22 ส.ค. 2019 เวลา 04:01 • ข่าว
เคยสงสัยอะไรไหม???
ผู้ใหญ่วัยทำงานแบบเราเป็นโรคสมาธิสั้นหรือเปล่า..?
โรคสมาธิสั้น หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Attention-Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) เป็นภาวะความบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติทางพฤติกรรม ซึ่งหากเกิดในเด็กอาจเรียกอีกอย่างว่าโรคเด็กซน แต่หากอาการของโรคแอบซ่อนจนรอดการรักษามาถึงวัยผู้ใหญ่ โรคสมาธิสั้นอาจส่งผลกระทบกับชีวิตและความสำเร็จในหน้าที่การงานได้เลยนะคะ.....
ฉะนั้นเพื่อความแน่ใจ ลองมาเช็กกันหน่อยว่านิสัยที่เราเป็นอยู่ไม่ได้เข้าข่ายอาการของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่แน่ ๆ
โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ อาการบ่งชี้ที่น่าสงสัยว่าอาจป่วย
- ใจร้อน โผงผาง
          - อารมณ์ขึ้นลงเร็ว โกรธง่าย หายเร็ว แต่หากโมโหมาก มักมีเรื่องขัดแย้งรุนแรงกับคู่กรณีเสมอ (ถึงขั้นลงไม้ลงมือ)
          - หุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ
       - รอคอยอะไรนาน ๆ ไม่ค่อยได้
          - ชอบทำอะไรหลายอย่างพร้อม ๆ กัน แต่มักจะทำไม่สำเร็จแม้แต่ชิ้นเดียว
 
          - นั่งอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้นาน ชอบเขย่าขา ลุกเดินบ่อย ๆ หรือเล่น/คุยโทรศัพท์ แม้ในขณะขับรถก็ตาม
          - เบื่อง่าย ต้องการสิ่งเร้าใจอยู่เสมอ
          - ขาดระเบียบวินัยในตนเอง ห้องหรือที่อยู่อาศัยรกรุงรัง
          - เปลี่ยนงานบ่อย เนื่องจากความผิดพลาดจากการทำงาน หรือปัญหากับเพื่อนร่วมงาน
 
          - พฤติกรรมก้าวร้าว มักมีปัญหากับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะคนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่ผู้บังคับบัญชาก็ตาม
 
          - ขาดสมาธิจดจ่อ ไม่สามารถรับฟังผู้อื่นพูดนาน ๆ ได้ ส่งผลให้ขาดความรอบคอบในการทำงาน
          - ขี้หลงขี้ลืม
          - ขาดความมั่นใจในตนเอง
          - ชอบโพล่งขึ้นมาดื้อ ๆ ในวงสนทนา ชอบขัดจังหวะ หรือแสดงพฤติกรรมที่ขาดความยั้งคิดมาก่อน
          - ขาดแรงบันดาลใจในการทำสิ่งใด ๆ ก็ตาม ทำให้มีลักษณะนิสัยจับจด ไม่ประสบผลสำเร็จในอะไรสักอย่าง
          - กระสับกระส่าย มีอาการวิตกกังวลแม้แต่กับเรื่องเล็ก ๆ
หากลองสำรวจแล้วพบว่ามีอาการตรงกับลักษณะนิสัยของตัวเองมากเกินครึ่งหนึ่ง แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อวิเคราะห์อาการและหาทางออกจะเป็นหนทางแก้ไขที่ดี
อย่างไรก็ตาม โรคสมาธิสั้นไม่ได้เป็นโรคที่น่ากังวล และอยากให้คิดไว้เสมอว่า คนที่เป็นโรคสมาธิสั้น ยังสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างคนปกติ แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยเองก็ควรต้องยอมรับความจริง และยอมเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยนะคะ
โฆษณา