22 ส.ค. 2019 เวลา 11:16 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เพจเทคโนโลยี RFID กะเทาะ RFID ในชีวิตประจำวัน สำหรับทุกเพศทุกวัย สั้นๆอ่านตอนรถติด รอขึ้นรถขนส่งมวลชนทั้งหลาย
ตอนที่ 0
ทุกคนย่อมเคยผ่่านการใช้งานเจ้า RFID มากันแล้ว ไม่มากก็น้อย เช่น easy pass ทางด่วน,พวงกุญแจตี๊ดๆที่ติดกับกุญแจตามหอพัก,ลานจอดรถตามห้างสรรพสินค้า,ทางเข้าออก bts เป็นต้น
RFID ย่อมาจาก Radio frequency Identification หรือการระบุโดยใช้สัญญาณคลื่นวิทยุ
คลื่นวิทยุ คืออะไร สัญญาณ 3g 4g 5g ในอินเตอร์เน็ตมือถือที่เราเล่นกันนั่นเอง แต่ตัว RFID ใช่คนละความถี่กัน เหมือนอยู่คนละชั้นกัน ไม่มีวันเกี่ยวพันกันครับ
สัญลักษณ์ RFID (จะเป็นสีอะไรก็ได้)
องค์ประกอบของ RFID
1.เสาอากาศ ทำหน้าที่อ่านป้ายอิเล็กทรอนิกส์และประมวลผลตามต้องการ
2.ป้ายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Tag หน้าที่ คือ ไว้เป็นวัตถุเพื่อให้เสาอากาศอ่านแล้วเกิดการประมวลผลต่อไปเช่น แตะบัตร bts แล้วไม่กั้นเปิด
ลองตอบดูว่าส่วนไหนเป็น Tag ส่วนไหนเป็นเสาอากาศ แน่นอนครับบัตรเป็น Tag ส่วนเสาอากาศคือฝังอยู่ในแถบที่แตะนั่นเอง
โดยประเทศไทยเองเป็นผู้ผลิต Tag เพื่อส่งออกอยู่เหมือนกัน
ตัวอย่างเสาอากาศที่ทุกคนคุ้นเคย
ตัวอย่างTagขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน
อีกตัวอย่างนึงคือ ตามห้างสรรพสินค้าของที่มีราคามักจะมี ของแข็งๆกลมๆเหลี่ยมติดอยู่(Disc Tag หรือ Button Tag ตามตัวอย่าง) แล้วตอนจ่ายเงิน แคชเชียร์ค่อยตี๊ดๆแล้วดึงออก
เพื่อนๆลองจ่ายเงิน บอกพนักงานไม่ต้องตี๊ดๆเจ้า Tag แล้วขอพนักงานทดสอบโดยการเดินออกจากร้านสิครับ รปภ.รวบแน่นอน
การที่พนักงานต้องตี๊ดๆก็เพราะว่า ยืนยันการจ่ายเงิน ต้องลบข้อมูลสินค้าตัวเก่าใน Tag ออกเพื่อนำมาใช้ซ้ำอีกครั้งนั่นเองครับ
ตัวผมเองอยากจะนำเสนอข้อมูล RFID ให้แก่ผู้อ่านทุกเพศทุกวัยครับ เป็นเรื่องราวสั้นๆกับเทคโนโลยีที่อยู่รอบตัวเรา ผมเชื่อว่าต้องมีคนสงสัยมั่งแหละ
วันนี้สวัสดีครับ-/\-
โฆษณา