21 ส.ค. 2019 เวลา 05:44 • การศึกษา
⏰หลังรักษารากฟัน ควรทำครอบฟันเมื่อไหร่?
Optimal timelapse between RCT and crown placement
โดยทั่วไปแล้ว ฟันที่รักษารากฟันมาแล้วอาจจะต้องบูรณะด้วยเดือยฟันและครอบฟันต่อ หรือบางซี่คุณหมออาจจะแนะนำไม่ต้องทำ ในกระทู้นี้เราจะพูดถึงกรณีฟันที่ต้องบูรณะต่อค่ะ
หมอมักแนะนำคนไข้ว่า ฟันที่รักษารากแล้วควรบูรณะหรือทำครอบฟันให้ “เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้”
❓คำถามต่อมาคือ เร็วที่ว่า..มันคือเท่าไหร่?
.
จริงๆแล้วก็ควรต้องพิจารณาเป็น case by case ไป
- ทั้งปริมาณเนื้อฟันที่เหลืออยู่
- ลักษณะการสบฟัน
- การใช้งานของคนไข้
- ฟันซี่ดังกล่าวมีความจำเป็นต้อง monitor อะไรต่อหรือเปล่า
.
✍🏻มีการศึกษาเกี่ยวกับ survival rate ของฟันรักษาราก ตีพิมพ์ใน Journal of Endodontics (February 2018) โดยนักวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลระบบประกันสุขภาพคนไข้ 13 ล้านคน วิเคราะห์ข้อมูลฟัน 160,040 ซี่ ซึ่งรับการรักษารากฟัน/ การบูรณะด้วย core หรือ post and core / และครอบฟัน และวิเคราะห์ว่าช่วงเวลาการบูรณะส่งผลต่อ survival rate หรือไม่
.
โดยฟันส่วนใหญ่ที่อยู่ในการศึกษานี้เป็นฟัน
- Molar(55.4%), Premolars(31.4%) ,Anteriors(13.2%)
- รักษาโดย general practitioner (70.6%)
- กลุ่มนักวิจัยเลือกแปลผลโดยสนใจความแตกต่างของ survival rate ระหว่างปัจจัยในทุกๆจุดเวลา นั่นคือ
1.Time from NSRCT (non-surgical root canal treatment) to core/ post
= ช่วงระยะเวลาตั้งแต่รักษารากฟันเสร็จจนถึงได้รับการบูรณะ core/ post
- เฉลี่ยแล้วผู้ป่วยได้รับการบูรณะด้วย core 61.9% และได้รับการบูรณะด้วย post and core 38.1% หลังรักษาราก NSRCT 66.6 วัน
- จากการวิเคราะห์พบว่า การบูรณะด้วย core/ post and core นานเกินกว่า 60 วันมี risk of failure มากกว่าการรีบทำภายใน 10 ถึง 14 วัน
- กลุ่มประชากรที่ทำ core/ post and core นานเกินกว่า 60 วัน มีโอกาสเกิด risk of failure มากกว่ากลุ่มที่รีบทำ 8% (ตัวเลขอาจดูเหมือนไม่มาก แต่ significance ทางสถิติ)
2.Time from core/ post to crown
= ช่วงระยะเวลาตั้งแต่บูรณะ core/ post จนถึงได้ทำครอบฟัน
- เฉลี่ยแล้วผู้ป่วยใส่ครอบหลังบูรณะด้วย core/ post and core 160.5 วัน โดยผู้ป่วยที่ใส่ครอบหลังบูรณะด้วย core/ post and core นานกว่า 60 วันมีโอกาสเกิด risk of failure มากกว่าการใส่ครอบภายใน 10-14 วัน
- กลุ่มประชากรที่ใส่ครอบหลังบูรณะด้วย core/ post and core นานเกินกว่า 60 วันมีโอกาสเกิด risk of failure มากกว่ากลุ่มที่รีบทำ 14%
✍🏻ทั้งนี้การศึกษานี้ไม่ใช่การศึกษาแรกที่ดูผลของเวลาระหว่างการรักษารากและการทำครอบต่อ survival rate ก่อนหน้านี้ Pratt ในปี 2016 พบว่า
“การปล่อยฟันรักษารากไว้โดยไม่ได้บูรณะด้วยครอบภายใน 4 เดือน มีโอกาสถูกถอนมากกว่าฟันที่ได้รับบูรณะภายใน 4 เดือนถึง 3 เท่า”
.
🦷อย่างไรก็ตาม การประเมินควรทำเป็น case by case เนื่องจากปัจจัยต่างๆมีมากมายตามที่ได้กล่าวข้างต้น
.
🦷หากมีเหตุผลที่ไม่สามารถบูรณะได้ทันที การอุดด้วย cavit/ IRM คงไม่เหมาะ การบูรณะด้วย resin composite/ orthodontic band ร่วมกับ resin composite/ temporary crown อาจเหมาะสมกว่า ขึ้นกับสภาพเนื้อฟันที่เหลืออยู่ และระยะเวลาที่คาดว่าจะต้องรอทำครอบ อย่าลืมอธิบายและสร้างความเข้าใจกระบวนการรักษาทั้งหมดแก่ผู้ป่วยก่อนเริ่มการรักษาและมอบ treatment options ต่างๆให้ผู้ป่วยด้วย
References
- บทความจาก ชมรมเอ็นโดดอนติกส์แห่งประเทศไทย (What’s new in Endodontics ตอนที่ 2 Thursday, 15 February 2018)
**สำหรับข้อมูลทางสถิติและบทวิเคราะห์อื่นๆ หากสนใจตามอ่านได้ตาม reference ด้านล่างนี้นะคะ 😊
1.Yee K, Bhagavatula P, Stover S, Eichmiller F, Hashimoto L, MacDonald S, et al. Survival Rates of Teeth with Primary Endodontic Treatment after Core/Post and Crown Placement. J Endod. 2018 Feb;44(2):220-5.
2.Pratt I, Aminoshariae A, Montagnese TA, Williams KA, Khalighinejad N, Mickel A. Eight-Year Retrospective Study of the Critical Time Lapse between Root Canal Completion and Crown Placement: Its Influence on the Survival of Endodontically Treated Teeth. J Endod. 2016 Nov;42(11):1598-603.
#ความรู้ย่อยง่ายสไตล์DENTNotes
โฆษณา