21 ส.ค. 2019 เวลา 08:16 • ท่องเที่ยว
บินช่วงเวลาไหน ห่างไกล Turbulence ?
จะซื้อตั๋วเดินทางทั้งที มีทั้งโปรโมชั่น แลกพ้อยท์ หรือจะซื้อทัวร์ ตั๋วกรุ๊ป..ถ้าเลือกได้ คุณจะเลือกเดินทางเวลาไหน? และ Turbulence จะเกิดขึ้นเวลาใด หลีกเลี่ยงได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ
หากตอบคำถามนี้ แบบผู้นั่งหรือในฐานะผู้โดยสาร...
เดินทางกลางวัน ที่อาจจะร้อนไปบ้าง แต่ก็ทำให้เห็นวิวทิวทัศน์ได้ชัดเจน หน้าตาที่ยังสดใส ถ่ายรูปได้สวย จะทำอะไรก็ได้เต็มที่ เพราะพลังงานที่มียังเหลือเฟือ..
1
หรือจะเดินทางกลางคืน ที่ได้พักผ่อนให้เต็มที่ นอนหลับยาว เก็บแรงได้ดี พอถึงที่ก็ลุยเที่ยวได้เลย..
แล้ว Turbulence ล่ะ..?
น้องเทอร์บู้ฯที่เรารู้จักคุ้นเคยกันดีในเกือบทุกเที่ยวบิน จะเกิดขึ้นเวลาไหน และหลีกเลี่ยงได้หรือไม่?
แอร์ป้าขออธิบายสั้นๆ ง่ายๆได้ใจความ ว่าน้องเทอร์บู้นี้เป็นใคร..
Turbulence(เทอร์บูเลนซ์) คือการที่เครื่องบิน บินผ่านบริเวณสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้เครื่องบินเกิดการสั่นสะเทือน ซึ่งอาจเกิดจากกระแสลม หรืออากาศที่ไม่นิ่ง (Unstable Air) หรือที่บางคนเรียกว่า การตกหลุมอากาศ
1
ในเวลากลางวัน
โดยธรรมชาติ อากาศร้อน ลอยขึ้นสู่ที่สูง..
จึงทำให้เกิดการยกตัวของอากาศ อากาศจึงไม่นิ่ง และเรียบเท่าที่ควร เนื่องจากกระแสอากาศมีการเคลื่อนที่หมุนวนอยู่ตลอดเวลา
อากาศที่เย็นกว่า ในเวลากลางคืน
เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำกว่า จึงทำให้ความหนาแน่นของอากาศสูงกว่าในเวลากลางวัน
นั่นก็หมายความว่า...
โอกาสการเกิดสภาพอากาศแปรปรวนในระหว่างการเดินทางในเวลากลางวัน จึงมีมากกว่าในเวลากลางคืน
[ถึงอย่างไร การกล่าวข้างต้นคือการอ้างอิงจากหลักธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริง แต่การเกิดสภาพอากาศแปรปรวนด้วยเหตุปัจจัยอื่นๆ ก็ยังส่งผลให้ทุกช่วงเวลาสามารถเกิด Turbulence ได้เช่นกัน]
ในฐานะคนขับ หรือนักบิน
ในเวลากลางวันแม้อากาศจะร้อน แต่ก็ทำให้มองเห็นสภาพแวดล้อมรอบตัวได้ชัดเจนกว่า โดยเฉพาะกลุ่มเมฆ และสิ่งกีดขวางต่างๆ (Terrain) เช่นภูเขาสูง และหุบเขาฯ
1
ในเวลากลางคืน อากาศเย็นกว่า สบายกว่า ไม่ร้อน ไม่ต้องพกแว่นกันแดด แต่แว่นสายตายาวก็ขาดไม่ได้เช่นกัน..👀
แต่แม้จะมืดกว่า ก็ไม่ได้ทำให้ความปลอดภัยทางด้านการมองเห็นลดลง เพราะอุปกรณ์ช่วยเหลืออื่นๆ และอุปกรณ์ตรวจทางสภาพอากาศ ที่เรียกว่า Weather Radar ใช้ในการตรวจจับสภาพอากาศที่แปรปรวน และกลุ่มก้อนเมฆ
มากไปกว่านั้นการมองเห็นเครื่องบินลำอื่นที่ผ่านไปมา ยังชัดเจนยิ่งกว่าในเวลากลางวัน จาก Navigation Light และ Strobe light
แล้ว 2 สิ่งนี้คืออะไร ?
เมื่อมองเครื่องบินบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน...
หากมองเห็นไฟสีเขียวและแดงบริเวณที่ปีกของเครื่องบิน นั่นคือ Navigation Light
แต่หากเห็นไฟกระพริบสีขาว ก็คือ
Storbe Light นั่นเอง
ฉะนั้นการหลีกเลี่ยง Turbulence จึงทำได้
โดยการบินเลี่ยงกลุ่มก้อนเมฆ หรือบริเวณที่มีสภาพอากาศแปรปรวน
นักบินจึงอาจมีการแจ้งล่วงหน้าแก่ลูกเรือ หากพบสภาพอากาศแปรปรวนจากการรายงานสภาพอากาศก่อนการออกเดินทาง หรือแม้แต่ขณะอยู่บนฟ้า ก็อาจทำการแจ้งเตือนล่วงหน้า ด้วยการเปิดสัญญาณไฟรัดเข็มขัดที่นั่งในห้องโดยสาร เพื่อเป็นการเตือนให้ทราบว่า ท่านไม่ควรลุกออกจากที่นั่ง และต้องรัดเข็มขัดที่นั่งโดยทันที
แต่เมื่อเหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือ Turbulence จึงยังมี Clear Air Turbulence !
แม้เครื่องบินจะมีเครื่องมือตรวจจับสภาพอากาศแปรปรวน เพื่อการบินหลีกเลี่ยงกลุ่มก้อนเมฆเหล่านั้น
แต่ก็ยังคงมี Clear Air Turbulence ซึ่งเป็นสภาพอากาศแปรปรวน ที่เครื่องบิน"ไม่สามารถตรวจจับได้" ดังนั้นการเกิดตกหลุมอากาศจึงเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลันและทันที โดยไม่สามารถคาดการได้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเวลาใดก็ตาม
จึงเป็นหน้าที่ของผู้โดยสารที่จะต้องป้องกันตัวเองด้วยการ "รัดเข็มขัดที่นั่งตลอดการเดินทาง"
1
การออกเดินทาง จึงอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลากลางวัน หรือกลางคืนเพียงอย่างเดียว เพราะสุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเดินทางเวลาไหนความปลอดภัยพื้นฐานก็ยังคงเท่าเทียมกัน
การเลือกเวลาเดินทาง จึงคงต้องขึ้นอยู่กับ"การวางแผน" ที่จะช่วยให้ท่านไม่เสียเวลา สะดวกสบายถึงที่หมายได้ตรงตามเวลาที่วางไว้ และปลอดภัย สบายใจทุกครั้งกับการบิน
เพราะการเดินทางไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืนก็คงไม่สำคัญเท่ากับการ ตรงต่อเวลา
ตั๋วไม่โปรฯ แต่ไม่ดีเลย์ ก็อาจจะดีกว่า..
ตรวจสภาพดินฟ้าอากาศก่อนออกเดินทาง ดีที่สุดเด้ออ😊❤
Have a safe flight✈
#แอร์ป้าห้าดาว
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเรื่อง Turbulence ได้ที่👇
Credit
โฆษณา