ **
แต่มาจนกระทั่งในปี 1981 ดาวเทียมสอดแนมของอเมริกา ตรวจจับเรือของกองทัพโซเวียตอยู่เหนือจุดที่ทำการติดตั้งอุปกรณ์ 😅
อเมริกาไม่รอช้ารีบส่งเรือดำน้ำ USS Parche เข้าไปเพื่อเก็บกู้อุปกรณ์กลับมา แต่ก็สายไปแล้ว กองทัพโซเวียตได้ขนอุปกรณ์ไปเป็นที่เรียบร้อย
เหตุการณ์นี้สร้างความงุนงงให้กับกองทัพสหรัฐว่าข่าวรั่วได้อย่างไร จนมาในเดือนกรกฎาคมปี 1985 ปริศนาจึงไขกระจ่างเมื่อเจ้าหน้าที่ KGB นาม Vitaly Yurchenko ได้ให้ข้อมูลกับสายลับอเมริกา
โดยตั้งแต่เดือนมกราคมปี 1980 มีลูกจ้างคนนึงของ NSA นาม Ronald Pelton ได้ขายข้อมูลของปฏิบัติการนี้ให้กับกองทัพโซเวียตเพื่อแลกกับเงิน 35,000 เหรียญ ทั้งนี้เนื่องจากนาย Ronald มีหนี้อยู่กว่า 65,000 เหรียญ
1
ซึ่งจากการเปิดเผยข้อมูลนี้ทำให้นาย Ronald ถูกจับกุมและถูกตัดสินจำคุก 29 ปี
และนาย Ronald พ้นโทษออกมาเมื่อปี 2015
ตั้งแต่ปี 1999 อุปกรณ์ wiretap ที่ใช้ในปฎิบัติการนี้ได้ถูกนำมาตั้งแสดงต่อสาธารณะที่ Great Patriotic War Museum ในกรุงมอสโคว
อุปกรณ์ของจริงที่ Great Patriotic War Museum
ทั้งนี้ตราบจนปัจจุบันทั้งอเมริกาและรัสเซียก็ยังดักฟังการสื่อสารผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำของกันและกันอยู่ (ก็ไม่รู้จะแอบกันทำไมรู้ทั้งรู้ว่าแอบฟังกัน 😁)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา